ไซเมทิดีน (Cimetidine)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 8 พฤษภาคม 2563
- Tweet
- บทนำ
- ยาไซเมทิดีนมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- ยาไซเมทิดีนมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- ยาไซเมทิดีนมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- ยาไซเมทิดีนมีขนาดรับประทานอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
- ยาไซเมทิดีนมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้ยาไซเมทิดีนอย่างไร?
- ยาไซเมทิดีนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษายาไซเมทิดีนอย่างไร?
- ยาไซเมทิดีนมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีแก๊ส (Abdominal bloating)
- อาหารไม่ย่อย ธาตุพิการ (Indigestion)
- กระเพาะอาหารอักเสบ (Gastritis)
- โรคแผลเปบติค (Peptic ulcer) / โรคแผลในกระเพาะอาหาร (Gastric ulcer)
- กรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease)
- โรคกระเพาะอาหาร หรือ โรคของกระเพาะอาหาร (Stomach disease)
บทนำ
ยาไซเมทิดีน (Cimetidine) เป็นยาในกลุ่มยา H2-Receptors Antagonist / H 2 antagonist คือกลุ่มยาที่ ทำให้การหลั่งกรดของกระเพาะอาหารลดลง ถูกวางจำหน่ายเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1976 (พ.ศ. 2519) ที่ประเทศอังกฤษ
หลังจากได้รับยาไซเมทิดีน ยาจะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 1 ชั่วโมง ตัวยาจะจับกับโปรตีนในกระแสเลือด 15 - 20% และส่งไปเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมีที่อวัยวะตับ ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่ว โมงเพื่อลดระดับยาในกระแสเลือดลงประมาณ 50% ก่อนที่จะถูกขับออกมากับปัสสาวะ
ไซเมทิดีนจัดเป็น ‘ยาอันตราย’ การใช้ที่ถูกต้องและปลอดภัย ควรต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์
ยาไซเมทิดีนมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
สรรพคุณ/ข้อบ่งใช้ ของยาไซเมทิดีน เช่น
- ใช้เป็นยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
- ป้องกันและยับยั้งอาการกรดไหลย้อน
- ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารอันเกิดจากการหลั่งกรดมากเกินไป
ยาไซเมทิดีนมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
กลไกการออกฤทธิ์ของยาไซเมทิดีน คือ สารฮิสตามีน (Histamine) เป็นต้นเหตุทำให้กรดหลั่งในกระเพาะอาหาร ยาไซเมทิดีนจะยับยั้งการทำงานของสารฮิสตามีน โดยจะเข้าไปจับกับหน่วยของตัวรับ (Receptor) ในระดับเซลล์ของผนังกระเพาะอาหารที่เรียกว่า H2-Recep tors ด้วยกลไกดังกล่าว จึงยับยั้งไม่ให้กระเพาะหลั่งกรดออกมา และทำให้อาการของโรคกระ เพาะอาหารบรรเทาลง
ยาไซเมทิดีนมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
รูปแบบการจัดจำหน่ายของยาไซเมทิดีน เช่น
- รูปแบบยาเม็ด ขนาดความแรง 200 และ 400 มิลลิกรัม/เม็ด
- รูปแบบยาฉีด ขนาดความแรง 200 มิลลิกรัม/2 มิลลิลิตร
ยาไซเมทิดีนมีขนาดรับประทานอย่างไร?
ขนาดรับประทานของยาไซเมทิดีน เช่น
ก. สำหรับแผลในลำไส้เล็ก: เช่น
- ผู้ใหญ่: รับประทาน 800 มิลลิกรัมครั้งเดียว ก่อนนอน หรือรับประทานครั้งละ 400 มิลลิกรัม เช้า – เย็น เป็นเวลาติดต่อกัน 4– 6 สัปดาห์
ข. สำหรับแผลในกระเพาะอาหาร: เช่น
- ผู้ใหญ่รับประทาน 800 มิลลิกรัมครั้งเดียว ก่อนนอน เป็นเวลาติดต่อกัน 8 สัปดาห์
ค. สำหรับอาการกรดไหลย้อน: เช่น
- ผู้ใหญ่รับประทาน 800 มิลลิกรัม ถึง 1.6 กรัมต่อวัน หากมีอาการรุนแรงอาจต้องรับประทานยามากกว่า 12 สัปดาห์
ง. *เด็ก: (นิยามคำว่าเด็ก) ขนาดรับประทานใน เด็ก และยาฉีดแต่ละกรณี ต้องกำหนดโดยแพทย์เท่านั้น
อนึ่ง:
- ควรรับประทานยาไซเมทิดีนพร้อมอาหาร
- การปรับขนาดรับประทานในผู้ป่วยแต่ละราย ต้องเป็นไปตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
*****หมายเหตุ: ขนาดยา และระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้ เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ผู้รักษาได้ การใช้ยาที่เหมาะสม ควรต้องปรึกษา แพทย์ หรือเภสัชกร ก่อนเสมอ
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาไซเมทิดีน ผู้ป่วยควรแจ้ง แพทย์ พยาบาล และเภสัชกร เช่น
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยา/ใช้ยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก
- มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยาอะไรอยู่ เพราะยาไซเมทิดีนอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อน
- หากเป็นสุภาพสตรี ควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์/มีครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรก และเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานยาไซเมทิดีน สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า
ยาไซเมทิดีนมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
ยาไซเมทิดีนสามารถก่อให้เกิดผล/อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) เช่น
- ท้องเสีย
- วิงเวียนศีรษะ
- อ่อนเพลีย
- มีผื่นคัน
- เต้านมขยายใหญ่
- หงุดหงิด
- สับสน
- ปวดตามข้อต่อของร่างกาย
- ปวดกล้ามเนื้อ
- ไตอักเสบ
- ปวดศีรษะ /ปวดหัว
- เกิดความเป็นพิษกับตับ /ตับอักเสบ
- และตับอ่อนอักเสบ
มีข้อควรระวังการใช้ยาไซเมทิดีนอย่างไร?
ข้อควรระวังการใช้ยาไซเมทิดีน เช่น
- ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยาไซเมทิดีน
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหาร
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่มีภาวะตับทำงานผิดปกติ
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วยโรคไต
- ระวังการใช้ยานี้กับหญิงตั้งครรภ์ และหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร เพราะยาอาจก่อผลข้าง เคียงต่อทารกได้
- ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
***** หมายเหตุ: ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึง ยาแผนปัจจุบันทุกชนิด(รวมยาไซเมทิดีนด้วย) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกชนิด ควรต้องปฏิบัติตาม ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด เสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด ) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
ยาไซเมทิดีนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
การใช้ยาไซเมทิดีนร่วมกับยาบางตัว สามารถมีปฏิกิริยาระหว่างยาที่ทำให้ระดับยาเหล่านั้นในกระแสเลือดของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น จนทำให้เกิดอาการข้างเคียงต่างๆตามมาได้ ตัวอย่างยาเหล่านั้น เช่น
- กลุ่มยากันชักยาต้านชัก: เช่นยา Phenyltoin โดยมีอาการข้างเคียง ดังนี้เช่น
- ตากระตุก
- ตัวสั่น
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- คลื่นไส้
- เป็นลม
- หายใจติดขัด/หายใจลำบาก เป็นต้น
- กลุ่มยาชา: เช่นยา Lidocaine โดยมีอาการข้างเคียงดังนี้ เช่น
- อาการตัวสั่น
- ตากระตุก
- เวียนศีรษะ คล้ายบ้านหมุน
- กลุ่มยาต้านการแข็งตัวของเลือ: เช่นยา Warfarin โดยมีอาการข้างเคียง เช่น
- ตกเลือดในกระเพาะอาหาร และลำไส้ (ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร)
- ปัสสาวะเป็นเลือด
- อุจจาระเป็นเลือด
- คลื่นไส้
- วิงเวียน
- อ่อนเพลีย
- ปวดศีรษะ /ปวดหัว
- กลุ่มยาลดความดันยาลดความดันเลือดสูง: เช่น ยา Atenolol, Pindolol โดยมีอาการข้างเคียง เช่น
- ความดันโลหิตต่ำ
- หัวใจเต้นช้า
- ปวดหัว
- วิงเวียน
*ดังนั้น หากมีความจำเป็นต้องใช้ยากลุ่มดังกล่าวข้างต้นร่วมกับยาไซเมทิดีน แพทย์จะปรับขนาดรับประทานเพื่อความปลอดภัยของคนไข้
ควรเก็บรักษายาไซเมทิดีนอย่างไร?
สามารถเก็บยาไซเมทิดีน เช่น
- เก็บยาภายใต้อุณหภูมิห้อง
- เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสง/แสงแดด และความชื้น
- ไม่ควรเก็บยาในห้องน้ำ
- และเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
ยาไซเมทิดีนมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยาไซเมทิดีน มียาชื่อการค้า และบริษัทผู้ผลิต เช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Alserine (แอลเซอรีน) | Union Drug |
Cencamat (เซนกาแมท) | Pharmasant Lab |
Chintamet (ชินตาเมท) | Chinta |
Cidine (ไซดีน) | Medifive |
Cigamet (ไซกาเมท) | General Drugs House |
Cimag (ไซแม็ก) | T P Drug |
Cimet (ไซเมท) | Chinta |
Cimetidine GPO (ไซเมทิดีน จีพีโอ) | GPO |
Cimetidine Utopian (ไซเมทิดีน ยูโทเปียน) | Utopian |
Cimet-P (ไซเมท-พี) | P P Lab |
Ciminpac (ไซมินแพ็ก) | Inpac Pharma |
Citidine (ไซทิดีน) | Atlantic Lab |
Clinimet (คลีนิเมท) | Bangkok Lab & Cosmetic |
Duotric (ดูโอทริก) | Asian Pharm |
G.I. (จี.ไอ.) | T. Man Pharma |
Gastasil (แก๊สตาซิล) | Heromycin Pharma |
K.B. Cymedin (เค.บี. ไซเมดิน) | K.B. Pharma |
Lakamed (แลกาเมด) | T. Man Pharma |
Manomet (แมโนเมท) | March Pharma |
Milamet (มิลาเมท) | Milano |
Peptidine (เปปทิดีน) | A N H Products |
Sertidine (เซอร์ทิดีน) | Chew Brothers |
Siamidine (สยามมิดีน) | Siam Bheasach |
Sincimet (ซินซิเมท) | SSP Laboratories |
Startidine (สตาร์ทิดีน) | Inpac Pharma |
Stomedine (สโตเมดีน) | Osoth Interlab |
Tacamac (แทคาแม็ก) | Medicine Products |
Tagapro (แทกาโปร) | Medicine Products |
Ulcacin (อัลคาซิน) | Utopian |
Ulcemet (อัลซิเมท) | T.O. Chemicals |
Ulcimet (อัลไซเมท) | Polipharm |
Ulsamet (อัลซาเมท) | Burapha |
บรรณานุกรม
1. https://en.wikipedia.org/wiki/Cimetidine [2020,May2]
2. http://mims.com/Thailand/drug/AdvancedSearch/ [2020,May2]
3. http://mims.com/Captcha/DefaultCaptcha?returnUrl=http%3a%2f%2fmims.com%2fthailand%2fdrug%2finfo%2fcimetidine%3fmtype%3dgeneric [2020,May2]
4. http://mims.com/Captcha/DefaultCaptcha?returnUrl=http%3a%2f%2fmims.com%2fThailand%2fdrug%2finfo%2fSiamidine%2f%3fq%3dcimetidine%26type%3dbrief [2020,May2]
5. https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a682256.html#storage-conditions [2020,May2]