น้ำคาวปลา (Lochia)

น้ำคาวปลา เป็นคำที่ใช้เรียกของเหลวที่ออกมาจากช่องคลอดของสตรีที่เพิ่งจะมีการคลอดบุตร (รวมทั้งที่ผ่าตัดคลอดด้วย) เป็นของเหลวที่ประกอบด้วยเลือด น้ำเหลือง น้ำคร่ำ เยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดลอกออกมา เม็ดเลือดขาว เพราะหลังจากที่ทารกและรกคลอด จะมีแผลที่ผนังมดลูก/โพรงมดลูก บริเวณที่เกาะของรกที่ก่อให้เกิดน้ำคาวปลา

ปริมาณน้ำคาวปลาจะค่อยๆลดลงและหายไป เมื่อแผลในโพรงมดลูกซ่อมแซมปิดสนิท ปริมาณน้ำคาวปลาทั้งหมดตลอดระยะเวลาที่มี จะประมาณ 200-500 มิลลิลิตร โดยทั่วไปใช้เวลา 3-4 สัปดาห์หลังคลอด น้ำคาวปลาก็จะหมดไป มีเพียงสตรีหลังคลอดจำนวนน้อยที่อาจมีน้ำคาวปลานานไปถึง 6 สัปดาห์หลังคลอดในรายที่ไม่มีการติดเชื้อ

น้ำคาวปลาปกติไม่มีกลิ่นเหม็น หากมีกลิ่นเหม็น มีสีแดงขึ้น มีไข้ ปวดท้อง แสดงว่ามีการติดเชื้อ

แบ่งน้ำคาวปลาเป็น 3 กลุ่ม ตามลักษณะ คือ

  • Lochia rubra เป็นน้ำคาวปลาที่ออกในช่วง 2-3 วันหลังคลอด จะเป็นสีแดง ปริมาณจะมากหน่อย อาจต้องใช้ผ้าอนามัย วันละ 2-3 ผืน เนื่องจากมีปริมาณเลือด น้ำเหลือง ค่อน ข้างมาก
  • Lochia serosa เป็นน้ำคาวปลาที่สีแดงจางลงจาก Lochia rubra เนื่องจากแผลต่างๆในโพรงมดลูกเล็กลง
  • มดลูกมีการหดรัดตัวดีขึ้น จะพบลักษณะนี้ประมาณ 4-14 วันหลังคลอด Lochia alba ของเหลวที่ไหลออกมาทางช่องคลอด หรือ สีของน้ำคาวปลามักจะขาวขึ้น เพราะแผลต่างๆในโพรงมดลูกดีขึ้นมากจนเป็นปกติจะพบลักษณะนี้หลังคลอด 14 วันไปแล้ว และอาจมีนานได้ถึง 4 สัปดาห์หลังคลอด

-น้ำคาวปลาที่มีลักษณะผิดปกติเป็นอย่างไร? และสาเหตุเกิดจากอะไร?

น้ำคาวปลาที่ปกติจะไม่มีกลิ่นเหม็น และสตรีผู้คลอดก็จะสบายดี ไม่มีไข้ ไม่มีอาการปวดมดลูกมากผิดปกติ มดลูกจะหดตัวเล็กลงเรื่อยๆ สีของน้ำคาวปลาจะจางลงเรื่อยๆ

ในทางตรงกันข้าม หากน้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น สีแดงขึ้นหลังจากที่จางไปแล้ว หรือมีเลือดสดๆออกมามากขึ้น มีไข้ มีอาการปวดมดลูกมากผิดปกติ มดลูกไม่หดตัวเล็กลง แสดงว่าน่าจะมีปัญหาเกิดขึ้น มีการอักเสบในโพรงมดลูก อาจมีเศษรก หรือเศษเยื่อหุ้มรกค้างอยู่ แล้วทำให้เกิดการอักเสบในโพรงมดลูกตามมา ควรต้องรีบไปพบแพทย์/สูตินรีแพทย์

-การดูแลตนเองขณะมีน้ำคาวปลา

  1. สตรีหลังคลอดปกติทางช่องคลอดสามารถอาบน้ำได้ตามปกติ แนะนำให้อาบโดยใช้ฝัก บัว ไม่ควรแช่ในอ่างอาบน้ำ หรือ ว่ายน้ำ (เเม้ว่าจะเป็นอ่างอาบน้ำ หรือสระว่ายน้ำส่วนตัวที่บ้าน) เพราะปากมดลูกยังเปิดอยู่ อาจมีน้ำเข้าไปโพรงมดลูก ทำให้เกิดการติดเชื้อง่ายขึ้น ส่วนที่แผลฝีเย็บที่ช่องคลอดก็ชำระล้างด้วยสบู่อ่อนๆ แล้วซับให้แห้ง ไม่ต้องใส่ยาอะไร
  2. ในสตรีที่ผ่าตัดคลอด ก่อนตัดไหมหน้าท้อง สามารถทำความสะอาดร่างกายได้ทุกส่วน (ยกเว้นยังต้องปิดแผลไว้) หลังจากตัดไหมหรือแพทย์เปิดแผลแล้วแผลติดกันสนิทดีสามารถอาบน้ำได้ตามปกติ ไม่ควรแช่ในอ่างอาบน้ำหรือว่ายน้ำเช่นกัน
  3. เปลี่ยนผ้าอนามัยที่ใช้รองซับน้ำคาวปลาตามความเหมาะสม ไม่ควรหมักหมม หรือปล่อยให้ชุ่มนานเกินไป
  4. หากน้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น มีสีแดงขึ้นหลังจากที่จางไปแล้ว หรือมีเลือดสดๆออกมามากขึ้น มีไข้ มีอาการปวดมดลูกมากผิดปกติ ควรต้องรีบไปพบแพทย์/สูตินรีแพทย์
  5. ไปตรวจหลังคลอดตามแพทย์นัดเสมอ

-ควรไปพบแพทย์เมื่อไหร่?

หลังคลอดไปแล้วสีของน้ำคาวปลาจะจางลงเรื่อยๆ และปริมาณจะค่อยๆลดลง หากน้ำ คาวปลามีกลิ่นเหม็น สีแดงขึ้นหลังจากที่จางไปแล้ว หรือมีเลือดสดๆออกมามากขึ้น มีไข้ มีอา การปวดมดลูก/ปวดท้อง มากผิดปกติ มดลูกไม่หดตัวเล็กลง แสดงว่าน่าจะมีปัญหาเกิดขึ้น มีการอักเสบในโพรงมดลูก อาจมีเศษรก หรือเศษเยื่อหุ้มรกค้างอยู่แล้วทำให้เกิดการอักเสบในโพรงมดลูกตามมา ควรต้องรีบไปพบแพทย์

-การรักษาของแพทย์มีอะไรบ้าง?

  1. แพทย์จะซักถามอาการ และความผิดปกติต่างๆ
  2. ตรวจร่างกายว่ามีไข้ ปวดท้อง มดลูกเข้าอู่ หรือไม่
  3. ตรวจภายในดูลักษณะสีน้ำคาวปลา ปากมดลูกเปิด หรือ ปิด ขนาดมดลูก การกดเจ็บ ก้อนผิดปกติต่างๆ
  4. อาจมีการส่งตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอด (อัลตราซาวด์) เพื่อดูว่ามีเศษรก หรือเยื่อหุ้มรกค้างอยู่หรือไม่ หากมีค้าง แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะก่อน 4-6 ชั่วโมงหลัง จากกินยาจะพิจารณาขูดมดลูก
  5. หากมีการติดเชื้อ แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะมารับประทาน หากมีอาการมากอาจให้นอนรัก ษาที่โรงพยาบาลเพื่อให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือด

บรรณานุกรรม

  1. Fletcher S, Grotegut CA, James AH. Lochia patterns among normal women: a systematic review. J Womens Health (Larchmt). 2012 Dec;21(12):1290-4.
  2. http://www.uptodate.com/contents/overview-of-postpartum-care?source=search_result&search=postpartum&selectedTitle=1%7E150# [2013,Jan 29].