อะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycoside)

สารบัญ บทความที่เกี่ยวข้อง

บทนำ: คือยาอะไร?

อะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycoside) คือ กลุ่มยาปฏิชีวนะ ที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อจาก แบคทีเรียกลุ่มแกรมลบ (Gram negative bacteria) และบางชนิดของแบคทีเรียที่ไม่จำเป็นต้องใช้ออกซิเจนเพื่อการเจริญเติบโต (Anaerobic bacilli) และมักไม่ค่อยพบการใช้ยานี้มากนักกับเชื้อแบคทีเรียกลุ่มแกรมบวก (Gram positive bacteria)

สามารถแบ่งกลุ่มยาอะมิโนไกลโคไซด์ออกเป็น 3 กลุ่มย่อย ดังนี้

  • กลุ่มที่ 1: แบ่งตามชื่อสกุลของแบคทีเรียจำพวก Streptomyces ซึ่งชื่อของยาในกลุ่มนี้จะลงท้ายด้วย “mycin” เช่นยา Streptomycin, Neomycin, Kanamycin, Hygromycin, Hygromycin-B, และ Spectineomycin
  • กลุ่มที่ 2: แบ่งตามชื่อสกุลของแบคทีเรียจำพวก Micromonospora ซึ่งชื่อของยาในกลุ่มนี้จะลงท้ายด้วย “micin” เช่นยา Gentamicin และ Verdamicin
  • กลุ่มที่ 3: เป็นอนุพันธุ์ถัดมาจากกลุ่มที่ 1 และ 2 เช่น Arbekacin, Framycetin, Amikacin, Paromomycin, Ribostamycin, Dibekacin, Tobramycin, Netilmicin, Sisomicin, Isepamicin และ Habekacin

อนึ่ง ไม่แนะนำการใช้ยาในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์กับ สตรีตั้งครรภ์ ด้วยมีข้อมูลสนับสนุนว่าส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์โดยอาจก่อให้เกิดความพิการแต่กำเนิดได้

ทั้งนี้การบริหารยากลุ่มนี้เข้าสู่ร่างกาย มักจะเป็นไปในรูปแบบของยาฉีด ด้วยยากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ส่วนใหญ่มีการดูดซึมจากระบบทางเดินอาหารได้ไม่ดีนัก มีบางสูตรตำรับที่ใช้เป็นยาทาใช้เฉพาะที่สำหรับรักษาบาดแผลภายนอก บางตำรับก็เป็น ยาหยอดตา ยาหยอดหู หรือทำเป็นลักษณะฉีดพ่น เช่นยา Tobramycin เป็นต้น

การเลือกใช้ยากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ต้องถูกคัดกรองโดยแพทย์ผู้รักษาว่า เหมาะสมกับการตอบสนองของผู้ป่วยหรือไม่ อีกทั้งการบริหารยาส่วนใหญ่เป็นรูปแบบยาฉีด ซึ่งต้องอาศัยหัตถการทางการแพทย์ตามสถานพยาบาลที่เปิดทำการรักษาเท่านั้น

ยาอะมิโนไกลโคไซด์มีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) รักษาโรคอะไร?

อะมิโนไกลโคไซด์

ยาอะมิโนไกลโคไซด์มีสรรพคุณรักษาโรค/ข้อบ่งใช้: เช่น

  • รักษา โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ), โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ, และภาวะติดเชื้อในช่องท้อง, อันมีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียแกรมลบและแกรมบวก เช่น เชื้อ Proteus vulgaris, เชื้อ E.Coli และ เชื้อโรคบิด Dysenteny bacillus รวมถึงใช้รักษาการติดเชื้อวัณโรค
  • ป้องกันการติดเชื้อหลังผ่าตัด
  • รักษาการติดเชื้อที่ผิวหนังในรูปแบบยาทาภายนอก/ยาใช้ภายนอก
  • รักษาการติดเชื้อที่ตา หู ในรูปแบบ ยาหยอดตา, ยาหยอดหู

ยาอะมิโนไกลโคไซด์มีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

กลไกการออกฤทธิ์ของยากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์คือ ตัวยาจะออกฤทธิ์รบกวนการทำงานของสารพันธุกรรมในแบคทีเรียที่เรียกว่า อาร์เอ็นเอ (RNA) ทำให้แบคทีเรียไม่สามารถจำลองหรือสร้างสารพันธุกรรมขึ้นมาใหม่ได้ จึงเป็นเหตุให้ตัวแบคทีเรียตายลงและหยุดการแพร่พันธุ์ในที่สุด

ยาอะมิโนไกลโคไซด์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?

ยาอะมิโนไกลโคไซด์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายหลายรูปแบบ:

  • ยาฉีด ขนาด 1 กรัม/4 มิลลิลิตร
  • ยาฉีด ขนาด 250 และ 500 มิลลิกรัม/2 มิลลิลิตร
  • ยาฉีด ขนาด 40 และ 250 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร
  • ยาแคปซูลชนิดรับประทาน ขนาด 250 มิลลิกรัม/แคปซูล
  • ยาอมที่ผสมร่วมกับยาต้านแบคทีเรียชนิดอื่น (Neomycin + Bacitracin)
  • ยาครีมโดยผสมร่วมกับสเตียรอยด์ (Neomycin sulfate + Betamethasone valerate)
  • ยาหยอดตา – ยาหยอดหู ที่ผสมยาสเตียรอยด์ (Neomycin sulfate + Dexamethasone)
  • ยาน้ำและยาเม็ดรับประทาน โดยผสมร่วมกับยาตัวอื่นเพื่อแก้อาการท้องเสีย
  • ยาป้ายตาชนิดขี้ผึ้ง
  • ฯลฯ

ยาอะมิโนไกลโคไซด์มีขนาดการบริหารยาอย่างไร

การบริหารยา/การใช้ยา/ขนาดยาอะมิโนไกลโคไซด์ ส่วนใหญ่ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของการรักษา (เช่น อาการผู้ป่วย เป็นการติดเชื้ออะไร ติดเชื้อในระบบใดของร่างกาย) แพทย์เท่านั้นที่จะเป็นผู้กำหนดการใช้ยาให้กับผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย ตัวอย่างเช่น

  • ขนาดการใช้ยา Gentamicin และ Tobramycin กับผู้ป่วย: เช่น 3 - 5 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัวผู้ป่วย 1 กิโล กรัม/วัน (เป็นขนาดที่ใช้กับผู้ป่วยที่ไตทำงานปกติ) หรือ
  • ขนาดการใช้ยา Amikacin ที่ให้ผู้ป่วย เช่น 15 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัวผู้ป่วย 1 กิโลกรัม/วัน

*****หมายเหตุ: ขนาดยา และระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้ เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ผู้รักษาได้ การใช้ยาที่เหมาะสม ควรต้องปรึกษา แพทย์ หรือเภสัชกร ก่อนเสมอ

เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?

การบริหารยา/การใช้ยา/ขนาดยาอะมิโนไกลโคไซด์ ส่วนใหญ่ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของการรักษา (เช่น อาการผู้ป่วย เป็นการติดเชื้ออะไร ติดเชื้อในระบบใดของร่างกาย) แพทย์เท่านั้นที่จะเป็นผู้กำหนดการใช้ยาให้กับผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย ตัวอย่างเช่น

  • ขนาดการใช้ยา Gentamicin และ Tobramycin กับผู้ป่วย: เช่น 3 - 5 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัวผู้ป่วย 1 กิโล กรัม/วัน (เป็นขนาดที่ใช้กับผู้ป่วยที่ไตทำงานปกติ) หรือ
  • ขนาดการใช้ยา Amikacin ที่ให้ผู้ป่วย เช่น 15 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัวผู้ป่วย 1 กิโลกรัม/วัน

*****หมายเหตุ: ขนาดยา และระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้ เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ผู้รักษาได้ การใช้ยาที่เหมาะสม ควรต้องปรึกษา แพทย์ หรือเภสัชกร ก่อนเสมอ

หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?

หากลืมรับประทาน/ทา/หยอดยาอะมิโนไกลโคไซด์ สามารถรับประทาน/ทา/หยอดยาอะมิโนไกลโคไซด์เมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทาน/ทา/หยอดยานี้ในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า

ยาอะมิโนไกลโคไซด์มีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?

หากลืมรับประทาน/ทา/หยอดยาอะมิโนไกลโคไซด์ สามารถรับประทาน/ทา/หยอดยาอะมิโนไกลโคไซด์เมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทาน/ทา/หยอดยานี้ในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า

มีข้อควรระวังการใช้ยาอะมิโนไกลโคไซด์อย่างไร?

มีข้อควรระวังการใช้ยาอะมิโนไกลโคไซด์ เช่น

  • ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์
  • ห้ามใช้ยานี้กับหญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ห้ามใช้กับผู้ที่มีแก้วหูทะลุ
  • ห้ามใช้กับผู้มีสภาวะตับทำงานผิดปกติ
  • ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วย โรคไต หญิงที่อยู่ในภาวะในนมบุตร ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ทารก และผู้สูงอายุ
  • ระหว่างการใช้ยานี้ ควรต้องควบคุมดูแลการทำงานของไตว่าปกติดีหรือไม่ตามแพทย์แนะนำ
  • หากพบอาการไม่ได้ยินเสียง หรือมีอาการคล้ายแพ้ยา ให้หยุดการใช้ยาทันที แล้วรีบด่วนไปพบแพทย์/ไปโรงพยาบาล
  • ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่ร่างกายอยู่ในภาวะสูญเสียน้ำและเกลือแร่ (ภาวะขาดน้ำ)
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ติดต่อกันเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน เพราะโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากยาจะสูงขึ้นมาก ดังนั้นการใช้ยานี้ จึงต้องเป็นแพทย์เป็นผู้สั่งการใช้เท่านั้น
  • ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นรับประทาน
  • ห้ามใช้ยาหมดอายุ
  • ห้ามเก็บยาหมดอายุ

***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยาอะมิโนไกลโคไซด์ด้วย) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน

ยาอะมิโนไกลโคไซด์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

ยาอะมิโนไกลโคไซด์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น เช่น

  • การใช้ยา Amikacin ร่วมกับยา Amphoteracin B อาจทำให้เกิดภาวะเป็นพิษกับไต หากจำ เป็นต้องใช้ร่วมกัน แพทย์จะเป็นผู้ปรับขนาดการใช้ยากับผู้ป่วยอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคลไป
  • การใช้ยา Streptomycin ร่วมกับยาในกลุ่ม H1-receptor blockers/ ยาเอช1แอนตาโกนิสต์ (ยาต้านฮิสตามีน/Histamine) อาจทำให้เกิดภาวะเป็นพิษต่อหู แพทย์จะเป็นผู้ปรับการให้ยานี้กับผู้ป่วย
  • การใช้ยา Tobramycin ร่วมกับ ยาขับปัสสาวะ เช่นยา Furosemide สามารถเพิ่มความเป็นพิษต่อไตของผู้ป่วย หากไม่จำเป็นควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
  • การใช้ยา Gentamicin ร่วมกับ ยาปฏิชีวนะอื่น เช่นยา Ampicillin, Benzylpenicillin, หรือยาในกลุ่ม Beta-lactam antibiotics จะเสริมฤทธิ์ในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • การใช้ยา Gentamicin ร่วมกับยาสลบหรือกลุ่มยาชา อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงโดย กดการหายใจในผู้ป่วย จึงควรเลี่ยงการใช้ยาทั้ง 2 กลุ่มร่วมกัน
  • การใช้ยา Neomycin ร่วมกับ ยาโรคหัวใจ เช่นยา Digoxin จะเกิดการรบกวนการดูดซึมของยา Digoxin จึงควรเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน

ควรเก็บรักษายาอะมิโนไกลโคไซด์อย่างไร?

สามารถเก็บยาอะมิโนไกลโคไซด์ เช่น

  • เก็บยาที่อุณหภูมิระหว่าง 15 - 30 องศาเซลเซียส (Celsius)
  • เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสง/ แสงแดด ความร้อน และความชื้น
  • เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง และ
  • ไม่ควรเก็บยาในห้องน้ำ

ยาอะมิโนไกลโคไซด์มีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?

ยาอะมิโนไกลโคไซด์ มียาชื่อการค้า และบริษัทผู้ผลิต เช่น

ชื่อการค้า บริษัทผู้ผลิต
Basina (บาซินา) T. Mam Pharma
Besone-N (เบโซน-เอ็น) Atlantic Lab
Betacort-N (เบตาคอร์ท-เอ็น) Utopian
Betamethasone-N GPO (เบตาเมธาโซน-เอ็น จีพีโอ) GPO
Bethasone-N (เบธาโซน-เอ็น) Greater Pharma
Betnovate-N (เบทโนเวท-เอ็น) GlaxoSmithKline
Betosone-EN (เบโทโซน-อีเอ็น) T. O. Chemicals
Coccila (ค็อกซิลา) V&V Bangkok
Strepto (สเตร็บโต) General Drugs House
Streptomycin Sulfate M&H (สเตร็บโตมายซิน ซัลเฟต เอ็มแอน์เฮช) M&H Manufacturing
Akicin (อะคิซิน) General Drugs House
Amikacin Abbott (อะมิคาซิน แอ๊บบอต) Abbott
Amikacin GPO (อะมิคาซิน จีพีโอ) GPO
Amikacin Injection Meiji (อะมิคาซิน อินเจ็คชัน เมจิ) Meiji
Siamik (สยามมิค) Siam Bheasach
Tybikin (ไทบิกิน) M&H Manufacturing
Gentamicin Vesco (เจนตามัยซิน เวสโก) Vesco Pharma
Versigen (เวอร์ซิเจน) Chew Brothers
Kanamycin Capsules Meiji (คานามายซิน แคปซูล เมจิ) Meiji
Kanamycin Sulfate General Drugs House (คานามายซิน ซัลเฟต เจเนอรัล ดรักซ์ เฮาส์) General Drugs House
Kangen (คานเจน) General Drugs House
DW Tobramycin (ดีดับเบิลยู โทบรามายซิน) Daewoong Pharma
Tobradex (โทบราเด็กซ์) Alcon
Zylet (ไซเลท) Bausch & Lomb

บรรณานุกรม

  1. https://en.wikipedia.org/wiki/Aminoglycoside [2021,Sept11]
  2. http://pharmacologycorner.com/protein-synthesis-inhibitors-aminoglycosides-mechanism-of-action-animation-classification-of-agents/ [2021,Sept11]
  3. http://jeepakistan.blogspot.com/2008/10/classification-of-aminoglycosides.html [2021,Sept11]
  4. https://www.mims.com/thailand/drug/info/tobramycin?mtype=generic [2021,Sept11]
  5. https://www.mims.com/thailand/drug/info/amikacin?mtype=generic [2021,Sept11]
  6. https://www.mims.com/Thailand/drug/search/?q=amikacin [2021,Sept11]
  7. https://www.mims.com/Thailand/drug/search/?q=kanamycin [2021,Sept11]
  8. https://www.mims.com/thailand/drug/info/gentamicin?mtype=generic [2021,Sept11]
  9. https://www.mims.com/Thailand/drug/search/?q=streptomycin [2021,Sept11]
  10. https://www.mims.com/Thailand/drug/search/?q=tobramycin [2021,Sept11]
  11. https://www.drugs.com/ppa/streptomycin.html [2021,Sept11]