น้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 16 กรกฎาคม 2560
- Tweet
- เบาหวาน (Diabetes mellitus)
- รู้ทันโรคเบาหวาน (Diabetes mellitus)
- เบาหวานในเด็กและวัยรุ่น (Juvenile diabetes mellitus)
- เบาหวานกับการตั้งครรภ์ (Diabetes mellitus and pregnancy)
- ยาเบาหวาน หรือ ยารักษาโรคเบาหวาน (Antidiabetic agents)
- ยาเบาหวาน หรือ ยารักษาโรคเบาหวาน (Antidiabetic agents)
- โรคต่อมไร้ท่อ โรคระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine disease)
- ยาอินซูลิน (Insulin)
น้ำตาลสะสมในเลือด หรือน้ำตาลสะสม (Hemoglobin AIc หรือ Glycated hemoglobin หรือ Glycosylated hemoglobin ย่อว่า HbA1c) คือ ปริมาณน้ำตาลกลูโคส(น้ำตาล)ที่จับอยู่กับสารโปรตีนของฮีโมโกลบินของเม็ดเลือดแดง ที่เรียกว่า Glycated hemoglobin ซึ่งเม็ดเลือดแดงทั่วไปจะชีวิตอยู่ได้ประมาณ 100-120 วัน ดังนั้นค่าน้ำตาลกลูโคสที่ตรวจได้จากเม็ดเลือดแดงจึงเป็นค่าน้ำตาลที่สะสมอยู่ในฮีโมโกลบินนานประมาณ 3-4 เดือน ซึ่งเป็นค่าที่ช่วยการวินิจฉัยว่า ผู้ป่วยเป็นเบาหวานหรือไม่ ได้แม่นยำกว่าการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดที่ผู้ป่วยงดอาหารนานประมาณ 8 ชั่วโมงขึ้นไป ที่เรียกว่า Fasting blood sugar(FBS) หรือ Fasting plasma glucose (FPG) หรือ Fasting glucose test (FGT) หรือ Fasting capillary blood glucose (FCG)
การตรวจค่าน้ำตาลสะสมจะได้จากการตรวจเลือด แต่ในบางห้องปฏิบัติการอาจตรวจได้จากเลือดจากปลายนิ้ว ซึ่งการตรวจนี้ไม่ต้องมีการเตรียมตัว ตรวจได้เลยโดยไม่ต้องงดอาหารหรือเครื่องดื่มหรือยา โดยค่าปกติจะขึ้นกับแต่ละห้องปฏิบัติการ แต่ทั่วไปคือ น้อยกว่า 5.7% แต่การวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน ค่านี้จะต้องสูงตั้งแต่ 6.5%ขึ้นไป ส่วนค่าสำหรับผู้เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน(Prediabetes)คืออยู่ในช่วง 5.7-6.4%
บรรณานุกรม