วาร์ฟาริน (Warfarin) หรือ คูมาดิน (Coumadin)

สารบัญ

บทนำ

ยาวาร์ฟาริน (Warfarin) หรืออีกชื่อคือ คูมาดิน (Coumadin) จัดเป็นยาต้านทานการแข็ง ตัวของเลือด ทางการแพทย์ใช้รักษาและป้องกันภาวะอุดตันของหลอดเลือด อันมีสาเหตุจากการทำงานของเกล็ดเลือดที่ผิดปกติ (ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ)

มนุษย์รู้จักยาวาร์ฟารินมามากกว่า 60 ปี และเคยใช้อย่างแพร่หลายในแถบอเมริกาเหนือ ยานี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกเปลี่ยนโครงสร้างโดยตับ และถูกขับออกจากร่างกายโดยไต ผ่านปัสสาวะ และด้วยลักษณะธรรมชาติของยาที่สามารถซึมผ่านทางรกได้ จึงถูกห้ามใช้กับหญิงมีครรภ์ การสั่งจ่ายยา จึงต้องได้รับคำสั่งจากแพทย์ผู้ทำการรักษาเท่านั้น

ยาวาร์ฟารินมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?

วาร์ฟาริน

ยาวาร์ฟารินมีสรรพคุณ ดังนี้

  • ใช้ป้องกันและรักษาการแข็งตัวของเลือดในหลอดเลือด
  • ป้องกันการอุดตันของเลือดในถุงลมปอดจากการเกิดลิ่มเลือด
  • ป้องกันภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิด Atrial Fibrillation

ยาวาร์ฟารินมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

ยาวาร์ฟารินออกฤทธิ์โดยยับยั้งการสังเคราะห์วิตามิน-เค ซึ่งเป็นวิตามินที่เป็นปัจจัยสำ คัญที่ทำให้เกิดกระบวนการจับตัวของลิ่มเลือด นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันและยืดระยะเวลาในการรวมตัวของเกล็ดเลือดในร่างกาย จึงสามารถชะลอและป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดจากการเกิดลิ่มเลือดได้

ยาวาร์ฟารินมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?

ยาวาร์ฟารินจัดจำหน่ายในรูปแบบของยาเม็ดที่ขนาดความแรง 1, 2, 3, 4 และ 5 มิลลิ กรัม

ยาวาร์ฟารินมีขนาดรับประทานอย่างไร?

ขนาดรับประทานของยาวาร์ฟาริน คือ

  • ผู้ใหญ่ ขนาดรับประทานเพื่อการรักษาเริ่มต้นที่ 2-5 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งรับประทานตามแพทย์สั่ง
  • ขนาดที่ใช้ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดคือ 2-10 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งรับประทานตามแพทย์สั่ง

ทั้งนี้ ขนาดรับประทานและระยะเวลาของการใช้ยา ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ทำการรัก ษา ไม่สมควรปรับขนาดการรับประทานยาหรือหยุดยาด้วยตนเอง

เมื่อมีการสั่งยา ควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมทั้งยาวาร์ฟาริน ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกร ดังนี้

  • ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยาแล้ว คลื่นไส้มาก หรือ แน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก
  • มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยาอะไรอยู่ เพราะยาวาร์ฟารินอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กินอยู่ก่อนได้
  • หากเป็นสุภาพสตรี ควรต้องแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์ หรือ กำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรก และเข้าสู่ทารกจนก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อทารกได้

หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?

หากลืมรับประทานยาวาร์ฟาริน สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็นสองเท่า

ยาวาร์ฟารินมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?

ผลไม่พึงประสงค์/ผลข้างเคียงของยาวาร์ฟาริน คือ อาจก่อให้เกิดภาวะเลือดออกตามผิวหนัง ภาวะอัมพาต ปวดศีรษะ เจ็บหน้าอก ปวดท้อง ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆ วิงเวียน การหายใจผิดปกติ การกลืนอาหารลำบากขึ้น บวมตามร่างกาย อ่อนเพลีย ความดันโลหิตต่ำ และ ผื่นขึ้นตามผิวหนัง

มีข้อควรระวังการใช้ยาวาร์ฟารินอย่างไร?

ข้อควรระวังในการใช้ยาวาร์ฟาริน คือ

  • ห้ามใช้ยานี้กับหญิงตั้งครรภ์ และหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
  • ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกง่าย หรือผู้ที่มีเกล็ดเลือดต่ำ
  • ห้ามใช้กับผู้ป่วยที่ต้องได้รับการผ่าตัดเส้นประสาท ผ่าตัดตา ผ่าตัดสมอง ผ่าตัดไขสันหลัง
  • ห้ามใช้กับผู้ที่มีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร เลือดออกในระบบทางเดินหายใจ เลือด ออกในระบบอวัยวะสืบพันธุ์
  • ห้ามใช้กับผู้ป่วยที่เจาะหลัง และผู้ป่วยเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

***** อนึ่ง เมื่อมีการใช้ยาทุกชนิดรวมถึงยาวาร์ฟาริน ควรต้องปฏิบัติตาม ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด รวมทั้งเมื่อจะซื้อยาใช้เอง ควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนเสมอ

ยาวาร์ฟารินมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

ปฏิกิริยาระหว่างยาของยาวาร์ฟารินกับยาตัวอื่นๆ ได้แก่

  • การใช้ยาวาร์ฟาริน ร่วมกับยาแก้ปวดบางกลุ่ม อาจทำให้มีเลือดออกหรือเกิดรอยฟกช้ำตามผิว หนัง อาเจียนเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด อุจจาระเป็นเลือด ปวดศีรษะ วิงเวียน อ่อนเพลีย กลุ่มยาแก้ปวดดังกล่าว เช่น Aspirin, Ibuprofen, และ Naproxen เป็นต้น
  • การใช้ยาวาร์ฟารินร่วมกับดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ อาจพบเลือดออกตามร่าง กายได้ง่ายขึ้น หรือถ้ามีเลือดออกจากระบบทางเดินอาหาร อาจตรวจพบว่าอุจจาระจะมีสีดำเหมือนยางมะตอย
  • การรับประทานอาหารที่มีปริมาณวิตามินเค สูง ในระหว่างการรักษาด้วยยาวาร์ฟาริน สามารถส่งผลลดการทำงานของ Warfarin จึงควรระมัดระวังการบริโภคร่วมกันกับอาหารกลุ่มดังกล่าว เช่น ตับ ชาเขียว กะหล่ำ ผักคะน้า หน่อไม้ฝรั่ง อะโวคาโด บรอกโคลี กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักกาดหอม หัวผักกาด ผักชีฝรั่ง ถั่วเหลืองหรือ น้ำมันถั่วเหลือง ถั่วเขียว เป็นต้น

ควรเก็บรักษายาวาร์ฟารินอย่างไร?

สามารถเก็บยาวาร์ฟารินในช่วงอุณหภูมิห้อง เก็บให้พ้นจากแสงแดดและความชื้น และต้องเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ยาวาร์ฟารินมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?

ชื่ออื่นของยาวาร์ฟาริน และบริษัทผู้ผลิตในประเทศไทย เช่น

ชื่อการค้า บริษัทผู้ผลิต
Befarin (เบฟาริน) Berlin Pharm
Cogulax (โคกูแลกซ์) Pond’s Chemical
Fargem (ฟาร์เจม) M. J. Biopharm
Maforan (มาฟอแรน) Sriprasit Pharma
Morfarin (มอร์ฟาริน) Charoon Bhesaj
Orfarin (ออร์ฟาริน) Orion
Zydarin (ไซดาริน) Zydus Cadila

บรรณานุกรม

  1. http://www.mims.com/THAILAND/Home/GatewaySubscription/?generic=warfarin [2013,Oct17].
  2. http://www.healthline.com/druginteractions?addItem=warfarin [2013,Oct17].
  3. http://www.healthline.com/druginteractions [2013,Oct17].
  4. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/meds/a682277.html [2013,Oct17].