ยาคลินดามัยซิน (Clindamycin)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 28 ธันวาคม 2562
- Tweet
- บทนำ
- ยาคลินดามัยซินมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- ยาคลินดามัยซินมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- ยาคลินดามัยซินมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- ยาคลินดามัยซินมีขนาดรับประทานอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
- ยาคลินดามัยซินมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้ยาคลินดามัยซินอย่างไร?
- ยาคลินดามัยซินมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษายาคลินดามัยซินอย่างไร?
- ยาคลินดามัยซินมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- แบคทีเรีย: โรคจากแบคทีเรีย (Bacterial infection)
- ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics)
- ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis/Septicemia)
- การดูแลเท้าในโรคเบาหวาน (Diabetic foot care)
- การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน (Pelvic inflammatory disease)
- ยาอิริโทรมัยซิน (Erythromycin)
- ไข้รูมาติก (Rheumatic fever)
บทนำ
คลินดามัยซิน (Clindamycin) เป็นยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Anaerobic bacteria รวมถึงต่อต้านเชื้อโปรโตซัว (Protozoa) บางชนิด เช่น เชื้อมาลาเรีย ผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดไม่ใช่มีแต่รูปแบบของยารับประทาน คลินดามัยซินยังถูกนำมาผลิตเป็นรูปแบบของ โลชั่นและเจล ทาแก้สิวอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียอีกด้วย
สำหรับการกระจายตัวของยาคลินดามัยซิน เมื่อเข้าสู่ร่างกายพบว่า ปริมาณประมาณ 95% ของตัวยาจะจับกับโปรตีนในกระแสเลือด และถูกส่งไปเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมีที่อวัยวะตับ ร่าง กายจะใช้เวลาประมาณ 2 - 3 ชั่วโมงในการกำจัดยาออกจากกระแสเลือด 50% โดยผ่านไปกับอุจจาระและปัสสาวะ
กระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทยได้บรรจุยาคลินดามัยซินลงในบัญชียาหลักแห่งชาติ ทำให้เราสามารถพบเห็นยาคลินดามัยซินมีใช้กันในหลายสถานพยาบาล
ยาคลินดามัยซินจัดอยู่ในหมวดของยาอันตราย มีข้อห้ามใช้และผลข้างเคียงแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ดังนั้นการใช้ยาจึงต้องอยู่ภายใต้คำสั่งแพทย์เท่านั้น
ยาคลินดามัยซินมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
ยาคลินดามัยซินมีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้ เช่น
- ใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบนไปจนถึงส่วนล่าง อันมีสา เหตุจากเชื้อแบคทีเรีย Streptococci, Pneumococci, Staphylococci
- ป้องกันโรคไข้รูมาติก (Rheumatic fever) จากเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Streptococci แต่ปัจจุบันพบว่าเริ่มด้อยประสิทธิภาพลง
- รักษาการติดเชื้อที่ผิวหนังอันมีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย Staphylococci
- รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียที่ปอด การติดเชื้อฯที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวาน รวมถึงการติดเชื้อในกระแสเลือด (ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ) การติดเชื้อที่กระดูกและข้อต่อ อันมีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Anaerobic bacteria
- ใช้ป้องกันการติดเชื้อฯในระหว่างกระบวนการผ่าตัด
- รักษาการติดเชื้อฯของอวัยวะในช่องท้อง การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน การติดเชื้อฯที่ระบบ อวัยวะสืบพันธุ์
ยาคลินดามัยซินมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
ยาคลินดามัยซินมีกลไกการออกฤทธิ์ โดยยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนในระดับพันธุกรรมของแบคทีเรีย (Inhibiting ribosomal translocation) ทำให้หยุดการเจริญเติบโตของเชื้อแบค ทีเรีย
ยาคลินดามัยซินมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยาคลินดามัยซินมีรูปแบบการจัดจำหน่าย เช่น
- รูปแบบยาแคปซูล ขนาด 150 และ 300 มิลลิกรัม/แคปซูล
- รูปแบบยาฉีด ขนาด 150 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร
- รูปแบบ ยาเจล รักษาสิว ขนาดความแรง 1%
- รูปแบบ โลชั่น รักษาสิว ขนาดความแรง 1%
ยาคลินดามัยซินมีขนาดรับประทานอย่างไร?
ยาคลินดามัยซินมีขนาดรับประทาน เช่น
ก. ผู้ใหญ่:
- สำหรับการติดเชื้อที่มีความรุนแรงน้อยไปจนกระทั่งมีความรุนแรงปานกลาง: รับประทานครั้งละ 150 - 300 มิลลิกรัม ทุก 6 ชั่วโมง
- สำหรับการติดเชื้อที่มีความรุนแรงมาก: รับประทาน 300 - 450 มิลลิกรัม ทุก 6 ชั่ว โมง
ข.เด็ก:
- สำหรับการติดเชื้อระดับความรุนแรงน้อยไปจนกระทั่งมีความรุนแรงปานกลาง: คำนวณขนาดรับประทานจากน้ำหนักตัวเด็ก โดยรับประทาน 8 - 16 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโล กรัม/วัน โดยแบ่งรับประทานวันละ 3 - 4 ครั้ง
- สำหรับการติดเชื้อที่มีความรุนแรงมาก: คำนวณจากน้ำหนักตัวเด็ก โดยรับประทาน 16 - 20 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน โดยแบ่งรับประทานวันละ 3 - 4 ครั้ง
ค.สำหรับรักษาการติดเชื้อที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวาน: รับประทานครั้งละ 300 มิลลิ กรัม วันละ 3 - 4 ครั้ง เป็นเวลา 7 - 14 วัน
อนึ่ง:
- ในกรณีที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม B-hemolytic streptococcus ผู้ป่วยควรต้องได้รับยานี้ต่อเนื่องอย่างน้อย 10 วัน
- สามารถรับประทานยานี้ ก่อน หรือ หลังอาหารก็ได้
*****หมายเหตุ: ขนาดยา และระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้ เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ผู้รักษาได้ การใช้ยาที่เหมาะสม ควรต้องปรึกษา แพทย์ หรือเภสัชกร ก่อนเสมอ
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาคลินดามัยซิน ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกร ดังนี้
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยา/ใช้ยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก
- มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยา หรืออาหารเสริมอะไรอยู่ เพราะยาคลินดามัยซิน อาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆ และ/หรืออาหารเสริมที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อน
- หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์/มีครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรก และเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานยาคลินดามัยซิน สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับ การรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า
ยาคลินดามัยซินมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
ยาคลินดามัยซินสามารถก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์จากยา (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) เช่น
- ปวดท้อง
- ท้องเสีย
- คลื่นไส้ อาเจียน
- มีผื่นขึ้น ลมพิษ
- อาจพบภาวะตับทำงานผิดปกติ
- เม็ดเลือดขาวต่ำ เป็นต้น
มีข้อควรระวังการใช้ยาคลินดามัยซินอย่างไร?
มีข้อควรระวังการใช้ยาคลินดามัยซิน เช่น
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่แพ้ยา คลินดามัยซิน หรือมีประวัติแพ้ยา ลินโคมัยซิน
- สำหรับผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาคลินดามัยซินติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ ควรได้รับการตรวจ การทำงานของอวัยวะไตและตับว่ามีความผิดปกติใดๆหรือไม่
- การใช้ยานี้อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อโรคชนิดอื่นที่ไม่ได้ตอบสนองต่อคลินดามัยซิน เช่น ยีสต์ (Yeast: เชื้อราประเภทหนึ่ง) เป็นต้น
- ระวังการใช้ยานี้กับหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และในเด็ก โดยแพทย์เท่านั้นที่จะเป็นผู้พิจารณาการใช้ยากับบุคคลกลุ่มดังกล่าว ว่าปลอดภัยหรือเหมาะสมเพียงใด
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วย โรคตับ โรคไต ในระยะที่โรครุนแรง
- ควรเฝ้าระวังระหว่างการใช้ยานี้ว่า ผู้ป่วยมีอาการของภาวะลำไส้อักเสบจากการแพร่กระ จายของเชื้อแบคทีเรีย Clostidium diffcile ในกระเพาะอาหาร - ลำไส้ (อาการเช่น ท้องเสียเป็นน้ำ มีไข้ อาจมีอุจจาระเป็นเลือด) หลังการใช้ยาคลินดามัยซินหรือไม่ ถ้าสงสัยว่าเกิดการติดเชื้อนี้ซ้ำซ้อน ต้องรีบกลับไปพบแพทย์/ไปโรงพยาบาล
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
- ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยาคลินดามัยซินด้วย) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้ง ควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
ยาคลินดามัยซินมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ยาคลินดามัยซินมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น เช่น
- การใช้ยาคลินดามัยซินร่วมกับยาเม็ดคุมกำเนิด เช่น Ethinyl estradiol สามารถเกิดความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ได้ หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกันควรต้องใช้วิธีคุมกำเนิดแบบอื่นร่วมด้วย เช่น การใช้ถุงยางอนามัยชาย
- การใช้ยาคลินดามัยซินร่วมกับ ยาลดความดัน และรักษาภาวะเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ เช่นยา Verapamil อาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียง (ผลข้างเคียง) ของยา Verapamil มากขึ้น หากมีความจำเป็นต้องใช้ร่วมกัน แพทย์จะเป็นผู้ปรับขนาดการรับประทานให้ผู้ป่วย
- การใช้ยาคลินดามัยซินร่วมกับยาปฏิชีวนะบางตัว เช่น Erythromycin อาจส่งผลให้ประ สิทธิภาพในการรักษาของยาปฏิชีวนะของทั้ง 2 ตัวลดลง แพทย์จึงต้องปรับขนาดรับประทานเพื่อความเหมาะสมต่อการรักษา
- การใช้ยาคลินดามัยซินร่วมกับยาที่มีฤทธิ์ในการดูดซับพิษในกระเพาะลำไส้ เช่น Kaolin อาจทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาของคลินดามัยซินต่ำลง หากมีความจำเป็นต้องใช้ร่วมกัน แพทย์จะปรับขนาดรับประทานให้เหมาะสม
ควรเก็บรักษายาคลินดามัยซินอย่างไร?
ควรเก็บรักษายาคลินดามัยซิน เช่น
- สามารถเก็บยาคลินดามัยซินระหว่างอุณหภูมิ 20 - 25 องศาเซลเซียส (Celsius)
- เก็บยา ให้พ้นแสง/แสงแดดและความชื้น
- เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
- และไม่ควรเก็บยาในห้องน้ำ
ยาคลินดามัยซินมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยาคลินดามัยซิน มียาชื้อการค้าอื่น และบริษัทผู้ผลิต เช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Acnegon (แอคนีกอน) | Zyg Pharma |
Acnocin (แอคโนซิน) | Community Pharm PCL |
Cedelin (ซีเดลิน) | Patar Lab |
Chinacin-T (ไชนาซิน-ที) | Chinta |
Chinacin-T gel (ไชนาซิน-ที เจล) | Chinta |
Clinda GPO (คลินดา จีพีโอ) | GPO |
Clindacne (คลินแดคเน) | Medicpharma |
Clindalin (คลินดาลิน) | Union Drug |
Clindaman Gel (คลินดาแมน เจล) | T. Man Pharma |
Clinda-VC (คลินดา-วีซี) | Vesco Pharma |
Clindavid (คลินดาวิด) | Millimed |
Clinott (คลินอท) | MacroPhar |
Clinott-P (คลินอท-พี) | MacroPhar |
Dacin-F 150/Dacin-F 300 (ดาซิน-เอฟ 150/ดาซิน-เอฟ 300) | Farmaline |
Dalacin T (ดาลาซิน ที) | Pfizer |
Dalacin/Dalacin C (ดาลาซิน/ดาลาซิน ซี) | Pfizer |
Klinda RX (คลินดา อาร์เอ็กซ์) | R.X. |
Klindamycin (คลินดามายซิน) | Umeda |
Klinna (คลินนา) | Greater Pharma |
Rosil (โรซิล) | Siam Bheasach |
Rosil Topical Solution (โรซิล ทอปิคอล โซลูชั่น) | Siam Bheasach |
Todacin (โทดาซิน) | T.O. Chemicals |
- https://en.wikipedia.org/wiki/Clindamycin [2019,Dec7]
- http://www.mims.com/Captcha/DefaultCaptcha?returnUrl=http%3a%2f%2fwww.mims.com%2fTHAILAND%2fdrug%2finfo%2fdalacin-dalacin%2520c%2f%3ftype%3dfull#Indications [2019,Dec7]
- http://www.mims.com/thailand/drug/info/clindamycin/?type=brief&mtype=generic [2019,Dec7]
- https://www.drugs.com/drug-interactions/clindamycin-index.html?filter=2&generic_only= [2019,Dec7]
- https://www.drugs.com/dosage/clindamycin.html [2019,Dec7]