แคลเซียมเสริมอาหาร (Calcium supplement)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 11 มิถุนายน 2559
- Tweet
- โรคกระดูก (Bone disease)
- โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกบาง (Osteoporosis and Osteopenia)
- กระดูกหัก (Bone fracture)
- กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ (Hip Fractures in Senile)
- กระดูกข้อมือหักในผู้สูงอายุ (Colles’ fracture)
- กระดูกสันหลังหัก (Fracture of the Spine)
ปัจจุบันการศึกษาทางการแพทย์ต่างๆสนับสนุนการกินแคลเซียมให้พอเพียงในแต่ละวันโดย เฉพาะผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงและผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุนและกระ ดูกหัก ทั้งนี้ IOM (Institute of Medicine) สถาบันที่ดูแลด้านการแพทย์ของสหรัฐอเมริกาได้แนะ นำปริมาณแคลเซียมทั้งหมดที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน (รวมทั้งหมดทั้งจากอาหารและจากแคลเซียม เสริมอาหาร) ดังนี้
หมายเหตุ
- RDA (Recommended dietary allowance) = ปริมาณที่ควรได้รับที่คิดจาก 97% ของประชากรทั่วไป
- ปริมาณสูงสุดที่ไม่ควรเกิน (Upper intake level) คือถ้าเกินกว่านี้มักเกิดผลข้างเคียงที่อาจ เป็นอันตรายต่อร่างกาย
- ในผู้หญิง: รวมถึงสตรีที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร
อาหารที่มีแคลเซียมสูง
อาหารที่มีแคลเซียมสูงได้แก่ นมและอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์ของนม (เช่น โยเกิร์ต เนย) ผัก ใบเขียวเข้ม ปลาซาร์ดีน ปลาซาลมอนสีชมพู แป้งและอาหารต่างๆที่เสริมอาหารด้วยแคลเซียมเช่น อาหารเช้าซีเรียล (Breakfast cereal) ทั้งนี้ปริมาณแคลเซียมดูได้จากข้างกล่อง/บรรจุภัณฑ์ที่แสดงรายการคุณภาพและส่วนผสมของอาหาร
ผลข้างเคียงของแคลเซียม
ผลข้างเคียงจากการกินแคลเซียมที่พบได้ในบางคนคือ คลื่นไส้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก แต่ถ้าได้ปริมาณแคลเซียมสูงเกินไปต่อเนื่อง ผลข้างเคียงที่พบได้คืออาจก่อให้เกิดนิ่วในไต
ส่วนผลของแคลเซียมต่อการเกิดโรคมะเร็งและ/หรือโรคหัวใจยังไม่ชัดเจน ยังไม่สามารถสรุปได้
สรุป
คำแนะนำในการกินแคลเซียมเพื่อป้องกันกระดูกหักของ IOM คือ
- แคลเซียมที่พอเพียงต่อวันเป็นสิ่งจำเป็นเพราะช่วยลดภาวะกระดูกหักได้
- ปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายต้องการต่อวันดังได้กล่าวแล้วในตอนต้น
- แคลเซียมเสริมอาหารจำเป็นสำหรับผู้ที่กินอาหารที่มีแคลเซียมต่ำที่ส่งผลให้ได้รับปริมาณ แคลเซียมไม่เพียงพอ แต่ถ้ากินแคลเซียมจากอาหารได้สูงก็ไม่มีความจำเป็นต้องกินแคลเซียมเสริมอาหาร หรือต้องกินแคลเซียมเสริมอาหารในปริมาณที่เมื่อรวมกับจากอาหารแล้ว ไม่ควรเกินปริมาณสูงสุดที่กำหนดต่อวันเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโทษ/ผลข้างเคียงจากแคลเซียม
บรรณานุกรม
- Bauer,D. (2013). Calcium supplements and fracture prevention. NEJM. 369,1537-1543.
- http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/in-depth/calcium-supplements/art-20047097 [2016,May21 ]