แมคโครไลด์ (Macrolide)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 25 ตุลาคม 2563
- Tweet
- บทนำ
- แมคโครไลด์มีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- แมคโครไลด์มีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- แมคโครไลด์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- แมคโครไลด์มีขนาดรับประทานอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
- แมคโครไลด์มีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้แมคโครไลด์อย่างไร?
- แมคโครไลด์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษาแมคโครไลด์อย่างไร?
- แมคโครไลด์มีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- โรคติดเชื้อเอชไพโลไร (H.pylori infection)
- โรคติดเชื้อ ภาวะติดเชื้อ (Infectious disease)
- แบคทีเรีย: โรคจากแบคทีเรีย (Bacterial infection)
- เชื้อรา โรคเชื้อรา (Fungal infection)
- ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics)
- โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อระบบหายใจ (Respiratory tract infection)
- ตับอักเสบ โรคพิษต่อตับ (Toxic hepatitis หรือ Hepatotoxicity)
บทนำ
ยากลุ่มแมคโครไลด์ (Macrolide) เป็นสารที่มีโครงสร้างเคมีของ Macrolide ring ที่เป็นสาร ในยาปฏิชีวนะหลายชนิดเป็นองค์ประกอบหลัก ในธรรมชาติจะพบเห็นสารประเภทแมคโครไลด์ที่อยู่ในหมวดยาปฏิชีวนะที่ได้จากแบคทีเรียที่อาศัยในดินกลุ่มสเตรปโตมัยซีส (Streptomycetes) นอก จากนี้ยังมีกลุ่มยาที่มีโครงสร้างทางเคมีเป็น Macrolide ring แต่มีประโยชน์ทางการแพทย์ที่แตกต่างกันออกไปอีก เช่น ใช้เป็นยาต้านเชื้อรา, ใช้เป็นยากดภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยที่ต้องเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ เป็นต้น
อาจจำแนกแมคโครไลด์เป็นหมวดหมู่ได้ดังนี้
ก. กลุ่มที่เป็นยาปฏิชีวนะและถือเป็นกลุ่มที่มีตัวยามากที่สุด เช่นยา Azithromycin, Clarithromycin, Erythromycin, Telithromycin, Carbomycin A, Josamycin, Kitasamycin, Midecamycin, Midecamycin acetate, Oleandomycin, Solithromycin, Spiramycin, Troleandomycin, Tylosin /tylocine, Roxithromycin
ข. กลุ่มที่ใช้เป็นยาต้านเชื้อรา เช่นยา Amphoteracin B, Nystatin
ค. กลุ่มที่ใช้เป็นยากดภูมิคุ้มกันของร่างกาย เช่นยา Cyclosporin
*ทั้งนี้ สำหรับบทความนี้จะขอกล่าวถึงยาแมคโคไลด์ที่ใช้เป็นยาปฏิชีวนะเท่านั้น
แมคโครไลด์มีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
ยาแมคโครไลด์มีสรรพคุณ /ข้อบ่งใช้ ที่เป็นยาปฏิชีวนะ โดยกลุ่มยาปฏิชีวนะแมคโครไลด์จัดเป็นยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้าง ใช้ยับยั้งการติดเชื้อของแบคทีเรียชนิดแกรมบวก เช่น
- ใช้รักษา โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ หรือ โรคติดเชื้อของเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย ตัวอย่างยาที่ใช้ เช่น ยา Erythromycin
- รักษาการอักเสบในอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น ยา Azithromycin
- รักษาการติดเชื้อ H.Pylori (โรคติดเชื้อเอชไพโลไร) เช่น ยา Clarithromycin
แมคโครไลด์มีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
กลไกการออกฤทธิ์ของยาปฏิชีวนะกลุ่มแมคโครไลด์ คือ ตัวยาจะออกฤทธิ์ยับยั้งการสัง เคราะห์โปรตีนของแบคทีเรียที่ตอบสนองกับยากลุ่มนี้ อีกทั้งยังยับยั้งการเปลี่ยนถ่ายและสลายการเชื่อมกันของสารพันธุกรรมชนิดที่เรียกว่า ไรโบโซม (Ribosome) ในตัวแบคทีเรีย จากกลไกที่กล่าวมาโดยรวมทำให้ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์ต่อต้านแบคทีเรียตามสรรพคุณ
แมคโครไลด์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยาแมคโครไลด์มีรูปแบบการจัดจำหน่าย:
- ยารับประทานชนิดยาเม็ด ยาแคปซูล ยาน้ำแขวนตะกอน
- ยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
- ยาใช้ภายนอก เช่น ยาขี้ผึ้งป้ายตา ยาเจลแต้มสิว
แมคโครไลด์มีขนาดรับประทานอย่างไร?
เนื่องจากยาในกลุ่มแมคโครไลด์มีหลายรายการความเหมาะสมของตัวยากับกลุ่มโรคมีความแตกต่างกันออกไป และยังมีข้อห้ามใช้กับสตรีตั้งครรภ์ ผู้ป่วยที่มีภาวะตับทำงานผิดปกติ หรือผู้ที่แพ้ยาในกลุ่มนี้ ดังนั้น การใช้ยากลุ่มนี้จึงขึ้นกับแพทย์ผู้ทำการรักษาที่จะบริหารยา/ใช้ยาได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยต่อผู้ป่วย
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยากลุ่มแมคโครไลด์ ผู้ป่วยควรแจ้ง แพทย์ พยาบาลและเภสัชกร เช่น
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยา/ใช้ยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่น/หายใจติดขัด/หายใจลำบาก/ หอบเหนื่อย
- มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยาอะไรอยู่ เพราะยากลุ่มแมคโครไลด์อาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อน
- หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรก และเข้าสู่ทารกจนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานยากลุ่มแมคโครไลด์ สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้ เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า
แมคโครไลด์มีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
ยากลุ่มแมคโครไลด์สามารถก่อให้เกิดผล/ อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) เช่น
- เกิดการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร
- คลื่นไส้-อาเจียน
- เบื่ออาหาร
- ปวดเกร็ง/ปวดบีบในท้อง
- ท้องเสีย
- วิงเวียน
- เป็นลม
- ผื่นคัน
- มีอาการตัวเหลือง
- รบกวนการทำงานของตับ
- มีภาวะหูดับ
- อ่อนเพลีย
- ปัสสาวะมีสีคล้ำ
- บางกรณียาในกลุ่มนี้สามารถกระตุ้นให้เกิดการแพ้ยาได้ที่มักพบอาการ
- ใบหน้า-ปาก-คอบวม
- แน่นหน้าอก
- หายใจไม่ออก/หายใจลำบาก
- หากพบอาการดังกล่าวหลังใช้ยานี้ ต้องรีบนำตัวผู้ป่วยส่งแพทย์/ไปโรงพยาบาลโดยทันที
มีข้อควรระวังการใช้แมคโครไลด์อย่างไร?
มีข้อควรระวังการใช้ยาแมคโครไลด์ เช่น
- ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยาในกลุ่มแมคโครไลด์
- หลีกเลี่ยงการใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคตับ
- การใช้ยาในกลุ่มแมคโครไลด์มีข้อจำกัดและต้องระวังการใช้ยากับ หญิงตั้งครรภ์ และหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตรเช่น ยา Erythromycin, ส่วนยา Roxithromycin และ Clarithromycin มีความปลอดภัยในการใช้กับหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
- การใช้ยากลุ่มนี้นานมากกว่า 10 วันมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตับอักเสบ
- ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยากลุ่มแมคโครไลด์ด้วย) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
แมคโครไลด์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ยาแมคโครไลด์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น เช่น
- การรับประทานยา Erythromycin ร่วมกับยาต้านเกล็ดเลือด เช่นยา อะซีโนคูมารอล (Acenocoumarol) อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสภาวะเลือดออกง่าย หากจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกันแพทย์จะปรับขนาดรับประทานเป็นกรณีไป
- การใช้ยา Azithromycin กับยารักษาภาวะหัวใจล้มเหลว เช่นยา ไดจ็อกซิน (Digoxin) จะทำให้ยาโรคหัวใจดังกล่าวคงอยู่ในร่างกายได้ยาวนานขึ้นจนส่งผลให้เกิดอาการใจสั่น หรือหัวใจหยุดเต้นได้ หากจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกันแพทย์จะปรับขนาดรับประทานเป็นรายบุคคลไป
- การใช้ยา Roxithromycin ร่วมกับยากลุ่ม Ergot Alkaloids เช่นยา Ergotamine, Dihydroergotamine ถือเป็นข้อที่ต้องระมัดระวังอย่างสูง ด้วยเคยมีรายงานผลที่มีการใช้ยา 2 กลุ่มนี้ร่วมกัน มีความเป็นไปได้ที่อาจก่อให้เกิดการตายของเนื้อเยื้อและมีการเสื่อมสภาพของเซลล์ติดตามมาจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
ควรเก็บรักษาแมคโครไลด์อย่างไร?
ควรเก็บยากลุ่มแมคโครไลด์:
- เก็บยาภายใต้อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส (Celsius)
- ห้ามเก็บยานี้ในช่องแช่แข็งของตู้เย็น
- ไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์
- เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสง/แสงแดด ความร้อนและความชื้น
- เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
แมคโครไลด์มีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยากลุ่มแมคโครไลด์ มียาชื่อการค้าอื่น และบริษัทผู้ผลิต เช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Azithro (อาซิโธร) | M & H Manufacturing |
Binozyt (บิโนซิท) | Sandoz |
Floctil (ฟลอกทิล) | Unison |
Zithromax (ซิโธรแมก) | Pfizer |
Zmax (ซีแมก) | Pfizer |
Clacina (คลาซินา) | GPO |
Clacinia (คลาซิเนีย) | GPO |
Clarith (คลาริธ) | L. B. S. |
Claron (คลารอน) | Siam Bheasach |
Crixan (คลิซาน) | Ranbaxy Unichem |
Fascar (ฟาสคาร์) | Unison |
Klacid (คลาซิด) | Abbott |
E S Cap (อี เอส แคป) | Community Pharm PCL |
Erathrom (อีราทรอม) | Asian Pharm |
Ericin (S) (อีริซิน) | Chew Brothers |
Erimit (อีริมิท) | T P Drug |
Erimycin (อีริมัยซิน) | Siam Bheasach |
Eryacne (อีรีแอคเน่) | Galderma |
Erycin (อีรีซิน) | Atlantic Lab |
Erycon (อีริคอน) | T.O. Chemicals |
Erymin (อีรีมิน) | Milano |
Eryo Dry Syrup (อีริโอ ดราย ไซรัป) | Vesco Pharma |
Erypac (อีริแพค) | Inpac Pharma |
Erysate (อีริเสท) | The United Drug (1996) |
Erysil (อีริซิล) | Silom Medical |
Eryth-mycin (อีริท-มัยซิน) | Pond’s Chemical |
Erythorate (อีริโทเรท) | Inpac Pharma |
Erythromed (อีริโทรเมด) | Medicpharma |
Erythromycin Asian Pharm (อิริโทรมัยซิน เอเชียน ฟาร์ม) | Asian Pharm |
Erythromycin Osoth (อิริโทรมัยซิน โอสถ) | Osoth Interlab |
Erytomin (อีริโทมิน) | Acdhon |
Erytomin Dry Syrup (อีริโทมิน ดราย ไซรัป) | Acdhon |
Malocin (มาโลซิน) | M & H Manufacturing |
Medthrocin (เมดโทรซิน) | Utopian |
Pocin (โพซิน) | Polipharm |
Rintacap (รินทาแคป) | T. Man Pharma |
Rintacin (รินทาซิน) | T. Man Pharma |
Rytho-Cap (รีโท -แคป) | Medicine Products |
Stacin (สเตซิน) | Macro Phar |
Stiemycin (สเตมัยซิน) | Stiefel |
Suthrocin (สุโทรซิน) | Suphong Bhaesa |
Tomcin (ทอมซิน) | General Drugs House |
Ammirox (แอมมิร็อก) | MacroPhar |
Coroxin (โคโรซิน) | Community Pharm PCL |
Eroxade (อีโรเสด) | Osoth Interlab |
I-Throcin (ไอ-โทรซิน) | T.C. Pharma-Chem |
Manroxin-150 (แมนร็อกซิน-150) | T. Man Pharma |
Poliroxin (โพลิร็อกซิน) | Polipharm |
Rocitro (โรซิโทร) | Thai Nakorn Patana |
Romed (โรเมด) | Medicpharma |
Rothricin/Rothricin Pediatric (โรทริซิน/โรทริซิน พิดิเอทริก) | Siam Bheasach |
Roxamycin (ร็อกซามายซิน) | Inpac Pharma |
Roxcin (ร็อกซิน) | Biolab |
Roxicin (ร็อกซิซิน) | Atlantic Lab |
Roxifect (ร็อกซิเฟ็ก) | Bangkok Lab & Cosmetic |
Roxilan (ร็อกซิแลน) | Olan-Kemed |
Roximed (ร็อกซิเมด) | Burapha |
Roximin (ร็อกซิมิน) | Pharmaland |
Roxino (ร็อกซิโน) | Suphong Bhaesaj |
Roxinox (ร็อกซิน็อก) | Charoen Bhaesaj Lab |
Roxinpac (ร็อกซินแพค) | Inpac Pharma |
Roxithro (ร็อกซิโทร) | Millimed |
Roxithromycin Central (ร็อกซิโทรมัยซิน เซ็นทรัล) | Pharmasant Lab |
Roxithroxyl (ร็อกซิโทรซิล) | Bangkok Lab & Cosmetic |
Roxitin (ร็อกซิติน) | T P Drug |
Roxitop (ร็อกซิทอป) | Farmaline |
Roxitron (ร็อกซิตรอน) | R.X. |
Roxlecon (ร็อกเลคอน) | Pond’s Chemical |
Roxthomed (ร็อกโทเมด) | Medicine Products |
Roxthrin (ร็อกทริน) | T.O. Chemicals |
Roxto (ร็อกโท) | M & H Manufacturing |
Roxtrocin (ร็อกโทรซิน) | Greater Pharma |
Roxy (ร็อกซี) | Sriprasit Pharma |
Rucin (รูซิน) | General Drugs House |
Rulid (รูลิด) | sanofi-aventis |
Rulosone (รูโลโซน) | P P Lab |
Ruxitex (รูซิเท็ก) | The United Drug (1996) |
Saroxxo (ซาร็อกโซ) | Pharmahof |
Uonin (โอนิน) | Unison |
Utolid (ยูโทลิด) | Utopian |
Vesthromycin (เวสโทรมายซิน) | Vesco Pharma |
V-Rox 300 (วี-ร็อก 300) | V S Pharma |
บรรณานุกรม
1 http://en.wikipedia.org/wiki/Macrolide [2020,Oct17]
2 http://www.drugs.com/drug-class/macrolides.html[2020,Oct17]
3 http://www.merckmanuals.com/professional/infectious_diseases/bacteria_and_antibacterial_drugs/macrolides.html [2020,Oct17]
4 https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a697037.html#if-i-forget [2020,Oct17]
5 http://www.drugs.com/ppa/erythromycin.html [2020,Oct17]
6 http://acnedefend.blogspot.com/2013/10/eryacne-erythromycin-gel-4.html [2020,Oct17]