วัตถุออกฤทธิ์ (Psychotropic substances)

บทความที่เกี่ยวข้อง
วัตถุออกฤทธิ์

วัตถุออกฤทธิ์ (Psychotropic substances) หมายถึง วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท อาจเป็นสิ่ง/สารจากธรรมชาติ หรือที่เป็นวัตถุสังเคราะห์ หรืออีกนัยหนึ่ง ‘วัตถุออกฤทธิ์’ หมาย ถึง สารเคมีหรือวัตถุใดๆซึ่งมีผลต่อระบบประสาทสวนกลางที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพจิตใจของผู้ได้รับสารเหล่านี้

วัตถุออกฤทธิ์แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และ ยาเสพติดให้โทษ

วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท

วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (Psychotropic drug) เป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประ สาทส่วนกลาง ซึ่งในระบบประสาทส่วนกลาง มีสารเคมีที่ควบคุมการทำงานของร่างกายหลายระบบ เช่น วัตถุออกฤทธิ์ที่มีผลทำให้ไม่อยากกินอาหารที่ใช้ประโยชน์ในการลดความอ้วน หรือบางชนิดออกฤทธิ์ช่วยให้นอนหลับ

วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แบงออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้

  • ประเภทที่ 1 มีอันตรายร้ายแรง มีประโยชน์ด้านการแพทย์น้อยหรือไม่มีเลย ซึ่งห้ามมิให้ผู้ใดผลิต ขาย นําเข้า หรือส่งออก การนําผ่านต้องมีใบอนุญาตนําผ่าน เช่น เตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol: มีอยู่ในพืชพวกกัญชา) เป็นต้น
  • ประเภทที่ 2 มีอันตรายมาก มีประโยชน์น้อยในด้านการแพทย์ ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต ขาย นําเข้า หรือส่งออก เว้นแต่การผลิตเพื่อส่งออกบางชนิดที่รัฐมนตรีประกาศระบุชื่อโดยได้รับอนุญาต การนําผ่านต้องมีใบอนุญาตนําผ่าน เช่น
    • กลุ่มยาลดความอ้วน เช่น เฟนเตอร์มีน (Phentermine)
    • กลุ่มยานอนหลับ เช่น มิดาโซแลม (Midazolam), โซฟิเดม (Zopidem)
    • กลุ่มยานำสลบ เช่น เคตามีน (Zetamine)
    • กลุ่มวัตถุดิบ เช่น ซูโดอีเฟดรีน (Pseudoephedine: ยาแก้คัดจมูก ยาลดน้ำมูก) ที่เป็นสารตั้งต้นในการผลิตยาบ้า แต่ปกติเป็นส่วนผสมในการผลิตยาบรรเทาอาการโรคหวัด
  • ประเภทที่ 3 มีอันตรายมาก แต่ก็มีประโยชน์ด้านการแพทย์มากเช่นกัน ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต ขาย นําเข้า ส่งออก หรือนําผ่าน เว้นแต่ได้รับใบอนุญาต การนําเข้า-ส่งออก ต้องมีใบแจ้ง ยาประเภทที่ 3 นี้มีโอกาสเสพติดน้อยกว่าประเภท 2 สามารถขายตามร้านขายยาได้ แต่ต้องขายตามใบสั่งแพทย์ เช่น บูพรีนอร์ฟีน (Buprenorphine: ยาแก้ปวด อมใต้ลิ้น)
  • ประเภทที่ 4 มีอันตรายน้อย มีประโยชน์มากด้านการแพทย์ ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต ขาย นําเข้า ส่งออก หรือนําผ่าน เว้นแต่ได้รับใบอนุญาต การนําเข้า ส่งออก ต้องมีใบแจ้ง ยาประเภทที่ 4 นี้มีโอกาสเสพติดน้อยกว่าประเภท 3 ได้แก่ กลุ่มใช้ทำยาสงบประสาท เช่น ไดอาซีแพม (Diazepam), อัลปราโซแลม (Alprazolam), คลอร์ไดอาซีพอกไซด์ (Chlordiazepo xide)

ยาเสพติดให้โทษ (Narcotic drug)

ยาเสพติดให้โทษ (Narcotic drug) ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทส่วนกลางเช่นกัน แต่ออกฤทธิ์เฉพาะแห่ง เช่น เฉพาะส่วนที่ทำให้เกิดอาการปวด จึงใช้แก้ปวดที่รุนแรงได้ผลดี แต่เสพติดได้ง่าย ทำให้เกิดอาการประสาทหลอน เมื่อหยุดใช้ยาจะเกิดอาการถอนยา

ยาเสพติดให้โทษ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่

1. ยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ไม่มีประโยชน์ทางการแพทย์ ห้ามผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ครอบครอง เว้นแต่การมีไว้ในครอบครองกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราช การตามที่รัฐมนตรีจะอนุญาต เช่น เฮโรอีน ยาบ้า

2. ยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 มีประโยชน์ทางการแพทย์ ผลิตหรือนำเข้า โดยกระทรวงสาธารณสุข และจำหน่ายให้แก่ผู้มีใบอนุญาตจำหน่ายหรือครอบครองยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ได้แก่ ผู้ประกอบอาชีพเวชกรรม เภสัชกรรม ทันตกรรม และสัตวแพทย์ เช่น

  • กลุ่มยาที่ใช้ในการแก้ปวด เช่น เฟนตานิล (Fentanyl), โคเคน (Cocaine)
  • กลุ่มยาที่ใช้ในการรักษาผู้ที่ติดยาเสพติด เช่น โอเปี่ยมทิงเจอร์ (Opium tincture), เมทาโดน (Methadone)
  • กลุ่มยาที่ใช้ในการผ่าตัด เช่น มอร์ฟีน (Morphine), เฟนตานิล (Fentanyl)
  • กลุ่มยาที่ใช้เป็นวัตถุดิบ (สำหรับใช้ในการผลิตวัตถุเสพติดในประเภท 3) เช่น โคเดอีน (Codeine), ฝิ่น

3. ยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 เป็นผลิตภัณฑ์ที่นำยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ผสมกับยาชนิดอื่นได้ผลิตภัณฑ์ยาสำเร็จรูป เช่น ยาแก้ไอหรือยาแก้ปวด (มีโคเดอีนเป็นส่วน ผสม)

4. ยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 ใช้เป็นวัตถุดิบในทางอุตสาหกรรมหรือวิทยาศาสตร์ นำเข้าโดยกระทรวงสาธารณสุข ขายให้แก่ผู้มีใบอนุญาตจากสำนักคณะกรรมการอาหารและยา ไม่ใช่ยาเสพติดให้โทษโดยตรง แต่เป็นสารตั้งต้นที่นำไปผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษได้ เช่น อะเซติกแอนไฮไดร์ (Acetic anhydride: ผลิตเฮโรอีน) มีประโยชน์ทางอุตสาหกรรมในการผลิตแป้ง คุณสมบัติที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้กระบวนการผลิตสีทาต่างๆ หรือประโยชน์ทางด้านวิทยาศาสตร์เป็นส่วนผสมในการผลิตยาบางชนิด เช่น ยารักษาไมเกรน

5. ยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ส่วนใหญ่เป็นพืชที่ทำให้เกิดการเสพติดได้ เช่น กระ ท่อม ต้นฝิ่น เห็ดขี้ควาย กัญชา ห้ามผลิต จำหน่าย นำเข้าส่งออก

อื่นๆ

นอกจากนี้ วัตถุออกฤทธิ์ยังให้รวมถึง

  1. วัตถุที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่น แต่มีสูตรโครงสร้างทางเคมีอย่างเดียวกับวัตถุออกฤทธิ์ดังกล่าว
  2. ไอโซเมอร์ (Isomer: สารเคมีที่มีส่วนประกอบทางเคมีคล้ายกัน) ใดๆของวัตถุออกฤทธิ์ดัง กล่าว ยกเว้นไอโซเมอร์อื่นของวัตถุออกฤทธิ์ที่ได้ระบุตัวไอโซเมอร์นั้นๆเป็นวัตถุออกฤทธิ์ไว้ แล้วโดยเฉพาะ
  3. เอสเตอร์ (Ester: สารเคมีลักษณะเฉพาะชนิดหนึ่ง) และอีเทอร์ (Ether: สารเคมีระเหยชนิดหนึ่ง) ใดๆ และเกลือของวัตถุออกฤทธิ์ดังกล่าว เว้นแต่ที่ได้ประกาศไว้
  4. วัตถุตํารับที่มีวัตถุออกฤทธิ์ดังกล่าวผสมอยู่ เว้นแต่จะมีการระบุเงื่อนไขเฉพาะไว้

บรรณานุกรม

1. http://search.customs.go.th:8090/jsp/Hazard/public/nacotic/preface.pdf [2014,July19]
2. http://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=640&gid=7 [2014,July19]
3. http://newsser.fda.moph.go.th/narcoticprocurementsection/info/ [2014,July19]