ยาแผนโบราณ (Traditional Drug)
- โดย ภก. กรชัย ฉันทจิรธรรม
- 6 กันยายน 2557
- Tweet
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- ยาอันตราย (Dangerous drug)
- ยาไม่อันตราย หรือ ยาทั่วไป (Non dangerous drug)
- ยาใช้ภายนอก (External Use drug)
- ยาควบคุมพิเศษ (Controlled substance drug)
- ยาเสพติด (Narcotic drug)
- วัตถุออกฤทธิ์ (Psychotropic substances)
- บัญชียาหลักแห่งชาติ (National Essential Medicine)
ยาแผนโบราณ หรือ ยาพื้นบ้าน, ยาสมุนไพร, ยาผีบอก (Traditional drug) หมายถึง ยาที่มุ่ง หมายสําหรับใช้ในการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ หรือการบําบัดโรคสัตว ซึ่งอยูในตําราแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศ หรือยาที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาแผนโบราณ หรือยาที่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนตํารับยาเป็นแผนโบราณ หรือคือการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ โดยอาศัยความรู้จากตําราหรือการเรียนสืบต่อกันมา อันมิใชการศึกษาตามหลักวิทยาศาสตร์
ประเทศไทยห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตผลิตยา ขาย หรือนำเข้ายาแผนโบราณ นอกสถานที่ที่ได้กำหนดไว้ในใบอนุญาต เว้นแต่เป็นการขายส่งตรงต่อผู้รับอนุญาตขายยาแผนโบราณ
รูปแบบของยาแผนโบราณ
ยาแผนโบราณ เป็นการนำเอาสมุนไพร (จากพฤกษชาติ สัตว์ หรือแร่) มาผสม ปรุง หรือแปรสภาพ สมุนไพรที่ถูกแปรรูปเป็นยาแผนโบราณจะมีทั้งที่อยู่ในรูปยาน้ำ ยาเม็ด หรือแคปซูล ที่เห็นกันเจนตาคือ อยู่ในรูปของยาลูกกลอนและยาผง
ประเภทของยาแผนโบราณ
ประเภทของยาแผนโบราณ ได้แก่
ก. ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ ได้แก่ ตำรับยาแผนโบราณที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศว่าเป็นยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ ซึ่งจะมี ชื่อ ส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน คำเตือน และขนาดบรรจุ เช่น ยาประสะกระเพรา ยาวิสัมพยาใหญ่ ยาแสงหมึก ยาประสะกานพลู ฯลฯ
ข. ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ ได้แก่ ตำรับยาแผนไทยและสมุนไพรที่มีการพัฒนาที่ทางคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ ได้คัดเลือกยาแผนไทยและสมุนไพรที่มีข้อมูลการใช้ หรือมีข้อมูลงานวิจัยสนับสนุน ได้แก่ ยาประสะมะแว้ง ยาแก้ไข้ (ยาห้าราก) ยาประสะไพล ขมิ้นชัน ชุมเห็ดเทศ ฟ้าทะลายโจร พญายอ และไพล
ค. ยาสมุนไพรที่ไม่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ได้แก่ สมุนไพรที่มีการวิจัยแล้วว่าให้ผลในการรักษาและมีความปลอดภัย พร้อมที่จะพัฒนาไปเป็นแผนโบราณ
ปัญหายาแผนโบราณที่พบในปัจจุบัน
แม้ว่าจะมีกฎหมายและหน่วยงานที่คอยควบคุมการผลิตและการขายยาแผนโบราณเพื่อคุ้มครองให้ผู้บริโภคปลอดภัยจากการใช้ยาแผนโบราณ แต่ก็ไม่สามารถที่จะขจัดปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นการลักลอบผลิตและขายยาแผนโบราณโดยไม่ได้ขออนุญาตผลิตและขายจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด การขายยาแผนโบราณที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนหรือยาปลอม
อันตรายจากการรับประทานยาแผนโบราณที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนหรือยาปลอม
ในปัจจุบันพบว่า มียาแผนโบราณที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนหรือยาปลอม ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ เช่น มีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค หรือการนำสารเคมีที่ไม่ปลอดภัยต่อผู้บริ โภคมาใส่ในยาแผนโบราณ เช่น
- เมธิลแอลกฮอล์ (Methyl-alcohol) ใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมทำเฟอร์นิเจอร์เช่น สีทาไม้, น้ำมันเคลือบเงา ฯลฯ
- คลอโรฟอร์ม (Chloroform) ใช้เป็นตัวทำละลายสารโพลีคาร์บอเนตและอื่นๆ
- การใส่ยาแก้ปวดแผนปัจจุบัน เช่น อินโดเมทาซิน (Indomethazine) หรือแม้แต่การนำยาเฟนิลบิวตาโซน (Phenylbutazone) ซึ่งทั้ง 2 ชนิดเป็นยาแก้ปวด แต่ระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร
- และสเตียรอยด์ซึ่งเป็นยาควบคุมพิเศษซึ่งมีผลข้างเคียงสูง ผสมลงในยาแผนโบราณเพื่อให้เกิดผลในการรักษาที่รวดเร็ว แต่จะทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคคือทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และ โรคกระเพาะอาหารอักเสบได้ เป็นต้น
วิธีเลือกซื้อยาแผนโบราณ
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยาแผนโบราณ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้แนะนำวิธีการเลือกซื้อยาแผนโบราณ ดังนี้
- ควรซื้อยาแผนโบราณจากร้านขายยาที่มีใบอนุญาตและที่มีเลขทะเบียนตำรับยา
- ไม่ควรซื้อยาแผนโบราณจากรถเร่ขาย เพราะอาจได้รับยาที่ผลิตขึ้นโดยผู้ผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งอาจมีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในระหว่างการผลิต อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริ โภคได้
- ก่อนซื้อยาแผนโบราณ ควรตรวจดูฉลากยาทุกครั้งว่า มีข้อความดังกล่าวนี้หรือไม่
- ชื่อยา
- เลขที่หรือรหัสใบสำคัญการขึ้นทะเบียนยา
- ปริมาณของยาที่บรรจุ
- เลขที่หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิต
- ชื่อผู้ผลิตและจังหวัดที่ตั้งสถานที่ผลิตยา
- วัน เดือน ปี ที่ผลิตยา
- มีคำว่า "ยาแผนโบราณ" ให้เห็นได้ชัดเจน
- มีคำว่า "ยาใช้ภายนอก" หรือ "ยาใช้เฉพาะที่" แล้วแต่กรณีด้วยอักษรสีแดงเห็นได้ชัดเจน ในกรณีเป็นยาใช้ภายนอก หรือยาใช้เฉพาะที่
- มีคำว่า "ยาสามัญประจำบ้าน" ในกรณีเป็นยาสามัญประจำบ้าน
- คำว่า "ยาสำหรับสัตว์" ในกรณีเป็นยาสำหรับสัตว์
วิธีสังเกตเลขทะเบียนตำรับยาแผนโบราณ
วิธีสังเกตเลขทะเบียนตำรับยาแผนโบราณมีดังนี้
- หากเป็นยาแผนโบราณที่ผลิตในประเทศ จะขึ้นต้นด้วยอักษร G ตามด้วยเลขลำดับที่อนุญาต/ปี พ.ศ. เช่นเลขทะเบียน G20/42
- หากเป็นยาแผนโบราณที่นำเข้าจากต่างประเทศ จะขึ้นต้นด้วยอักษร K ตามด้วยเลขลำดับ ที่อนุญาต/ปี พ.ศ. เช่น เลขทะเบียน K15/42
**** หมายเหตุ:
- G และ K เป็นการกำหนดตัวอักษรใช้เพื่อสะดวก เพื่อแทนความหมายต่างๆในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับยา ตั้งแต่ A เรื่อยมา
- ซึ่ง G หมายถึง ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนโบราณสำหรับมนุษย์ ผลิตในประเทศ
- และ K หมายถึง ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนโบราณสำหรับมนุษย์ ที่เป็นยานำเข้า
ข้อบ่งใช้ยาแผนโบราณ
ยาแผนโบราณนั้นสามารถใช้รักษาโรคทั่วไปที่ไม่ร้ายแรง เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ร้อนใน ฯลฯ และการรักษาอาการพื้นฐานที่ไม่รุนแรง ไม่เรื้อรัง เช่น ท้องเสีย/ท้องร่วง ปวดหัว/ปวดศีรษะ ตัวร้อน /เป็นไข้ ผื่นคัน เป็นต้น
ข้อห้ามการใช้ยาแผนโบราณ
ถ้าผู้ป่วยที่มีอาการโรคเหล่านี้ ไม่ควรรักษาโรคด้วยยาแผนโบราณ ได้แก่
- ไข้สูง (ตัวร้อนจัด), ตาแดง, ปวดเมื่อยมาก, ซึม, และเพ้อ
- ตัวเหลือง, อ่อนเพลียมาก, และอาเจียน
- ปวดท้องอย่างแรงบริเวณสะดือหรือบริเวณท้องด้านขวาล่าง เวลาเอามือกดเจ็บปวดมากขึ้น หน้าท้องแข็ง อาจมีอาการท้องผูก และมีไข้ร่วมด้วย ซึ่งเป็นอาการของไส้ติ่งอักเสบ
- ปวดท้องรุนแรงมาก อาจร่วมกับอาการตัวร้อน และคลื่นไส้ อาเจียน เพราะอาจเป็นอาการของกระเพาะอาหารหรือลำไส้ทะลุ
- อาเจียนเป็นเลือดหรือไอเป็นเลือด เพราะอาจเป็นโรคร้ายแรงของกระเพาะอาหารหรือของปอด
- ท้องเดินอย่างแรง อุจจาระเป็นน้ำ และอาจมีลักษณะคล้ายน้ำซาวข้าว ถ่ายติดต่อกันตลอด เวลา อ่อนเพลียมาก ตาลึก ผิวหนังแห้ง ซึ่งอาจเป็นอาการของอหิวาตกโรค
- ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด/เป็นมูกเลือด อุจจาระเป็นน้ำ ถ่ายบ่อยมาก อาจถ่ายถึง 10 ครั้งต่อชั่ว โมง เพลียมาก เพราะอาจเป็นโรคบิด
- อาการของโรคคอตีบในเด็ก โดยเฉพาะอายุไม่เกิน 12 ปี มีไข้สูง ไอมาก หายใจมีเสียงผิด ปกติคล้ายมีอะไรติดในลำคอ หรือมีอาการหน้าเขียวคล้ำ
- มีอาการตกเลือดเป็นเลือดสดๆจากอวัยวะใดก็ตามโดยเฉพาะทางช่องคลอด ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
ข้อแนะนำการใช้ยาแผนโบราณ
ข้อแนะนำการใช้ยาแผนโบราณได้แก่
- เด็ก: ใช้ได้ในอาการที่ไม่รุนแรง เช่น ยากวาดคอ, ยาหอม, ยาแก้ท้องอืด, ท้องเฟ้อ หรือยาแก้ร้อนใน เป็นต้น
- หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร: ไม่แนะนำให้ใช้ยาแผนโบราณ
- ห้ามใช้ร่วมกับยาเคมีบำบัดในการรักษาโรคมะเร็ง
- ไม่แนะนำให้ใช้ยาแผนโบราณ ถ้ากำลังรักษาด้วยยาแผนปัจจุบัน
- ถ้าใช้ยาแผนโบราณแล้ว อาการไม่ดีขึ้นหรือมีผลข้างเคียงเกิดกับผู้ใช้ ควรไปโรงพยาบาลปรึกษาแพทย์แผนปัจจุบัน
แหล่งข้อมูล
1. http://thaiherbmedicine.wordpress.com/คลังข้อมูล/ยาแผนโบราณ/ความหมายของยาแผนโบราณ/ [2014,Aug9]
2. http://arts.kmutt.ac.th/ssc210/Group%20Project/ASSC210/healt%20at%20kmutt/homepage/medicine.html [2014,Aug9]
3. http://www.dek-d.com/board/view/572437/ [2014,Aug8]
4. http://www.pharmacy.cmu.ac.th/web2553/n45.php [2014,Aug9]
5. http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=7fe91131aec77346 [2014,Aug9]
6. http://www.tistr.or.th/tistrblog/?p=909 [2014,Aug9]