ไฮแดนโทอิน (Hydantoin)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 20 มกราคม 2564
- Tweet
- บทนำ
- ไฮแดนโทอินมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- ไฮแดนโทอินมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- ไฮแดนโทอินมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- ไฮแดนโทอินมีขนาดรับประทานอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
- ไฮแดนโทอินมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้ไฮแดนโทอินอย่างไร?
- ไฮแดนโทอินมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษาไฮแดนโทอินอย่างไร?
- ไฮแดนโทอินมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- ลมชัก (Epilepsy)
- ยาคลายกล้ามเนื้อ (Muscle relaxants drugs)
- ยาเฟนิโทอิน (Phenytoin) หรือ ยาไดแลนติน (Dilantin)
- ฟอสเฟนิโทอิน (Fosphenytoin)
- ยาเม็ดคุมกำเนิด (Birth control pill)
- ถุงยางอนามัยชาย (Male Condom)
- ยากันชัก ยาต้านชัก (Anticonvulsant drugs)
บทนำ
ยาไฮแดนโทอิน (Hydantoin) หรือยาไกลโคลิลยูเรีย (Glycolylurea) เป็นสารประกอบอินทรีย์ ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1861 (พ.ศ. 2404) และได้ถูกจัดแบ่งหมวดหมู่ตามประ โยชน์ดังนี้
ก. กลุ่มที่ใช้เป็นยารักษาโรคลมชัก: เช่น
- Phenytoin: จะออกฤทธิ์ในสมองและชะลอการนำกระแสประสาทที่เป็นสาเหตุของการชัก แต่ยา Phenytoin ไม่สามารถรักษาอาการชักได้ทุกประเภท แพทย์เท่านั้นจึงจะเป็นผู้คัดกรองว่าผู้ป่วยโรคลมชักประเภทใดเหมาะที่จะใช้ยานี้ มีข้อควรระวังสำหรับการใช้ยา Phenytoin กับผู้ป่วยโรคตับ โรคเบาหวาน ผู้ป่วยด้วยโรคซึมเศร้า ผู้ที่ขาดวิตามิน D และผู้ที่ดื่มสุราจัด
- Ethotoin: เป็นยารักษาอาการโรคลมชักที่สามารถใช้เป็นเดี่ยวๆหรือจะใช้ร่วมกับยาอื่นในการรักษาก็ได้ สามารถใช้กับผู้ใหญ่และเด็กที่มีอายุ 1 ปีขึ้นไป ข้อจำกัดการใช้ยานี้จะไม่เหมาะกับผู้ป่วยด้วยโรคเลือดเช่น มีภาวะโลหิตจาง ผู้ป่วยโรคตับ และผู้ที่มีประวัติทำร้ายตนเอง
- Fosphenytoin: เป็นสารตั้งต้นของยา Phenytoin และนำมาใช้รักษาโรคลมชักโดยมีรูป แบบการใช้เป็นยาฉีด มีกลไกการออกฤทธิ์คล้ายกับยา Phenytoin มีข้อจำกัดของยานี้ในผู้ป่วยโรคหัวใจเช่น หัวใจเต้นช้า มีภาวะหัวใจหยุดเต้น หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น
- Mephenytoin: ถูกนำมาใช้เป็นยากันชักภายหลังการใช้ยา Phenytoin ถึง 10 ปี อย่างไรก็ตามทางคลินิกพบว่า เมื่อยา Mephenytoin เข้าสู่ร่างกายจะถูกเปลี่ยนโครงสร้างไปเป็นสาร Nirva nol ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกายโดยเฉพาะต่อระบบประสาท จึงเป็นเหตุผลทำให้ยา Mephenytoin ไม่ ได้รับความนิยมและถูกเพิกถอนการใช้จากอเมริกาและในอังกฤษมาเป็นเวลานานแล้ว
ข. กลุ่มที่ใช้เป็นยาคลายกล้ามเนื้อ: เช่น
- Dantrolene: จัดเป็นยาอนุพันธุ์ของไฮแดนโทอินที่มีฤทธิ์ช่วยคลายกล้ามเนื้อโดยตัวยาจะออกฤทธิ์ที่กล้ามเนื้อลายโดยตรง มีข้อจำกัดการใช้ยากับผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ โรคปอด โรคหัวใจ และเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปีลงมา
ค. กลุ่มที่ใช้เป็นยาฆ่าแมลง ยาฆ่าเชื้อรา: เช่น
- Imiprothrin: ใช้ทำเป็นยาฆ่าแมลง
- Iprodione ถูกนำมาใช้กำจัดเชื้อรา
*อนึ่ง สำหรับในบทความนี้ขอกล่าวถึง ยาไฮแดนโทอิน ที่ใช้ฉพาะทางยารักษาโรคเท่านั้น
ไฮแดนโทอินมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
ยาไฮแดนโทอินมีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้:
- ใช้เป็นยารักษาอาการโรคลมชัก เช่น ยา Phenytoin, Ethotoin และ Fosphenytoin
- ใช้เป็นยาคลายกล้ามเนื้อ เช่น ยา Dantrolene
ไฮแดนโทอินมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
ยาไฮแดนโทอินมีกลไกการออกฤทธิ์:
ก. กลุ่มยารักษาอาการลมชัก: ตัวยาจะออกฤทธิ์โดยกดการนำกระแสประสาทที่กระตุ้นการชักจากสมอง โดยมีการปรับสมดุลของประจุไฟฟ้า รวมถึงเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการนี้ คือ Sodium-potassium ATPase (Sodium-potassium adenosine triphosphatase) ด้วยกลไกดังกล่าวจึงก่อให้เกิดฤทธิ์ของการรักษาตามสรรพคุณ
ข. กลุ่มยาคลายกล้ามเนื้อ: ตัวยาจะออกฤทธิ์ที่บริเวณกล้ามเนื้อ/กล้ามเนื้อลายโดยเข้าจับกับตัวรับ (Receptor) ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของกล้ามเนื้อที่มีชื่อว่า Ryanodine receptor ทำให้ลดปริมาณแคลเซียมในเซลล์กล้ามเนื้อส่งผลให้กล้ามเนื้อคลายตัว
ไฮแดนโทอินมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยาไฮแดนโทอินมีรูปแบบการจัดจำหน่าย:
- ยาเม็ด ยาแคปซูล ชนิดรับประทาน และ
- ยาฉีด
อนึ่ง: ขนาดยาในแต่ละรูปแบบการจัดจำหน่ายจะขึ้นกับแต่ละชนิดของยาที่แตกต่างกันออกไป
ไฮแดนโทอินมีขนาดรับประทานอย่างไร?
การรับประทานยาในกลุ่มไฮแดนโทอินต้องเป็นไปตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น ด้วยมีขนาดความจำเพาะเจาะจงต่อโรคที่แตกต่างกันไป
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมถึงยาไฮแดนโทอิน ผู้ป่วยควรแจ้ง แพทย์ พยาบาล และ เภสัชกร ดังนี้
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิดเช่น กินยา/ใช้ยาแล้วคลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก/ หอบเหนื่อย
- มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยาหรืออาหารเสริมอะไรอยู่ เพราะยาไฮแดนโทอินอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆ และ/หรือกับอาหารเสริมที่กินอยู่ก่อน
- หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประ เภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรกและเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานยาไฮแดนโทอิน สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับ การรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มขนาดรับประทานเป็น 2 เท่า
อย่างไรก็ตามเพื่อประสิทธิผลของการรักษาควรรับประทานยาไฮแดนโทอินให้ตรงเวลา
ไฮแดนโทอินมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
อาจกล่าวถึงผล/ อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) ในภาพรวมของยากลุ่มไฮแดนโทอิน เช่น
- มีอาการสับสน
- วิงเวียน
- ดจาไม่ชัด
- ตาพร่า
- เดินเซ
- ตากระตุก
- เหงือกบวม
- ผมงอกช้า
- อาจพบอาการผื่นคัน และ
- อาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่อทารกในครรภ์ได้
มีข้อควรระวังการใช้ไฮแดนโทอินอย่างไร?
มีข้อควรระวังการใช้ยาไฮแดนโทอิน เช่น
- ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยาในกลุ่มไฮแดนโทอิน
- ห้ามใช้ยากลุ่มไฮแดนโทอินกับผู้ที่ป่วยด้วย โรคไทรอยด์, โรคไต, โรคเบาหวาน โรคลูปัส-โรคเอสแอลอี, ผู้ป่วยทางจิตประสาท, ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง, ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือ หัวใจ เต้นผิดจังหวะ, หากจำเป็นต้องใช้ยากลุ่มไฮแดนโทอินกับผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามคำสั่งแพทย์ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นกรณีๆเท่านั้น
- ห้ามใช้กับผู้ป่วยด้วยอาการที่เรียกว่า Adams-stokes syndrome (ภาวะหมดสติทันทีจากหัวใจทำงานผิดปกติรุนแรงจนส่งผลให้สมองขาดเลือด)
- ห้ามใช้ยานี้กับ สตรีตั้งครรภ์ สตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร และในเด็ก โดยไม่มีคำสั่งจากแพทย์
- ห้ามรับประทานยานี้พร้อมกับสุรา
- ห้ามใช้ยาที่เสื่อมสภาพแล้ว
- ห้ามปรับขนาดการใช้ยานี้หรือหยุดการใช้ยานี้ด้วยตนเองโดยมิได้รับคำสั่งจากแพทย์
- การใช้ยาอื่นใดร่วมรับประทานพร้อมกับยาไฮแดนโทอินจะต้องผ่านการยืนยันและมีคำสั่งจากแพทย์เท่านั้น ด้วยมียาหลายรายการที่สามารถเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับกลุ่มยาไฮแดนโทอินได้
- หากพบอาการแพ้ยานี้ให้รีบนำผู้ป่วยมาพบแพทย์/ส่งโรงพยาบาลทันที/ฉุกเฉิน
- มาพบแพทย์/มาโรงพยาบาลตามแพทย์นัดทุกครั้ง
- ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
***** อนึ่งทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยาไฮแดนโทอินด้วย) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิดและสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
ไฮแดนโทอินมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ยาไฮแดนโทอินมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น เช่น
- การใช้ยา Phenytoin ร่วมกับยา Hydrocodone อาจทำให้ระดับยา Hydrocodone ในกระ แสเลือดลดต่ำลงจนส่งผลต่อฤทธิ์ในการรักษา หากไม่มีความจำเป็นใดๆควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
- การใช้ยา Ethotoin ร่วมกับยา Propoxyphene อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงของยา Etho toin ติดตามมาอย่างมากมายโดยเฉพาะอาการวิงเวียน ง่วงนอน สับสน การครองสติยาก
- หากเป็นผู้สูงอายุอาจส่งผลถึงความสามารถในการทรงตัวที่แย่ลง จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
- การใช้ยา Dantrolene ร่วมกับยา Triprolidine อาจเพิ่มอาการข้างเคียงประเภทวิงเวียน ง่วงนอน ผู้ป่วยบางรายอาจสูญเสียความสามารถในการตัดสินใจ เพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดอา การข้างเคียงดังกล่าวจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
- การใช้ยา Fosphenytoin ร่วมกับยาเม็ดคุมกำเนิดเช่น Levonorgestrel อาจทำให้ประ สิทธิภาพในการคุมกำเนิดด้อยลงไป สุ่มเสี่ยงกับการมีประจำเดือนมาผิดปกติ รวมถึงอาจเกิดการตั้งครรภ์ได้ ในช่วงที่มีการใช้ยาร่วมกันนี้ควรใช้วิธีคุมกำเนิดแบบอื่นร่วมด้วย เช่น การใช้ถุงยางอนามัยชาย เป็นต้น
ควรเก็บรักษาไฮแดนโทอินอย่างไร
ควรเก็บยาไฮแดนโทอิน:
- เก็บยาตามเงื่อนไขที่ระบุมากับเอกสารกำกับยา/ ฉลากยา
- เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสง/แสงแดด ความร้อนและความชื้น
- เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
- ไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์
ไฮแดนโทอินมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยาไฮแดนโทอิน มียาชื่อการค้าอื่น และบริษัทผู้ผลิตเช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Cerebyx (ซีรีเบ็กซ์) | pfizer |
Cereneu (ซีรีนิว) | Pfizer |
Dilantin (ไดแลนติน) | Pfizer |
Ditoin (ดิโทอิน) | Atlantic Lab |
Utoin-250 (ยูโทอิน-250) | Umeda |
บรรณานุกรม
- http://www.drugs.com/drug-class/hydantoin-anticonvulsants.html?condition_id=&generic=1&sort=rating&order=desc [2021,Jan16]
- https://en.wikipedia.org/wiki/Hydantoin [2021,Jan16]
- http://www.drugs.com/drug-class/hydantoin-anticonvulsants.html [2021,Jan16]
- https://en.wikipedia.org/wiki/Dantrolene [2021,Jan16]
- https://en.wikipedia.org/wiki/Mephenytoin [2021,Jan16]
- https://quizlet.com/9664506/hydantoin-side-effects-flash-cards/ [2021,Jan16]
- http://www.answers.com/Q/What_are_contraindications_for_taking_hydantoins [2021,Jan16]
- http://www.drugs.com/drug-interactions/a-cof-dh-with-phenytoin-1201-8107-1863-0.html?professional=1 [2021,Jan16]
- http://www.drugs.com/drug-interactions/acetaminophen-propoxyphene-with-ethotoin-81-0-1050-0.html [2021,Jan16]
- http://www.drugs.com/drug-interactions/a-phedrin-with-dantrolene-1966-7245-779-0.html [2021,Jan16]
- http://www.mims.com/Thailand/drug/search?q=phenytoin [2021,Jan16]