ยาหม่อง (Balsum)
- โดย ภก. กรชัย ฉันทจิรธรรม
- 29 มีนาคม 2557
- Tweet
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- ผึ้ง ต่อ มด กัดต่อย: การปฐมพยาบาล การรักษาและการป้องกัน (Bee, Wasp, Hornet, and Ant stings)
ยาหม่อง จัดเป็นยาสามัญประจำบ้านที่มีการใช้กันมาเป็นเวลานาน จนทำให้บางคนถึงกับต้องมียาหม่องติดตัวอยู่ตลอดเวลา จนกลายเป็นยาสามัญประจำตัวไป ซึ่งอาจช่วยให้ลดการพึ่งพิงยากินลงไปได้
ยาหม่องที่มีอยู่ในท้องตลาด มีอยู่หลายยี่ห้อ หลายรูปแบบ ทั้งชนิดที่เป็น “ขี้ผึ้ง และชนิดน้ำ” ซึ่งส่วนประกอบในแต่ละยี่ห้อหรือแต่ละรูปแบบก็จะแตกต่างกันออกไป แต่ส่วนใหญ่แล้ว ส่วน ประกอบในยาหม่อง มักจะเป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหย (Volatile oil) เช่น เมน ทัล (Menthol), การบูร, อบเชย, สะระแหน่ เป็นต้น และนอกจากนี้ยาหม่องบางสูตรอาจมีตัวยา Methyl salicylate (ยาคลายกล้ามเนื้อชนิดหนึ่ง) ผสมอยู่ เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยอีกด้วย
**ข้อบ่งใช้
ยาหม่อง มีคุณสมบัติ ใช้บรรเทาอาการ วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แมลงสัตว์กัดต่อย
**ข้อควรระวัง
ข้อมูล จากการศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้ยาหม่องเป็นระยะเวลานานนั้น ยังไม่มีปรากฏ แต่มีข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของสารที่เป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่ของยาหม่อง(ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น) ว่า อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุจมูกได้ และสารบางชนิด เช่น Menthol พบข้อมูลว่า หากสูดดมมากเกินไป (ไม่ได้ระบุไว้ว่ามากแค่ไหน) อาจทำให้เกิดอาการ มึนงง สับสน มองเห็นภาพซ้อน และกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้
อนึ่ง การใช้ยาหม่องใน เด็กอ่อน เด็กเล็ก และผู้หญิงตั้งครรภ์ รวมทั้งคนทั่วไป เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ และลดความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงและความเป็นพิษ
ควรใช้ยาหม่องเมื่อจำเป็นเท่านั้น ไม่ใช้สูดดมต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน และเมื่อมีอาการผิด ปกติหลังการใช้ยาหม่อง ควรเลิกใช้ทันที และรีบปรึกษาแพทย์
บรรณานุกรม
- http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/qa_full.php?id=1726 [2014,March10].