แอลฟา-บล็อกเกอร์ (Alpha-blockers)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 30 กันยายน 2560
- Tweet
- บทนำ
- ยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์มีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- ยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์มีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- ยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- ยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์มีขนาดรับประทานอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
- ยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์มีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้ยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์อย่างไร?
- ยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษายากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์อย่างไร?
- ยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์มีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- โรคหัวใจ: โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease)
- ความดันโลหิตสูง (Hypertension)
- ความดันโลหิตต่ำ (Hypotension)
- นกเขาไม่ขัน (Erectile dysfunction)
บทนำ
แอลฟา-บล็อกเกอร์ (Alpha-blockers หรือ Alpha-adrenergic antagonist หรือ Alpha-adrenergic blocker) เป็นกลุ่มยาที่นำมารักษาอาการโรคความดันโลหิตสูง ภาวะต่อมลูกหมากโต (Benign prostatic hyperplasia) รักษาอาการของโรคหัวใจ บรรเทาอาการภาวะเลือดไปเลี้ยงนิ้วมือได้น้อยที่มักมีอาการปวดชาร่วมด้วยหรือที่เรียกอีกอย่างว่า Raynaud’s phenomenon
ในทางปฏิบัติเรามักพบว่ายากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์ถูกนำมาใช้กับโรคความดันโลหิตสูง และภาวะต่อมลูกหมากโตเป็นส่วนมาก นอกจากนี้ยังมียาบางตัวในกลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์ที่ถูกนำมาใช้รักษาอาการซึมเศร้าได้ด้วย
เราอาจแบ่งกลุ่มยาแอลฟา-บล็อกเกอร์ออกเป็น 3 กลุ่มย่อยคือ
- แอลฟา-1 บล็อกเกอร์ (Alpha-1 blocker)
- แอลฟา-2 บล็อกเกอร์ (Alpha-2 blocker)
- แอลฟา-บล็อกเกอร์ ชนิด Non-selective adrenergic blockers
ก. แอลฟา-1 บล็อกเกอร์: ประกอบด้วยตัวยาต่างๆที่นำมาใช้บ่อย เช่น
- Doxazosin ใช้รักษาความดันโลหิตสูงและภาวะต่อมลูกหมากโต
- Silodosin ใช้รักษาภาวะต่อมลูกหมากโต
- Prazosin ใช้รักษาความดันโลหิตสูง
- Tamsulosin ใช้รักษาภาวะต่อมลูกหมากโต
- Alfuzosin ใช้รักษาภาวะต่อมลูกหมากโต
- Terazosin ใช้รักษาความดันโลหิตสูงและภาวะต่อมลูกหมากโต
ข. แอลฟา-2 บล็อกเกอร์: ประกอบด้วยตัวยาที่ใช้บ่อย เช่น
- Medetomidine ใช้สงบประสาทระหว่างการผ่าตัดในสัตว์เลี้ยง
- Atipamezole ใช้สงบประสาทและระงับอาการปวด ยาตัวนี้ได้ถูกวิจัยและทดลองนำมารักษาในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน
- Idazoxan ใช้รักษาอาการซึมเศร้าและรักษาอาการทางจิตประสาท
- Yohimbine ใช้รักษาอาการสมรรถภาพทางเพศเสื่อม (นกเขาไม่ขัน)
ค. แอลฟา-บล็อกเกอร์ ชนิด Non-selective adrenergic blockers: ประกอบด้วยตัวยาที่ใช้บ่อยเช่น
- Phenoxybenzamine ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูงและภาวะต่อมลูกหมากโต
- Phentolamine ใช้รักษาความดันโลหิตสูง
- Tolazoline ใช้ลดภาวะเส้นเลือดหดเกร็ง
- Trazodone ใช้รักษาภาวะซึมเศร้า
ทั้งนี้ เคยมีผู้ป่วยตั้งคำถามถึงระยะเวลาในการใช้ยากลุ่มนี้ เราอาจจะกล่าวในภาพรวมว่า สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงบางรายอาจใช้ยากลุ่มนี้ได้มากกว่า 3 ปี แต่ก็มีผู้ป่วยบางกลุ่มที่สามารถหยุดการใช้ยา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะการดำรงชีวิตของผู้ป่วยแต่ละคนที่แตกต่างกันออกไป โดยแพทย์ผู้รักษาจะเป็นผู้ประเมินสถานการณ์ของการปรับเปลี่ยนการใช้ยาในผู้ป่วยเป็นรายบุคคลไป
ยาบางตัวในกลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์ได้ถูกบรรจุลงในบัญชียาหลักแห่งชาติของไทย เช่น Doxazosin และ Prazosin โดยอยู่ในหมวดยาอันตราย มีข้อจำกัดข้อห้ามใช้ซึ่งเป็นรายละเอียดปลีก ย่อย การใช้ยาในกลุ่มนี้จึงต้องอยู่ภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์เท่านั้น ห้ามมิให้ผู้ป่วยหยุดการใช้ยาหรือปรับเปลี่ยนการรับประทานยาเอง
ยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์มีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
ยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์มีสรรพคุณใช้รักษาภาวะ/โรคความดันโลหิตสูง และรักษาภาวะ ต่อมลูกหมากโต
ยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์มีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
ยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์มีกลไกการออกฤทธิ์ โดยตัวยาจะเข้าจับกับตัวรับที่อยู่ภายในเซลล์ของกล้ามเนื้อเรียบ ที่ผนังหลอดเลือด ที่หัวใจ และที่ต่อมลูกหมาก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทภายในเซลล์ ทำให้เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อเรียบ และทำให้ผนังหลอดเลือดขยายออก รวมถึงต่อมลูกหมากลดอาการหดเกร็ง จึงทำให้เกิดฤทธิ์รักษาตามสรรพคุณ
ยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายเป็น ยาเม็ดขนาดความแรง 0.4, 1, 2, 2.5, 4, และ 50 มิลลิกรัม/เม็ด
ยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์มีขนาดรับประทานอย่างไร?
ด้วยยาในกลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์มีหลายรายการ ขนาดรับประทานของยากลุ่มนี้ จึงขึ้นกับการพิจารณาของแพทย์ โดยต้องอาศัยข้อมูลของตัวผู้ป่วย รวมกับเลือกใช้ชนิดยาให้ตรงตามอาการและมีความปลอดภัยมากที่สุด ดังนั้นการรับประทานจึงต้องเป็นไปตามดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษาเท่านั้น
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์ ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกรดังนี้
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจ ลำบาก
- มีโรคประจำตัวต่างๆรวมทั้งกำลังกินยาอะไรอยู่ เพราะยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์อาจส่ง ผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กินอยู่ก่อน
- หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประ เภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรกและเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์ สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้ เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า
ยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์มีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
กลุ่มยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์อาจก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง/อาการข้าง เคียง) ดังนี้ เช่น ไอ เหงื่อออกมาก ปัสสาวะสีคล้ำ มีไข้ มีภาวะความดันโลหิตต่ำ ผื่นคัน เท้าและขาบวม วิงเวียนศีรษะ เป็นลม ท้องผูก อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ แน่นจมูก น้ำหนักตัวเพิ่ม ท้องเสีย ซึมเศร้า หัวใจเต้นช้า เบื่ออาหาร เป็นต้น
มีข้อควรระวังการใช้ยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์อย่างไร?
มีข้อควรระวังการใช้ยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์ ดังนี้
- ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์
- ห้ามใช้กับผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำ
- ด้วยยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์หลายตัวทำให้มีอาการวิงเวียนคล้ายเป็นลม จึงมีการแนะนำ ให้รับประทานยากลุ่มนี้ก่อนนอน
- ไม่แนะนำการใช้ยากลุ่มนี้กับเด็ก
- ยังไม่มีข้อมูลสนับสนุนผลเสียของการใช้ยากับหญิงตั้งครรภ์และหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร การจะใช้ยาในผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสม
- ระวังการใช้ยากลุ่มนี้กับผู้ป่วยด้วยโรคตับ
- ระหว่างใช้ยากลุ่มนี้ต้องระวังการทำงานกับเครื่องจักรรวมถึงการขับขี่ยานพาหนะ เพราะตัวยาอาจทำให้เกิดอาการง่วงซึมได้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์ด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้ง ควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่น กัน
ยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นดังนี้
- การใช้ยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์ร่วมกับยาในกลุ่มยาเบตา-บล็อกเกอร์ จะเพิ่มความเสี่ยงของความดันโลหิตสูง ควรเลี่ยงการใช้ร่วมกันหรือควรปรับขนาดรับประทานให้เหมาะสมเป็นรายบุคคลไป
- การใช้ยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์ร่วมกับยารักษาอาการสมรรถภาพทางเพศเสื่อม (นกเขาไม่ขัน) เช่น Sildenafil สามารถทำให้ผู้ป่วยมีความดันโลหิตต่ำจนถึงขั้นเป็นลมได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
- การใช้ยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์ร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สามารถทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ ผู้ป่วยจะรู้สึกวิงเวียนจนถึงขั้นเป็นลม จึงห้ามรับประทานร่วมกัน
ควรเก็บรักษายากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์อย่างไร?
ควรเก็บยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส (Celsius) เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดด ความร้อน และความชื้น เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง และไม่ควรเก็บยาในห้องน้ำ
ยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์มีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์ที่จำหน่ายในประเทศไทย มียาชื่อการค้าอื่นและบริษัทผู้ผลิตเช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Sriprasit Pharma | |
Cardoxa (คาร์ด็อกซา) | Sriprasit Pharma |
Pfizer | |
Cardura/Cardura XL (คาร์ดูรา/คาร์ดูรา เอ็กซ์แอล) | Pfizer |
M & H Manufacturing | |
Carxasin (คาร์ซาซิน) | M & H Manufacturing |
Millimed | |
Cazosin (คาโซซิน) | Millimed |
Siam Bheasach | |
Dezcard (เดซการ์ด) | Siam Bheasach |
Ranbaxy | |
Dovizin (โดวิซิน) | Ranbaxy |
Umeda | |
Dozozin (โดโซซิน) | Umeda |
Sun Pharma | |
Duracard (ดูราการ์ด) | Sun Pharma |
Genovate Biotechnology | |
Genzosin (เจนโซซิน) | Genovate Biotechnology |
Unison | |
Pencor (เพนคอร์) | Unison |
MacroPhar | |
Xadosin (ซาโดซิน) | MacroPhar |
Eisai | |
Urief (ยูรีฟ) | Eisai |
Remedica | |
Atodel (อโทเดล) | Remedica |
V S Pharma | |
Hyposin 2 (ไฮโพซิน 2) | V S Pharma |
Siam Bheasach | |
Lopress (โลเพรส) | Siam Bheasach |
New Life Pharma | |
Mima (มิมา) | New Life Pharma |
Pfizer | |
Minipress (มินิเพรส) | Pfizer |
Pharmasant Lab | |
Polypress (โพลีเพรส) | Pharmasant Lab |
T.O. Chemicals | |
Prazosin T.O. (พราโซซิน ที.โอ.) | T.O. Chemicals |
Utopian | |
Pressin (เพรสซิน) | Utopian |
Astellas Pharma | |
Harnal OCAS (ฮาร์นอล โอซีเอเอส) | Astellas Pharma |
sanofi-aventis | |
Xatral XL (ซาทอล เอ็กซ์แอล) | sanofi-aventis |
Abbott | |
Hytrin (ไฮทริน) | Abbott |
Codal Synto | |
Desirel (ดิไซเรล) | Codal Synto |
Medifive | |
Trazo (ทราโซ) | Medifive |
Pharmasant Lab | |
Trazodone Pharmasant (ทราโซโดน ฟาร์มาซันท์) | Pharmasant Lab |
Condrugs | |
Zodonrel (โซดอนเรล) | Condrugs |
Utopian | |
Zorel (โซเรล) | Utopian |
บรรณานุกรม
- https://en.wikipedia.org/wiki/Alpha_blocker#Uses[2017,Sept9]
- https://patient.info/health/alpha-blockers[2017,Sept9]
- https://en.wikipedia.org/wiki/Alpha-1_blocker[2017,Sept9]
- https://en.wikipedia.org/wiki/Alpha-2_blocker[2017,Sept9]
- http://health.howstuffworks.com/diseases-conditions/cardiovascular/heart/alpha-beta-adrenergic-blockers.html[2017,Sept9]
- https://www.drugs.com/sfx/doxazosin-side-effects.html[2017,Sept9]
- http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/high-blood-pressure/in-depth/alpha-blockers/art-20044214[2017,Sept9]
Updated 2017, September9