ฟอสฟอรัส (Phosphorus) ฟอสเฟต (Phosphate)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 11 มีนาคม 2561
- Tweet
- กายวิภาคและสรีรวิทยาระบบต่อมไร้ท่อ (Anatomy and physiology of endocrine system)
- โรคต่อมไร้ท่อ โรคระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine disease)
- โรคไต (Kidney disease)
- ต่อมเคียงไทรอยด์ ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid gland)
- พาราไทรอยด์ฮอร์โมน
- เกลือแร่ในเลือด (Blood electrolyte)
ฟอสฟอรัส(Phosphorus) เป็นเกลือแร่/แร่ธาตุสำคัญที่ช่วยให้ความแข็งแรงของกระดูกและฟัน โดยทำ งานร่วมกับเกลือแร่แคลเซียม นอกจากนั้นยังช่วยในกระบวนการที่ร่างกายจะนำ ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และโปรตีนมาใช้ และยังทำงานร่วมกับวิตามินต่างๆ เช่น วิตามิน-บี เพื่อช่วยในการทำ งานของไต และของการเต้นของหัวใจ และช่วยในการทำงานของระบบประสาท
ส่วนฟอสเฟต หรือฟอสเฟท(Phosphate) คือ สารประกอบของฟอสฟอรัสที่โดยทั่วไปจะอยู่ในรูปของเกลือ(Phosphate salt) เช่น Sodium phosphate, Potassium phosphate, ที่พบมากใน นม อาหารเช้าCereal ธัญญพืช เครื่องดื่มกลุ่มโคลา รวมถึงในเนื้อสัตว์ และไข่ ซึ่งทางการแพทย์จะนำเกลือฟอสเฟตมาผลิตเป็นยา เช่น Sodium phosphate ในร่างกายฟอสเฟตจะอยู่ในเลือดในรูปของ อีเล็กโทรไลท์(Electrolyte), เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟัน, และรวมถึงเป็นส่วนประกอบ ในเซลล์ต่างๆที่รวมถึงใน DNA
ในผู้ใหญ่ ร่างกายต้องการฟอสฟอรัส/ฟอสเฟต วันละ 700 มิลลิกรัม โดยร่างกายได้รับฟอสฟอรัสจากอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งมีมากใน เนื้อสัตว์ นม ไข่ ถ้าร่างกายขาดฟอสฟอรัส จะอ่อนเพลีย กระดูกและฟันจะไม่แข็งแรง และในทำนองเดียวกัน ถ้าร่างกายมีฟอสฟอรัสมากเกินไปก็จะส่งผลต่อการทำงานของเกลือแร่อื่นๆ โดยเฉพาะแคลเซียมซึ่งก่อให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้
ทั้งนี้ ร่างกายรักษาสมดุลของฟอสฟอรัส โดยผ่านการทำงานของไต และอยู่ในกำกับของฮอร์โมนจากต่อมพาราไทรอยด์/ พาราไทรอยด์ฮอร์โมน
อนึ่ง ทางคลินิก ฟอสฟอรัส และฟอสเฟต จะมีความหมายเหมือนกัน จึงมัก ใช้แทนกัน/เรียกสลับกันไปสลับมา
บรรณานุกรม
- http://www.umm.edu/health/medical/altmed/supplement/phosphorus [2018,Feb17]
- https://en.wikipedia.org/wiki/Phosphate [2018,Feb17]
- http://www.merckmanuals.com/home/hormonal-and-metabolic-disorders/electrolyte-balance/overview-of-phosphate-s-role-in-the-body [2018,Feb17]
- https://medlineplus.gov/ency/article/002424.html [2018,Feb17]
Updated 2018, Feb17