ฮอร์โมนจากรังไข่ (Ovarian hormones)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 27 เมษายน 2561
- Tweet
- กายวิภาคและสรีรวิทยาระบบต่อมไร้ท่อ (Anatomy and physiology of endocrine system)
- โรคต่อมไร้ท่อ โรคระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine disease)
- อวัยวะเพศภายในสตรี: กายวิภาคอวัยวะเพศภายในสตรี (Anatomy of female internal genitalia) / สรีรวิทยาอวัยวะเพศภายในสตรี (Physiology of female internal genitalia)
- ฮอร์โมนเพศหญิง (Female sex hormone)
- ฮอร์โมนเพศชาย (Male sex hormone) หรือ แอนโดรเจน (Androgen)
- เอสโตรเจน (Estrogen)
- โพรเจสเทอโรน (Progesterone) โพรเจสทิน (Progestin) โพรเจสโตเจน (Progestogen)
- เอสตร้าไดออล (Estradiol)
- เอสไตรออล (Estriol)
รังไข่ เป็นอวัยวะเฉพาะของเพศหญิง มีทั้งด้านซ้ายและด้านขวา อยู่ในอุ้งเชิงกราน ฮอร์โมนรังไข่ หรือ รังไข่ฮอร์โมน (Ovarian hormone) หรือ ฮอร์โมนสร้างจากรังไข่(Hormones secreted by ovaries)คือ ฮอร์โมนที่สร้างและหลั่งจากรังไข่เพื่อการคงลักษณะต่างๆของเพศหญิง เช่น ไขมัน สะโพก เต้านม ขน ผม เสียง การมีประจำเดือน ซึ่งฮอร์โมนที่สร้างและหลั่งจากรังไข่ คือ ฮอร์โมนเพศหญิงที่เป็นฮอร์โมนสำคัญหลัก คือ เอสโตรเจน(Estrogen) และ โพรเจสเทอโรน (Progesterone) ส่วนน้อยน้อยมาก รังไข่จะสร้างและ/หลั่งฮฮร์โมนเพศชาย/Testosterone/ Androgens เพื่อช่วยเสริมการทำงานของฮอร์โมนเพศหญิง เช่น ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ของกระดูก และอารณ์ เป็นต้น
ทั้งนี้การสร้างและหลั่งฮอร์โมนจากรังไข่ อยู่ในกำกับควบคุมจากสมองส่วนไฮโปธาลามัส และจากต่อมใต้สมอง
ก. เอสโตรเจน เป็นฮอร์โมนสำคัญที่สุดต่อการเป็นเพศหญิง มีหน้าที่ ควบคุมการเจริญเติบโตของอวัยวะเพศหญิง ลักษณะการเป็นเพศหญิง โดยเฉพาะในช่วงเข้าสู่วัยรุ่น เช่น เสียง การเจริญเติบโตของเต้านม ของกล้ามเนื้อสะโพก ขนที่อวัยวะเพศและที่รักแร้ กลิ่นตัว อารมณ์ทางเพศ ประจำเดือน ซึ่งในสตรี ระดับเอสโตรเจนจะต่ำในช่วงวัยเด็ก แต่จะสูงขึ้นในช่วงวัยรุ่นและวัยสาว ต่อจากนั้นจะค่อยๆลดระดับลงเรื่อยๆจนรังไข่หยุดการสร้างในวัยหมดประจำเดือน ทั้งนี้ในช่วงตั้งครรภ์ เอสโตรเจนจะช่วยการเจริญของเต้านมที่รวมถึงในกระบวนการหลั่งน้ำนม
เอสโตรเจนแบ่งเป็น 3 ชนิดย่อย คือ
- Estrone(E1)เป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีฤทธิ์อ่อนกว่าเอสโตรเจนตัวย่อยๆอื่นๆ เป็นเอสโตรเจนที่มักพบในช่วงวัยหมดประจำเดือนและมักเกิดจากการเปลี่ยนมาจากฮอร์โมนAndrogen
- Estradiol(E2)เป็นชนิดเอสโตรเจนสำคัญในการทำงานของเอสโตรเจนทั้งหมดต่อเนื่อเยื่อต่างในร่างกาย โดยเฉพาะอวัยวะเพศหญิง
- Estriol(E3)เป็นเอสโตรเจนชนิดที่มีฤทธิ์อ่อนที่สุด เป็นเอสโตรเจนที่สร้างจากรก และที่ผ่านเข้าสู่ทารก ซึ่งจะพบระดับE3สูงขึ้นในช่วงตั้งครรภ์แต่ระดับจะลดลงในระยะหลังคลอด
อนึ่ง เอสโตรเจนส่วนใหญ่เกือบทั้งหมด สร้างและหลั่งจากรังไข่ แต่ส่วนน้อยสร้างได้จากต่อมหมวกไต และในช่วงตั้งครรภ์ รกยังช่วยสร้างเอสโตรเจนได้อีกด้วย
ข. โพรเจสเทอโรน เป็นอีกฮอร์โมนสำคัญของเพศหญิง มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการมีประจำเดือน อารมณ์ทางเพศ การฝังตัวของไข่หลังการปฏิสนธิ การเจริญเติบโตของครรภ์ การเจ็บครรภ์คลอด ฮอร์โมนนี้ ส่วนใหญ่สร้างจากรังไข่ แต่อาจสร้างจากรก และต่อมหมวกไตได้ แต่ในปริมาณที่น้อยกว่าจากรังไข่มาก ทั้งนี้ในระหว่างตั้งครรภ์ โพรเจสเทอโรนยังช่วยในการเจิญเติบโตของทารกในครรภ์ กระตุ้นการเจริญของเต้านมเพื่อเตรียมผลิตน้ำนม ป้องกันการหลั่งน้ำนม เพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานที่รวมถึงกล้ามเนื้อมดลูกเพื่อป้องกันการแท้งบุตร และเพื่อช่วยการคลอดบุตร และยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการตกไข่ในช่วงตั้งครรภ์ ดังนั้นในช่วงตั้งครรภ์ ระดับโพรเจสเทอโรนในเลือดจึงสูงกว่าปกติ แต่จะค่อยๆลดระดับลงเป็นปกติในระยะหลังคลอด ส่วนในสตรีทั่วไป ที่ไม่ตั้งครรภ์ ระดับโพรเจสเทอโรนในร่างกาย/ในเลือดจะค่อยๆสูงขึ้นตามวัย ซึ่งจะเช่นเดียวกับระดับเอสโตรเจน คือสูงในช่วงวัยรุ่นและวัยสาว ต่อจากนั้นจะค่อยๆลดระดับลง จนหมดไปในช่วงวัยหมดประจำเดือน
ค. อินฮิบิน(Inhibin)เป็นฮอร์โมนส่วนน้อยและไม่ค่อยมีความสำคัญ มีหน้าที่ยับยังการหลั่งฮอร์โมน FSH จากต่อมใต้สมองที่กระตุ้นการสร้างไข่ของรังไข่ Inhibin แบ่งย่อยเป็น 2ชนิดที่ทำงานเสริมกัน คือ Inhibin A และ Inhibin B อนึ่ง Inhibin สามารถสร้างได้จากอัณฑะ(ในเพศชาย)ด้วย และฮอร์โมนนี้จะสูงขึ้นในโรคดาวน์ซินโดรม การตรวจฮอร์โมนนี้ในเลือดในช่วงตั้งครรภ์จึงช่วยแพทย์วินิจฉัยโรคนี้ได้
บรรณานุกรม
- http://www.yourhormones.info/glands/ovaries/ [2018,April7]
- https://en.wikipedia.org/wiki/Ovary [2018,April7]
- https://www.webmd.com/women/estrogens#1 [2018,April7]
- http://www.healthywomen.org/condition/progesterone [2018,April7]
- https://www.britannica.com/science/inhibin [2018,April7]