รูปแบบยาเตรียม (Pharmaceutical Dosage Forms)
- โดย พรลภัส บุญสอน
- 29 สิงหาคม 2558
- Tweet
- รูปแบบยาเตรียมทางเภสัชหมายถึงอะไร?
- ทางเภสัชแบ่งยาเตรียมเป็นประเภทใดบ้าง?
- ยาเตรียมรูปแบบของแข็งมีอะไรบ้าง?
- ยาเตรียมรูปแบบกึ่งของแข็งมีอะไรบ้าง
- ยาเตรียมรูปแบบของเหลวมีอะไรบ้าง?
- ยาเตรียมรูปแบบอื่นๆได้แก่อะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- ยาแผนปัจจุบัน (Conventional medicine หรือ Modern medicine)
- ยาแผนโบราณ (Traditional Drug)
- ประเภทยาเสพติดให้โทษ ยาเสพติด (Illegal drugs)
- ยาอันตราย (Dangerous drug)
- ยาควบคุมพิเศษ (Controlled substance drug)
- ยาสามัญประจำบ้าน (Household remedies)
รูปแบบยาเตรียมทางเภสัชหมายถึงอะไร?
รูปแบบยาเตรียม (Pharmaceutical Dosage Forms) หมายถึง ยาที่ถูกเตรียมให้อยู่ในรูป แบบต่างๆกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้สามารถใช้ยาได้อย่างสะดวกปลอดภัยและให้ผลการรัก ษาได้ดี
ทางเภสัชแบ่งยาเตรียมเป็นประเภทใดบ้าง?
ทางเภสัชแบ่งยาเตรียมเป็นประเภทต่างๆ (จะกล่าวรายละเอียดของแต่ละประเภทยาเตรียมในหัวข้อต่อๆไป) ดังนี้
1. ยาเตรียมรูปแบบของแข็ง (Solid Dosage Forms) คือยาเตรียมที่มีลักษณะเป็นของแข็ง เป็นทั้งยาใช้ภายใน (เช่น ยากิน) และยาใช้ภายนอก
2. ยาเตรียมรูปแบบกึ่งของแข็ง (Semisolid Dosage Forms) คือยาเตรียมที่มีลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลว ใช้ทาผิวหนังและเยื่อเมือกต่างๆ
3. ยาเตรียมรูปแบบของเหลว (Liquid Dosage Forms) แบ่งออกเป็น
3.1 ยาน้ำสารละลาย (Solution) เป็นเภสัชภัณฑ์รูปแบบของเหลวที่ตัวยากระจาย ตัวอยู่ในสารที่เป็นตัวทำละลาย (Solvent) ซึ่งอาจเป็นน้ำหรือสารอื่นๆเช่น แอล กอฮอล์ มีลักษณะใส ไม่มีตะกอน
3.2 ยาน้ำกระจายตัว (Dispersion) เป็นยาที่นำไปกระจายตัวในตัวกลางที่เป็นของ เหลว โดยตัวยาอาจเป็นของแข็งหรือของเหลวก็ได้ แต่จะไม่ละลายหรือไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกับตัวกลาง
4. ยาเตรียมรูปแบบอื่นๆ (Miscellaneous Dosage Forms)
ยาเตรียมรูปแบบของแข็งมีอะไรบ้าง?
ยาเตรียมรูปแบบของแข็ง (Solid Dosage Forms) ได้แก่
1. ยาผงปริมาณมากชนิดรับประทาน (Bulk powders) เป็นยาผงที่ถูกบรรจุในภาชนะ โดยก่อนใช้ยาผู้ป่วยจะต้องแบ่งยาให้ได้ตามปริมาณที่ต้องการ แล้วนำไปผสมกับน้ำหรือเครื่อง ดื่มอื่นๆก่อนรับประทานเช่น ยา Psyllium
2. ยาแกรนูล (Granules) เป็นผงยาที่ถูกเตรียมออกมาให้เป็นก้อนเล็กๆ รูปร่างกลมหรืออาจมีรูปร่างไม่แน่นอน สามารถตวงให้ได้ปริมาณที่ต้องการแล้วนำมาผสมกับน้ำ เครื่องดื่มอื่นๆ อาหาร หรือรับประทานเลยก็ได้เช่น ยาอีโน/ยาลดกรด (ENO®) ชนิดบรรจุขวด
3. ยาเกลือฟู่ (Efferescents Salts) เป็นยาผงที่มีลักษณะเป็นแกรนูล หรือผงยาชนิดหยาบ เมื่อต้องการใช้จะต้องนำมาผสมน้ำให้เกิดฟองฟู่ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้วรับประ ทานขณะฟองเริ่มหายไป ฟองฟู่จะส่งผลให้ยามีรสชาติดีขึ้นกลบรสยาได้เช่น ยาอีโน (ENO®) ชนิดซอง
4. ยาผงโรยแผล (Dusting powders) เป็นยาผงขนาดเล็กละเอียดมาก ใช้โรยแผลที่ผิวหนัง ผงยามีคุณสมบัติในการดูดซับทำให้แผลที่มีหนองแห้งไวขึ้นเช่น ผงพิเศษตราร่มชูชีพ, ยาผงโยคี
5. ยาพ่น (Insufflations) เป็นยาผงขนาดเล็กมาก ใช้พ่นเข้าช่องต่างๆของร่ายกาย เช่น ช่องคอ, หู, จมูก เช่น ที่ใช้กับเครื่องพ่นยา (Insufflator) เช่น Amphetamine Insuffla tion
6. ยาผงแอโรโซล (Aerosols) เป็นยาผงขนาดเล็ก ถูกบรรจุในภาชนะอัดความดัน การพ่นแต่ละครั้งจะได้รับปริมาณยาเท่าๆกัน ส่วนใหญ่ใช้ในการรักษาโรคหืดหรืออาการผิดปกติของหลอดลมเช่น ยา Budesonide Aerosol
7. ยานัตถุ์ (Snuffs) เป็นยาผงเล็กละเอียด ใช้เป่าเข้าทางช่องจมูกโดยบรรจุผงยาลงในกล้องยานัตถุ์ ยาจะอยู่ที่ปลายท่อด้านหนึ่ง สอดท่อเข้ารูจมูกแล้วใช้ปากเป่าปลายท่ออีกด้านหนึ่งเพื่อให้ยาเข้าช่องจมูก ปัจจุบันไม่นิยมใช้ แต่ยังพบได้บ้าง มักใช้ในผู้สูงอายุเช่น ยานัตถุ์หมอมี
8. ยาผงสวนล้าง (Douche powders) เป็นยาผงที่ต้องนำไปละลายในน้ำอุ่นก่อนใช้ นำไปสวนล้างทำช่องต่างๆในร่างกายเช่น ช่องคลอด, จมูก เช่น Massengill powder packets
9. ยาแคปซูล (Capsules) เป็นยาเม็ดที่ตัวยาและส่วนประกอบต่างๆถูกบรรจุอยู่ในเปลือกแคปซูลซึ่งทำมาจากเจลาติน (Gelatin) แบ่งได้เป็น
9.1 ยาแคปซูลแข็ง (Hard gelatin capsule) เป็นรูปแบบที่นิยมใช้มากที่สุด ตัวยาเป็นผงบรรจุในแคปซูลเปลือกแข็ง ยาบางชนิดสามารถแกะเปลือกแคปซูลเพื่อทำเป็นยาเตรียมเฉพาะรายได้ (Extemporaneous preparation) เช่น ยา Doxycycline Capsule
9.2 ยาแคปซูลนิ่ม (Soft gelatin capsule) ตัวยาอาจเป็นของเหลว, สารละลาย, สารที่มีลักษณะเปียกเหมือนแป้งเปียกหรือผงแห้ง บรรจุอยู่ในแคปซูลเปลือกนิ่ม ยาแคปซูลชนิดนี้อาจมีรูปร่างแต่งต่างกันไปเช่น กลมหรือรี แคปซูลชนิดนี้ทำให้กลืนยาได้ง่ายขึ้นเช่น น้ำมันปลา (Fish oil Capsule)
10. ยาเม็ดชนิดตอกอัดครั้งเดียว (Compressed Tablets) เป็นยาเม็ดชนิดไม่เคลือบ ประกอบด้วยตัวยาและส่วนประกอบอื่นๆนำมาตอกอัดเป็นเม็ดเช่น ยา Acyclovir Tablet
11. ยาเม็ดชนิดตอกอัดหลายครั้ง (Multiple Compressed Tablets) เป็นยาเม็ดชนิดไม่เคลือบที่ถูกตอกอัดมากกว่าหนึ่งครั้ง ทำให้มองเห็นเม็ดยาเป็นชั้นๆโดยแต่ละชั้นอาจมีตัวยาต่างกัน สีต่างกัน ทำให้สังเกตได้ง่าย หรืออาจตอกแบบมีเม็ดยาอยู่ชั้นในและมีชั้นนอกเคลือบทับอยู่อีกชั้นหนึ่งเช่น Decolgen® Tablet
12. ยาเม็ดเคลือบน้ำตาล (Sugar-coated Tablets) เป็นยาเม็ดที่ถูกเคลือบด้วยน้ำ ตาลอีกหนึ่งชั้น ชั้นของน้ำตาลอาจมีสีหรือไม่มีก็ได้ สามารถช่วยกลบรสหรือกลิ่นของยาได้เช่น D-coate/ยาขับเสมหะ® Tablet
13. ยาเม็ดเคลือบฟิล์ม (Film-coated Tablets) เป็นยาเม็ดที่ถูกเคลือบด้วยชั้นพอลีเมอร์ (Polymer, สารสังเคราะห์ที่ทนทานจึงนำมาใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิด) บางๆดูคล้ายฟิล์ม เม็ดยาจะทนทานและขนาดเล็กกว่ายาเคลือบน้ำตาลเช่น ยา Atorvastatin Film-coated Tablet
14. ยาเม็ดชนิดแตกตัวในลำไส้ (Enteric-coated Tablets) เป็นยาที่ถูกเคลือบเพื่อ ให้ยาไม่ถูกเปลี่ยนแปลงโดยน้ำย่อยที่กระเพาะอาหาร แต่จะไปแตกตัวที่ลำไส้แทน รูปแบบนี้จะใช้กับยาที่ไม่ทนกรดในกระเพาะอาหารหรือยาที่ระคายเคืองกระเพาะอาหารเช่น ยา Voltaren® Enteric-coated Tablet
15. ยาเม็ดอมใต้ลิ้น (Buccal or Sublingual tablets) เป็นยาเม็ดขนาดเล็ก รูปร่างรี ใช้อมไว้ใต้กระพุ้งแก้มหรือใต้ลิ้น ทำให้ยาถูกดูดซึมและออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็วเช่น ยา Nitro glycerin Sublingual Tablet
16. ยาเม็ดเคี้ยว (Chewable Tablets) เป็นยาเม็ดที่ใช้เคี้ยวก่อนกลืน มีรสชาติดี และทำให้ยาออกฤทธิ์เร็วขึ้น อาจเป็นเม็ดยาขนาดใหญ่ที่ใช้สำหรับเด็กหรือผู้ป่วยที่กลืนยายากเช่น ยา Gas-X®/Simethicone Chewable Tablet
17. ยาเม็ดฟู่ (Effervescent Tablets) เป็นยาผงหรือยาแกรนูลที่เป็นเกลือฟู่แล้วนำ ไปตอกอัดเป็นเม็ด เมื่อผสมน้ำจะเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทำให้รู้สึกซ่า รสชาติดีขึ้นเช่น Alka-Seltzer®/ยาลดกรด Effervescent Tablet
18. ยาเม็ดออกฤทธิ์นาน (Extended-release tablets) เป็นรูปแบบยาที่สามารถออกฤทธิ์ได้นานกว่ารูปแบบยาทั่วไป จึงสามารถลดจำนวนครั้งในการให้ยาได้เช่น Pristiq®/ยาต้านเศร้า Extended-Release Tablet
19. ยาอม (Lozenges) แบ่งได้เป็น
19.1 ยาอมชนิดตอกอัด (Compressed Lozenges) ยาอมชนิดนี้จะใช้เครื่องตอกอัดที่มีแรงตอกมากกว่ายาเม็ดธรรมดา ทำให้ได้เม็ดที่แข็งกว่า ยาจึงละลายในปากช้าๆใช้เพื่อบรรเทาอาการไอหรือเจ็บคอเช่น Mybacin® Lozenge
19.2 ยาอมชนิดลูกกวาด (Hard candy Lozenges) ใช้เครื่องทำลูกกวาดในการทำยาอมชนิดนี้ ส่วนผสมของยามีความเข้มข้นมาก มีน้ำเชื่อมเป็นส่วนประกอบแต่ง สีและกลิ่นเช่น Strepsil® Lozenge
20. Lollipops เป็นยาอมที่มีลักษณะคล้ายอมยิ้ม โดยมียาติดอยู่บนแท่งพลาสติก ปัจจุ บันมีตัวยาที่ใช้บรรเทาอาการปวดในผู้ป่วยโรคมะเร็ง ยาในลักษณะนี้ต้องระมัดระวังเด็กนำไปใช้ เช่น Actiq® (Oral transmucosal Fentanyl Citrate)
21. ยาลูกกลอน (Pills) เป็นยาเม็ดขนาดเล็ก รูปร่างกลม ใช้เป็นยารับประทานเท่านั้น ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้ เพราะมียาเม็ดและแคปซูลเข้ามาแทนเช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด (Birth Con trol Pill) บางชนิด
22. ยาเหน็บ (Suppositories) เป็นยาที่ใช้เหน็บหรือสอดเข้าช่องต่างๆของร่างกาย เช่น ทวารหนัก ช่องคลอด หรือท่อปัสสาวะ โดยหลังจากสอดแล้วยาจะละลายภายหลัง ให้ผล การรักษาเฉพาะที่หรือดูดซึมให้ผลทั่วร่างกายก็ได้แบ่งออกเป็น
22.1 ยาเหน็บทวาร (Rectal Suppositories) ความยาวประมาณ 1.5 นิ้ว เม็ดยารูปร่างเป็นทรงกระบอก ปลายด้านหนึ่งเรียวแหลมคล้ายกระสุน สอดด้านเรียวแหลมเข้าไปแล้วใช้นิ้วดันอีกด้านหนึ่งเช่น Paracetamol Suppository
22.2 ยาเหน็บช่องคลอด (Vaginal Suppositories or Pessaries) เป็นยาเม็ดตอก อัด อาจมีอุปกรณ์ช่วยสอด (Applicator) ก่อนใช้ให้จุ่มเม็ดยาในน้ำประมาณ 1 - 2 วินาทีเพื่อลดการระคายเคืองเช่น Clotrimazole Vaginal Tablet
ยาเตรียมรูปแบบกึ่งของแข็งมีอะไรบ้าง?
ยาเตรียมรูปแบบกึ่งของแข็ง (Semisolid Dosage Forms) ได้แก่
1. ยาขี้ผึ้ง (Ointments) เป็นผลิตภัณฑ์กึ่งแข็งใช้ทาผิวหนังหรือเยื่อเมือก ลักษณะค่อนข้างหนืดและเป็นมัน อาจมีตัวยาหรือไม่มีตัวยาก็ได้ ใช้เพื่อหล่อลื่นหรือให้ความชุ่มชื้นเช่น ยาหม่อง
2. ยาครีม (Creams) เป็นยาครีมที่มีลักษณะเป็นอิมัลชัน (Emulsion, ของสองชนิดที่ไม่ละลายเข้ากัน) ไม่เหนียวเหนอะหนะและมีความมันน้อยกว่ายาขี้ผึ้ง ใช้ทาผิวหนัง เยื่อเมือก รวมถึงทวารหนักและช่องคลอดเช่น ยาTriamcinolone Cream
3. ยาเจลลี (Jellies) หรืออาจเรียกว่ายาเจล (Gels) เป็นตัวยาที่กระจายตัวอยู่ในของ เหลวและทำให้เกิดเป็นเจลโดยใส่สารก่อเจล (Gelling agent) เข้าไป ยาเจลจะไม่เหนียวเหนอะ หนะ ไม่มัน ใช้เป็นยาทาผิวหนัง ตา จมูก ช่องคลอดและทวารหนักเช่น ยา Diclofenac Gel
4. ยาพลาสเตอร์ (Plasters) เป็นยากึ่งแข็งหรือของแข็งที่ทาบนกระดาษหรือพลาสติก นำมาแปะบนผิวหนังเพื่อให้ผิวหนังได้รับยานานขึ้น บางชนิดสามารถตัดให้มีขนาดตามต้องการได้เช่น Corn Removal Plaster (ยารักษาโรคตาปลา)
5. ยาเพสต์ (Pastes) เป็นยากึ่งแข็งที่มีผงยามาก เกาะติดผิวหนังและดูดซับของเหลว ได้ดี ตัวยาค่อนข้างเหนียวจึงไม่เหมาะกับการทาผิวหนังบริเวณที่มีขนเช่น ยาป้ายปาก Triamci nolone Oral Paste
ยาเตรียมรูปแบบของเหลวมีอะไรบ้าง?
ยาเตรียมรูปแบบของเหลว (Liquid Dosage Forms) ได้แก่
1. ยาน้ำสารละลาย (Solution) ได้แก่
1.1 ยาน้ำใส (Solutions) เป็นยาที่ตัวยาผสมเป็นเนื้อเดียวกันกับตัวทำละลาย มีลักษณะ ใส ไม่มีตะกอนเช่น ยา Theophylline Oral Solution
1.2 ยาน้ำเชื่อม (Syrups) เป็นยาน้ำที่ประกอบด้วยน้ำตาลหรือสารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีรสชาติดีเพื่อกลบรสของยา อาจมีหรือไม่มีสารแต่งกลิ่นก็ได้เช่น ยา Guaifenesine Syrup
1.3 ยาอิลิกเซอร์ (Elixirs) เป็นยาน้ำใส รสหวาน มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์เพื่อช่วย ให้ตัวยาละลาย มีกลิ่นหอมและแต่งสีเพื่อให้น่ารับประทานยิ่งขึ้นเช่น ยา Phenobar bital Elixir
1.4 ยาทิงเจอร์ (Tinctures) เป็นสารละลายแอลกอฮอล์ที่สกัดจากพืชหรือสารเคมีต่างๆ ส่วนใหญ่ต้องบรรจุในภาชนะกันแสงเพื่อป้องกันยาเสื่อมคุณภาพเช่น Opium Tinc ture
1.5 น้ำปรุง (Aromatic Waters) เป็นสารละลายใสที่อิ่มตัวด้วยน้ำมันระเหยง่าย (Volatile oil) หรือสารหอมระเหย ใช้เป็นน้ำหอมหรือเป็นสารแต่งกลิ่นเช่น Peppermint oil
1.6 ยาสปิริต (Spirits) เป็นสารละลายของสารระเหย (Volatile Substance) ในแอลกอ ฮอล์ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์มากกว่า 60% ใช้เป็นสารแต่งกลิ่น ยารับประทาน ยาทาภายนอก หรือใช้สูดดมเช่น Aromatic Ammonia Spirit
1.7 ยาทาถูนวด (Liniments) เป็นยาที่อาจเป็นสารละลายแอลกอฮอล์หรือสารละลายที่มีน้ำมันเป็นส่วนประกอบ ใช้ถูนวดผิวหนังทำให้ผิวร้อนแดงแก้ปวดเช่น ยา Methyl Salicylate Liniment
1.8 ยากัด (Collodions) เป็นยาใช้ภายนอก เมื่อทาที่ผิวหนังแล้วจะเกิดเป็นฟิล์ม ตัวยาสามารถทำให้ผิวหนังหลุดลอกออกได้จึงใช้ทาหูดหรือตาปลาเช่น Salicylic Acid Collodion
1.9 ยาสกัด (Extracts) เป็นยาที่สกัดได้จากพืชหรือสัตว์แล้วระเหยตัวทำละลายออก ไป ยามีความเข้มข้นสูง จึงต้องแบ่งใช้ในปริมาณที่ต้องการ เตรียมได้หลายรูปแบบทั้งของแข็ง กึ่งของแข็ง และผง เช่น สมุนไพร Grape seed extract
1.10 ยาสกัดไหลเหลว (Fluid extracts) เป็นยาสกัดรูปแบบของเหลว สกัดมาจากพืชโดย มีแอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลาย มีความเข้มข้นสูง รสชาติขม จึงต้องแต่งรสก่อนนำไป ใช้ หรืออาจนำไปเป็นส่วนประกอบของยาน้ำเชื่อมเช่น สมุนไพร Glycyrrhiza fluid extract
1.11 ยาน้ำสวนทวาร (Enemas) เป็นสารละลายใส ใช้สวนเข้าทางทวารหนัก มักอยู่ในภาชนะที่มีลูกยางบีบเพื่อให้ใช้งานได้สะดวกเช่น Glycerin Enema
1.12 ยาฉีด (Injections) เป็นสารละลายปราศจากเชื้อใช้ฉีดเข้าตำแหน่งต่างๆของร่าง กายเช่น เส้นเลือดดำ กล้ามเนื้อ ใต้ผิวหนัง ข้อ เช่น ยา Digoxin Injection
2. ยาน้ำกระจายตัว (Dispersion) ได้แก่
2.1 ยาน้ำแขวนตะกอน (Suspensions) เป็นยาน้ำที่ผงยาไม่ละลายและกระจายตัวกัน หยาบๆ มีทั้งอยู่ในรูปแบบใช้ได้ทันทีหรือต้องเติมตัวทำละลายก่อนนำไปใช้ ต้องเขย่าขวดก่อนใช้ยาเช่น ยา Amoxicillin Suspension
2.2 ยาอิมัลชัน (Emulsions) เป็นยาเตรียมที่ประกอบด้วยของเหลว 2 ชนิดที่ไม่ผสมเป็นเนื้อเดียวกันเช่น น้ำมันกับน้ำ ยาอิมัลชันอยู่ทั้งในรูปแบบยารับประทาน ยาฉีด และยาใช้ภายนอกเช่น Fish Oil Emulsion
2.3 ยาเจล (Gels) เป็นยาเตรียมรูปแบบของเหลวที่อนุภาคของตัวยามีขนาดเล็กและสามารถดูดน้ำได้ เมื่อตั้งทิ้งไว้นานๆยาจะมีลักษณะเหมือนเจลเช่น ยา Aluminium hydroxide Gel
2.4 ยาแมกมา (Magmas หรือ Milks) เป็นยาเตรียมที่อนุภาคของตัวยามีขนาดใหญ่ ตัวยากระจายตัวได้ดีและเหนียวข้นมาก มักใช้เป็นยาพอกผิวหนังเช่น Bentonite Magma/ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
ยาเตรียมรูปแบบอื่นๆได้แก่อะไรบ้าง?
ยาเตรียมรูปแบบอื่นๆ (Miscellaneous Dosage Forms) เช่น ยาที่มีระบบนำส่งยาผ่านทางผิวหนัง (Transdermal drug delivery systems, TDDs) ที่เป็นแผ่นแปะ ลักษณะของแผ่นแปะจะมีรูปร่างแตกต่างกันไปเช่น กลมหรือเป็นสี่เหลี่ยม มีขนาดแตก ต่างกันขึ้นกับขนาดของตัวยา ยาจะถูกดูดซึมผ่านทางผิวหนังเข้าไปทั่วร่างกาย มีข้อดีคือ ระดับยาในเลือดที่ไม่ต้องให้ยาบ่อย, เหมาะกับคนที่ได้รับยาทางปากไม่ได้, ยาไม่ผ่านทางเดินอาหารจึงไม่เกิดปฏิกิริยากับอาหาร เครื่องดื่ม หรือยาอื่นๆที่รับประทานเข้าไป ตัวอย่างเช่น Nicotine Transdermal System Patches/ยาใช้เลิกบุหรี่
บรรณานุกรม
- Allen, L.V., Popovich, N.G. and Ansel, H.C. Ansel’s Pharmaceutical Dosage Forms And Drug Delivery Systems. 9th ed. PA, USA. Lippincott Williams & Wilkins, 2011.
- สุชาดา ชุติมาวรพันธ์. (2555). รูปแบบเภสัชภัณฑ์ (Pharmaceutical Dosage Forms). เอกสารประกอบการสอนวิชาเภสัชกรรมและเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- จรีรัตน์ เอี่ยมสะอาด. รูปแบบยาเตรียม http://vet.kku.ac.th/vetpharmaco/document/pharmacy/%C3%D9%BB%E1%BA%BA%C2%D2%E0%B5%C3%D5%C2%C1.pdf [2015,Aug1]