อะลูมิเนียม คลอไรด์ (Aluminium Chloride)

สารบัญ บทความที่เกี่ยวข้อง

บทนำ

อะลูมิเนียม คลอไรด์ (Aluminium chloride) ถูกนำมาใช้เป็นยาระงับเหงื่อ (Antiperspirants) มักผลิตออกมาในรูปแบบของลูกกลิ้งทาผิว (Roll on) หรือโลชั่น (Lotion) โดยมีความเข้มข้นตั้งแต่ 12% ขึ้นไป ก่อนใช้ยาต้องทำความสะอาดผิวหนังให้แห้ง จากนั้นทายาบางๆบนผิวหนังวันละครั้ง ก่อนนอน ติดต่อกัน 2 – 3 วัน จนกระทั่งการหลั่งเหงื่ออยู่ในสถานะที่ควบคุมได้ จากนั้นปรับเปลี่ยน การทายาเป็นสัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง หรือใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์

อะลูมิเนียม คลอไรด์ จัดเป็นยาใช้ภายนอก ห้ามรับประทาน เพื่อความปลอดภัย ก่อนการใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง

อะลูมิเนียมคลอไรด์

ยาอะลูมิเนียม คลอไรด์มีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?

ยาอะลูมิเนียม คลอไรด์มีสรรพคุณใช้ระงับเหงื่อที่หลั่งออกมามากและเป็นสาเหตุของกลิ่นตัว

ยาอะลูมิเนียม คลอไรด์มีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

ยาอะลูมิเนียม คลอไรด์ มีกลไกการออกฤทธิ์ โดยจะทำให้เกิดการปิดกั้นท่อที่ระบายเหงื่อ การ ปิดกั้นดังกล่าวจะชะลอและยับยั้งเหงื่อให้หยุดไหล/ให้เหงื่อออกน้อยลง

ยาอะลูมิเนียม คลอไรด์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?

ยาอะลูมิเนียม คลอไรด์จัดจำหน่ายในรูปแบบ ลูกกลิ้ง ขนาดบรรจุ 25 มิลลิลิตร และในรูป แบบของโลชั่น ขนาดบรรจุ 100 มิลลิลิตร

ยาอะลูมิเนียม คลอไรด์มีวิธีการใช้อย่างไร?

วิธีใช้ยาอะลูมิเนียม คลอไรด์ คือทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะทายาและซับให้แห้งก่อน ทายา ทายาบนผิวหนังดังกล่าว เช่น รักแร้ ง่ามนิ้วเท้า หรือศีรษะ เป็นต้น แล้วรอให้แห้ง โดยสัปดาห์ แรกทาวันละครั้งก่อนนอนติดต่อกัน 2 – 3 วัน จากนั้นปรับเปลี่ยนมาทาอาทิตย์ละ 1 – 2 วัน วันละ ครั้งก่อนนอน หลังทายาเป็นเวลา 6 – 8 ชั่วโมง ใช้น้ำกับสบู่ชำระล้างทำความสะอาดบริเวณที่ทายา เพื่อขจัดคราบไคลออก และ

ห้ามใช้ยานี้ร่วมกับผลิตภัณฑ์ลดเหงื่อ และลดกลิ่น (Roll on) รูปแบบและชนิดต่างๆ

เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาอะลูมิเนียม คลอไรด์ ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกร ดังนี้

  • ประวัติแพ้ยาทาเฉพาะที่ชนิดใดหรือไม่
  • มีโรคผิวหนังชนิดเรื้อรัง หรือบาดแผล ในบริเวณที่จะทายาด้วยหรือไม่ และ
  • ระยะเวลาของอาการโรคเป็นมานานกี่วัน

ยาอะลูมิเนียม คลอไรด์มีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?

ผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง) ของยาอะลูมิเนียม คลอไรด์ คือในผู้ป่วยบางรายอาจก่อให้ เกิดอาการระคายเคืองทางผิวหนัง

มีข้อควรระวังการใช้ยาอะลูมิเนียม คลอไรด์อย่างไร?

ข้อควรระวังในการใช้ยาอะลูมิเนียม คลอไรด์ คือ

  • ห้ามใช้ยานี้ในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี
  • ระวังการใช้ยานี้กับผิวหนังที่มีบาดแผล
  • หลีกเลี่ยงการทายานี้ซ้ำในระหว่างวัน
  • หากมีการโกนขนรักแร้ ควรหลีกเลี่ยงการทายาเป็นเวลา 48 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ
  • ห้ามใช้ยาหมดอายุ

***** อนึ่ง

ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึง ยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยาอะลูมิเนียม คลอไรด์ด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกชนิด ควรต้องปฏิบัติตาม ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน

ยาอะลูมิเนียม คลอไรด์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

ยาอะลูมิเนียม คลอไรด์ อาจมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยารับประทานบางชนิด ด้วยยากลุ่มดัง กล่าวก่อให้เกิดอาการผื่นคันทางผิวหนัง ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดการระคายเคืองกับผิวหนังเมื่อใช้อะลู มิเนียม คลอไรด์ ยาดังกล่าว เช่น ไดซัลฟิแรม (Disulfiram: ยารักษาโรคพิษสุราเรื้อรัง) เมโทรนิ ดาโซล (Metronidazole: ยารักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด) ไทไนดาโซล (Tinidazole: ยารักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด)

ควรเก็บรักษายาอะลูมิเนียม คลอไรด์อย่างไร?

ควรเก็บยาอะลูมิเนียม คลอไรด์ภายใต้อุณหภูมิ 15 – 30 องศาเซลเซียส (Celsius) เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด ป้องกันแสง เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ยาอะลูมิเนียม คลอไรด์มีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?

ยาอะลูมิเนียม คลอไรด์ในประเทศไทยมีชื่อการค้า และชื่อผู้ผลิต เช่น

ชื่อการค้า บริษัทผู้ผลิต
Perspirex (เพอสไปเร็ค) Riemann

บรรณานุกรม

1. http://www.webmd.com/drugs/drug-21200- Aluminum+Chloride+Hexahydrate+Top.aspx?drugid=21200 [2014,May4].
2. http://en.wikipedia.org/wiki/Aluminium_chloride [2014,May4].
3. http://sweathelp.org/en/treatments-hcp/topical-treatments/aluminum-chloride.html [2014,May4].
4. http://www.medicinenet.com/aluminum_chloride-topical_solution/page2.htm#DrugInteractions [2014,May4].
5. http://www.mims.com/Malaysia/drug/info/PerspireX/?q=ANTIPERSPIRANT&type=brief [2014,May4].
6. http://www.perspirex.com/ [2014,May4].