ประเภทยาเสพติดให้โทษ ยาเสพติด (Illegal drugs)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 28 กันยายน 2554
- Tweet
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- ยาเสพติด (Narcotic drug)
- โคเดอีน (Codeine)
- ซูโดอีเฟดรีน (Pseudoephedrine)
ยาเสพติดให้โทษ (Illegal drugs) หมายถึง สารเคมีหรือวัตถุใดๆที่มีผลต่อร่างกายทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์พฤติกรรม และทำให้เกิดการเสพเพิ่มขึ้นตามลำดับ มีความต้องการเสพทั่วทั้งร่างกายและจิตใจ และสุขภาพทั่วไปจะทรุดโทรม
แบ่งประเภทยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ออกเป็น 5 ประเภทตามความรุนแรงของยา ทั้งนี้เพื่อการควบคุมและการมีบทลงโทษที่แตกต่างกันตามประเภทยา
ประเภทยาเสพติดทั้ง 5 ประเภทตามลำดับความรุนแรงจากมากไปหาน้อยได้แก่
ประเภทที่ 1 ยาเสพติดให้โทษร้ายแรง เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน
ประเภทที่ 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น มอร์ฟีน โคเคน ฝิ่น ยาเสพติดประเภทนี้สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่จัดเป็นยามีโทษมาก จึงต้องใช้โดยแพทย์และเฉพาะกรณีจำเป็นเท่านั้นเช่น บรรเทาอาการปวดจากแผลไหม้ แผลผ่าตัด หรือจากโรคมะเร็ง
ประเภทที่ 3 ยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 2 เป็นส่วนผสมอยู่ด้วย ตามที่ได้ขึ้นทะเบียนตำหรับยาไว้ เช่น ยาแก้ไอผสมโคเดอีน (Codeine)
ประเภทที่ 4 สารเคมีที่ใช้ผลิตยาเสพติดประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 เช่น อาเซติลคลอไรด์ (Acetyl chloride)
ประเภทที่ 5 ยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าอยู่ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 4 เช่น กัญชา และ พืชกะท่อม
บรรณานุกรม
วัตถุเสพติด. กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
กระทรวงสาธารณสุข http://www.fda.moph.go.th/fda-net/html/product/addict/narcotics2/drug2.html [2014,Oct 4]
Updated 2014, Oct 4