อัมพฤกษ์ อัมพาต แขน ขา อ่อนแรง (Muscle weakness)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 18 ตุลาคม 2558
- Tweet
- อัมพาตเหตุโพแทสเซียมต่ำ กล้ามเนื้ออ่อนแรงเหตุโพแทสเซียมต่ำ (โรคเอชพีพี) (Hypokalemic Periodic Paralysis:HPP
- วิธีดูแลผู้ป่วยอัมพาตและโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน
- โรคสมอง โรคทางสมอง (Brain disease)
- โรคไขสันหลัง (Spinal cord disease)
- โรคกล้ามเนื้อ โรคระบบกล้ามเนื้อ (Muscle disease)
- โรคเส้นประสาท (Peripheral neuropathy)
- อ่อนแรง อาการอ่อนแรง (Motor Weakness)
จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 “อัมพฤกษ์” หมายถึง อวัยวะบางส่วน เช่น แขน-ขา อ่อนแรง ส่วน “อัมพาต” หมายถึง อวัยวะแขน-ขา ตายไป กระดิกไม่ได้
อัมพฤกษ์ (Paresis) และอัมพาต (Paralysis) เกิดจากโรคชนิดเดียวกันเพียงแต่อัมพฤกษ์ มีความรุนแรงน้อยกว่าอัมพาต โดยเกิดการที่เซลล์สมองหรือไขสันหลังส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อแขน-ขาเสียหาย (แขน-ขาอ่อนแรง/แขน-ขาไม่มีแรง/แขน-ขาขยับเองไม่ได้ เป็นอัมพาต) ซึ่งอาจเกิดได้จากอุบัติเหตุ การขาดเลือด การมีเลือดออกในสมอง (ภาวะเลือดออกในกะโหลกศีรษะ) โรคหลอดเลือดสมอง โรคสมองอักเสบ การมีเนื้องอกหรือโรคมะเร็งของสมอง (เช่น โรคเนื้องอกสมอง โรคมะเร็งสมอง) ส่วนที่ควบคุมกล้ามเนื้อแขน-ขา และโรคไขสันหลัง
อัมพฤกษ์ อัมพาต อาจเกิดร่วมกับอาการอื่นๆของแขน-ขาเช่น อาการชา อาการปวด/เจ็บ อาการบวม อาการกระตุก หรืออาการอัมพฤกษ์ อัมพาต ของกล้ามเนื้อใบหน้าที่ส่งผลให้ใบหน้าเบี้ยว
อัมพฤกษ์ อัมพาต แขน-ขาอ่อนแรง อาจเกิดร่วมกับการสูญเสียการพูด ความเข้าใจ และความทรงจำ นอกจากนั้นอาจเกิดร่วมกับประสาทควบคุมการขับถ่ายเสียไปด้วย ส่งผลให้ปัสสาวะหรืออุจจาระเองไม่ได้ ต้องใช้ท่อสวนปัสสาวะและใช้วิธีการช่วยในการขับถ่ายอุจจาระ
อาการอัมพฤกษ์ อัมพาต แขน-ขาอ่อนแรง จะมีอาการอย่างไร รักษาหายได้หรือไม่ ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุและตำแหน่งของสมองและไขสันหลังที่เกิดโรค แต่โดยทั่วไปการฟื้นตัวมักไม่เต็มร้อย
อาการอัมพฤกษ์ อัมพาต แขน-ขาอ่อนแรง เมื่อเริ่มต้นรักษามักเป็นการดูแลรักษาจากแพทย์/พยาบาล/นักกายภาพบำบัด ต่อจากนั้นคือการดูแลตนเองและการดูแลจากครอบครัวร่วมกับการรักษาดูแลคำแนะนำของแพทย์พยาบาลและนักกายภาพบำบัด
Updated 2015, Sept 26