ไดโคลฟีแนค (Diclofenac)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 20 กันยายน 2563
- Tweet
- บทนำ
- ยาไดโคลฟีแนคมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- ยาไดโคลฟีแนคออกฤทธิ์อย่างไร?
- ยาไดโคลฟีแนคมีรูปแบบจัดจำหน่ายอย่างไร?
- ยาไดโคลฟีแนคมีขนาดรับประทานอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
- ยาไดโคลฟีแนคมีผลไม่พึงประสงค์ไหม?
- ยาไดโคลฟีแนคมีปฏิกิริยากับยาตัวอื่นไหม?
- มีข้อควรระวังไหมเมื่อกินยาไดโคลฟีแนค?
- ควรเก็บรักษายาไดโคลฟีแนคอย่างไร?
- ยาไดโคลฟีแนคมีชื่ออื่นๆไหม? ผลิตโดยบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- กลุ่มยาแก้ปวด และยาพาราเซตามอล (Analgesics and Paracetamol)
- โรคข้อ (Joint disease)
- โรคกล้ามเนื้อ โรคระบบกล้ามเนื้อ (Muscle disease)
- โรคกระดูก (Bone disease)
- ยาฆ่าเชื้อ (Antimicrobial drug) ยาแก้อักเสบ (Anti inflammatory drug)
- เอ็นเสด ยาเอ็นเสด (NSAID หรือ NSAIDs)
บทนำ
ยาไดโคลฟีแนค (Diclofenac) เป็นยาในกลุ่มยาแก้ปวด โดยอยู่ในพวกเดียวกับยา เอนเสด (NSAIDs, Non-steroidal inflammatory drugs) ดังนั้น จึงเป็นทั้งยาแก้ปวดและยาต้านการอักเสบ/ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ และเป็นยาที่ใช้บ่อยตัวหนึ่งในบ้านเรา
ยาไดโคลฟีแนคมีสรรพคุณอย่างไร?
ยาไดโคลฟีแนคมีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้ เช่น
- เป็นยาต้านการอักเสบ (ยาในกลุ่มเอ็นเสด) ใช้ลดและบรรเทาอาการปวด เช่น ปวดข้อ ปวดกระดูก หรือการปวดชนิดเฉียบพลันด้วยสาเหตุถูกกระแทก และสามารถลดอาการปวดประจำเดือน ปวดฟัน ใช้เป็นยาลดอาการปวดจากนิ่วในไตและนิ่วในถุงน้ำดี ในหลายประเทศ (รวมทั้งในประเทศเรา) พัฒนาเป็นยาทาในรูปของเจล (Gel) ซึ่งใช้ทาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อหลังเล่นกีฬาหรือจากการทำงานหนัก นอกจากนี้ยังช่วยลดไข้/ อาการไข้ได้ด้วย
ยาไดโคลฟีแนคออกฤทธิ์อย่างไร?
กลไกการออกฤทธิ์ของยาไดโคลฟีแนคคือ ตัวยาจะไปยับยั้งขบวนการสร้างสารเคมีที่ชื่อ โพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ซึ่งเป็นสารเคมีที่ทำให้ร่างกายเกิดอาการปวด
ยาไดโคลฟีแนคมีรูปแบบจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยาไดโคลฟีแนคมีรูปแบบการจัดจำหน่าย เช่น
- ยาเม็ดทั่วไป ขนาด 25 และ 50 มิลลิกรัม
- ยาเม็ดชนิดออกฤทธิ์นาน ขนาด 75, 100 และ 150 มิลลิกรัม
- ยาเจลสำหรับทา
- ยาน้ำเชื่อม ขนาด 100 มิลลิกรัมใน 1 ช้อนชา
- ยาฉีด ขนาด 50 และ 75 มิลลิกรัม
- ยาเหน็บทวาร ขนาด 50 และ 100 มิลลิกรัม
ยาไดโคลฟีแนคมีขนาดรับประทานอย่างไร?
ยาไดโคลฟีแนค จัดเป็นยาอันตราย และมีผลข้างเคียงมากมาย จึงไม่ควรซื้อยานี้กินเอง และขนาดของยาที่กินในผู้ใหญ่และในเด็กมีขนาดที่ต่างกัน ดังนั้นจึงควรได้รับคำแนะนำการใช้ยาจากแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนกินยาเสมอ
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมทั้งยาไดโคลฟีแนค ผู้ป่วยควรแจ้ง แพทย์ พยาบาล และเภสัชกร เช่น
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิด และอาการที่เกิดจากการแพ้ยา เช่น กินยา/ใช้ยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก
- มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยาอะไรอยู่ เช่น โรคหัวใจ, โรคหัวใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด (โรคหัวใจ2), และโรคความดันโลหิตสูง, เพราะยาไดโคลฟีแนคอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อนแล้ว
- หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์/มีครรภ์หรือไม่ หรือกำลังให้นมบุตรหรือไม่ เพราะยามักผ่านรก หรือผ่านเข้าสู่น้ำนมและเข้าสู่ทารก ก่อผลข้างเคียงต่อทารกได้
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานยาไดโคลฟีแนค สามารถรับประทานยาเมื่อนึกขึ้นได้ หากการลืมทานยาใกล้กับมื้อถัดไป ให้รับประทานขนาดปกติโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า
ยาไดโคลฟีแนคมีผลไม่พึงประสงค์ไหม?
ผล/อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) ของยาไดโคลฟีแนค เช่น
- ตัวยามีฤทธิ์ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร แพทย์มักจะให้ยาลดกรด ร่วมไปด้วยเช่นยา แรนิทิดีน (Ranitidine) หรือ โอมีปราโซล (Omeprazole) รับประทานก่อนนอนเพื่อป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
- อาการอื่นๆที่อาจพบได้ เช่น
- ปวดศีรษะ/ ปวดหัว
- เวียนหัว
- ผื่นคัน
- ตับอักเสบ
- ไตล้มเหลว /ไตวาย เฉียบพลัน
- กดไขกระดูก
ยาไดโคลฟีแนคมีปฏิกิริยากับยาตัวอื่นไหม?
ปฏิกิริยาระหว่างยาอื่นๆเมื่อกินยาไดโคลฟีแนค เช่น
- การกินร่วมกับเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ จะเพิ่มความเสี่ยงมีเลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้ (เลือดออกในทางเดินอาหาร)
- การกินร่วมกับยาลดความดันโลหิต(ยาลดความดันยาลดความดันเลือดสูง)จะทำให้ประสิทธิภาพการลดความดันโลหิตน้อยลง กลุ่มยาลดความดันโลหิต เช่น ยาอะทีโนลอล (Atenolol), โปรปาโนลอล (Propanolol), เมโทรโปลอล(Metropolol), แคนดีซาร์แทน (Candesartan), โลซาร์แทน (Losartan), และโอลมีซาร์แทน(Olmesartan)
- การกินร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือดจะเสริมฤทธิ์กัน และก่อให้เกิดภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหารได้ง่าย กลุ่มยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่นยา แอ็บซิกซิแมบ (Abciximab), และ วอร์ฟาริน (Warfarin Sodium)
- การกินร่วมกับยาโรคหัวใจจะทำให้การออกฤทธิ์ของยาโรคหัวใจมีมากขึ้นจนอาจเป็นพิษต่อร่างกายได้ อาจส่งผลให้ หัวใจเต้นผิดจังหวะ คลื่นไส้-อาเจียน การมองเห็นภาพไม่ชัดเจน ตัวอย่างยาโรคหัวใจ เช่นยา ไดจอกซิน (Digoxin)
- การกินร่วมกับยาจิตเวช อาจเพิ่มผลไม่พึงประสงค์ของยาทางจิตเวชให้สูงขึ้น เช่น ยากลุ่มยาลิเทียม (Lithium Sulphate) เป็นต้น
มีข้อควรระวังไหมเมื่อกินยาไดโคลฟีแนค?
ข้อควรระวังการใช้ยาไดโคลฟิแนค นอกจากกล่าวแล้วในหัวข้อผลไม่พึงประสงค์และปฎิกิริยาฯกับยาตัวอื่นแล้ว ยังควรต้อง
- ระวังการใช้ยากับผู้ที่เคยแพ้ยา (การแพ้ยา) ไดโคลฟีแนค
- ผู้ที่มีประวัติโรคภูมิแพ้อาจเกิดอาการโรคภูมิแพ้กำเริบเมื่อใช้ยานี้
- ห้ามใช้กับหญิงมีครรภ์เพราะอาจมีผลต่อทารกในครรภ์จนถึงเกิดการแท้งบุตรได้
- ระวังการใช้ยานี้ในผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้(แผลเปบติค)เพราะเสี่ยงกับสภาวะเลือดออกจากแผลฯได้ง่าย
- ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือผู้ที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจมาใหม่ๆ ด้วยเหตุผลดังได้กล่าวแล้วในตอนต้น
- ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวม ถึงยาไดโคลฟีแนคด้วย) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกชนิดควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
ควรเก็บรักษายาไดโคลฟีแนคอย่างไร?
ควรเก็บรักษายาไดโคลฟีแนค เช่น
- ยาเม็ด: ควรอยู่ในแผงยาของบริษัทผู้ผลิต
- นอกจากนั้น ยาในทุกรูปแบบ
- ควรเก็บให้พ้นแสงแดด
- ไม่ควรเก็บในที่ที่มีอุณหภูมิสูง
- ห้ามเก็บยาในช่องแช่แข็งของตู้เย็น
- ควรเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง และ
- ไม่ควรเก็บยาในห้องน้ำ
ยาไดโคลฟีแนคมีชื่ออื่นๆไหม? ผลิตโดยบริษัทอะไรบ้าง?
ยาไดโคลฟีแนค มียาชื่อการค้า และบริษัทผู้ผลิต เช่น
ชื่อการค้า | ผู้ผลิต |
---|---|
Ammi–Votara (แอมมิโวทารา) | Macro Phar |
Amminac (แอมมิแนค) | Macro Phar |
Antenac (แอนทีแนค) | GPO |
Bufenac (บูฟีแนค) | Burapha |
Cataflam (คาทาแฟลม) | Novartis |
Catanac (คาทาแนค) | Pharmasant Lab Trading |
Cencenac (เซนซีแนค) | Pharmasant Lab Trading |
D–Fiam (ดีแฟม) | Osoth Interlab |
Demac (ดีแมค) | Osotspa |
Demac Gel (ดีแมคเจล) | Osotspa |
Diclofenac T.O.(ไดโคลฟีแนคทีโอ) | T.O. Chemicals |
Diclogel (ไดโคลเจล) | Polipharm |
Diclogesic (ไดโคลเจสิค) | T Man Pharma |
Diclosian (ไดโคลเซียน) | Asian Pharm |
Difaren (ไดฟาเรน) | P P Lab |
Difelene (ไดฟีลีน) | Thai Nakorn Patana Health Care |
Difelene Gel (ไดฟีแนคเจล) | Thai Nakorn Patana Health Care |
Difenac (ไดฟีแนค) | T P Drug |
Dosanac (โดซาแนค) | Siam Bheasach Pharmaceutical |
Dosanac Gel (โดซาแนคเจล) | Siam Bheasach Pharmaceutical |
Fenac (ฟีแนค) | L.B.S. |
Fenacaine (ฟีนาเคน) | L.B.S. |
Fenacil (ฟีนาซิล) | Macro Phar |
Flexy Gel (เฟลคซี เจล) | T P Drug |
Inflanac (อินฟลาแนค) | Biolab |
Klyzen (ไคลเซน) | Pharmahof |
Klyzen Tablet (ไคลเซน) | Pharmahof |
Lesflam (เลสแฟลม) | Unison |
Manfenac (แมนฟีแนค) | T Man Pharma |
Masaren (มาซาร์เรน) | Masa Lab |
Myfenax (ไมฟีแนค) | Greater Pharma |
Myonac (ไมโอแนค) | M & H Manufacturing |
Myonac Gel (ไมโอแนค เจล) | M & H Manufacturing |
N–ZEN Gel (เอนเซน เจล) | T. C. Pharma–Chem |
N–ZEN tab (เอนเซน แทบ) | T. C. Pharma-Chem |
Ostaren (ออสทาเรน) | Utopian |
Ostaren Cream (ออสทาเรน) | Utopian |
Ostaren Injection (ออสทาเรน ชนิดฉีด) | Utopian |
Pai–Noren (ไพ-นอเรน) | 2 M (Med–Maker) |
Painelief (ไพนีลีฟ) | British Dispensary Trading |
Remethan (รีมีแธน) | Remedica |
Remethan Gel (รีมีแธน เจล) | Remedica |
Rhumanol Creamagel (รูมานอล ครีมาเจล) | T.O. Chemicals |
Sefnac (เซฟแนค) | Unison |
Sefnac Gel (เซฟแนค เจล) | Unison |
Tarjen (ทาร์เจน) | Union Drug |
Tarjena (ทาร์จีนา) | Union Drug |
Uniren (ยูนิเรน) | Patar Lab |
V–Therlen Patar (วีเธอร์เลน พาตาร์) | PatarLab |
Unison V–Therlen Gel (วีเธอร์เลน เจล) | Patar Lab |
Vasalen (วาซาเลน) | Millimed |
Ventarone (เวนทาโรน) | Umeda |
Vesconac (เวสโคแนค) | Vesco Pharma |
Vesconac Injection (เวสโคแนค ชนิดฉีด) | Vesco Pharma |
Volfen (โวลเฟน) | General Drugs House |
Volnac (โวลแนค) | T.O. Chemicals |
Voltaren (โวลทาเรน) | Novartis |
Voltaren Emulgel (โวลทาเรน อีมัลเจน) | Novartis |
Voltaren Ophtha (โวลทาเรน ออฟธา) | Novartis |
บรรณานุกรม
1. MIMS. Pharmacy. Thailand. 9th Edition 2009.
2. MIMS Thailand . TIMS. 110th Ed 2008.
3. พิสิฐ วงศ์วัฒนะ.(2547). ยา. THE PILL BOOK.
4. สุภาภรณ์ พงศกร.(2528). ปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยา (Drug Interactions). เภสัชวิทยา เล่ม 1. ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.