คาลาไมน์โลชั่น (Calamine Lotion)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 7 พฤษภาคม 2557
- Tweet
- บทนำ
- ยาคาลาไมน์โลชั่นมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่>างไร?
- ยาคาลาไมน์โลชั่นมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- ยาคาลาไมน์โลชั่นมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- ยาคาลาไมน์โลชั่นมีวิธีการใช้อย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยา ควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกรอย่างไร?
- ยาคาลาไมน์โลชั่นมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้ยาคาลาไมน์โลชั่นอย่างไร?
- ยาคาลาไมน์โลชั่นมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษายาคาลาไมน์โลชั่นอย่างไร?
- ยาคาลาไมน์โลชั่นมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- โรคผิวหนัง (Skin disorder)
- โรคผื่นแพ้สัมผัสในเด็ก (Childhood contact dermatitis)
- โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในเด็ก (Atopic dermatitis)a>
- โรคหัด (Measles)
- อีสุกอีใส (Chickenpox)
- ลมพิษ (Urticaria)
- งูสวัด (Herpes zoster)
บทนำ
คาลาไมน์โลชั่น/ยาคาลาไมน์ (Calamine lotion) เป็นยาน้ำแขวนตะกอนที่ใช้ทาผิวหนังเพื่อ
แก้อาการผื่นคัน ลมพิษ อาการแพ้พืช แมลงกัดต่อย หรือแม้แต่ผิวไหม้เนื่องจากแสงแดด มีตัวยาสำ คัญคือ Zinc oxide หรือ Zinc Carbonate และยังมีตัวยาอื่นที่ช่วยเสริมฤทธิ์ของการรักษา เช่น Chlorpheniramine หรือ Diphenhydramine HCl ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสูตรตำรับของแต่ละบริษัทว่าขึ้นทะเบียนยาอย่างไร
นอกจากฤทธิ์ในการแก้แพ้ทางผิวหนังแล้ว คาลาไมน์ยังมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อโรคได้บ้าง และป้อง กันการติดเชื้อทางผิวหนังได้เล็กน้อย
ประชาชนมักจะซื้อยาคาลาไมน์นี้เก็บไว้เป็นยาประจำบ้าน พร้อมที่จะหยิบใช้เมื่อจำเป็น ด้วย มีจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป รวมไปถึงมีใช้ในโรงพยาบาลทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ทั่วประเทศ
ยาคาลาไมน์โลชั่นมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
คาลาไมน์โลชั่นมีสรรพคุณ ใช้ทาบรรเทาอาการผื่นคัน ลมพิษ แมลงกัดต่อย อาการแพ้พืช บางชนิด อาการคันจาก งูสวัด อีสุกอีใส ผิวไหม้เนื่องจากแสงแดด
ยาคาลาไมน์โลชั่นมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
ตัวยาสำคัญในคาลาไมน์โลชั่น คือ Zinc oxide ซึ่งมีฤทธิ์ฝาด ลดอาการอักเสบทางผิวหนัง และช่วยสมานผิว (ทำให้แผลจากการคันติดกัน) ได้ระดับหนึ่ง อีกทั้งยังช่วยปกป้องผิวหนังจากแสงยูวี (UV light) ซึ่งด้วยกลไกเหล่านี้จึงทำให้คาลาไมน์มีฤทธิ์ทางการรักษาบรรเทาอาการจากผื่นคันต่างๆ
ยาคาลาไมน์โลชั่นมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ประเทศไทยจัดจำหน่ายคาลาไมน์โลชั่นในรูปแบบชนิดยาน้ำแขวนตะกอน ที่เป็นกลุ่มยาใช้ภายนอก โดยมีขนาดบรรจุตั้งแต่ 60, 120 ซีซี และชนิดแกลลอน
ยาคาลาไมน์โลชั่นมีวิธีการใช้อย่างไร?
คาลาไมน์โลชั่นเป็นยาใช้ภายนอก ใช้ทายาในบริเวณที่มีอาการแพ้ผื่นคัน วันละ 3-4 ครั้ง
เมื่อมีการสั่งยา ควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงคาลาไมน์โลชั่น ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกร ดังนี้
- ประวัติแพ้ยาทาเฉพาะที่ชนิดใดหรือไม่
- มีโรคผิวหนังชนิดเรื้อรังอื่นๆร่วมด้วยหรือไม่ และ
- ระยะเวลาของอาการโรคเป็นมานานกี่วัน
ยาคาลาไมน์โลชั่นมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
คาลาไมน์โลชั่นเป็นยาทาภายนอกร่างกาย จึงไม่ค่อยพบผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง)
ต่อระบบต่างๆในร่างกายโดยตรง หากพบว่าหลังการทายาแล้วมีอาการผื่นขึ้นมากกว่าเดิม ระคาย เคืองบริเวณที่ทายามากขึ้น หรือมีอาการปวดแสบร้อน ควรต้องรีบล้างยาออกด้วยน้ำสะอาด และไป พบแพทย์/ไปโรงพยาบาล เพื่อตรวจหาสาเหตุและรักษาอาการแพ้ที่เกิดขึ้น
มีข้อควรระวังการใช้ยาคาลาไมน์โลชั่นอย่างไร?
คาลาไมน์โลชั่นมีข้อควรระวังในการใช้ยา คือ
- ห้ามเผลอรับประทาน
- ห้ามใช้ทาบริเวณรอบตาหรือทาลูกตา
- ห้ามใช้ยาที่หมดอายุ
***** อนึ่ง
ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึง ยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวม ถึงยาคาลาไมน์) ยาแผนโบราณทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกชนิด ควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
ยาคาลาไมน์โลชั่นมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ยังไม่พบว่าคาลาไมน์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาชนิดอื่น
ควรเก็บรักษายาคาลาไมน์โลชั่นอย่างไร?
สามารถเก็บยาคาลาไมน์โลชั่นในอุณหภูมิห้อง บรรจุในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดด และ เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
ยาคาลาไมน์โลชั่น มีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
คาลาไมน์โลชั่นที่ผลิตในประเทศไทย มีชื่อการค้า และบริษัทผู้ผลิต เช่น
ชื่อทางการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
Allerdryl (อัลเลอร์ดริล) | Greater Pharma |
Ancamin (แอนคามิน) | P P Lab |
Antipru Lotion (แอนตี้พรู โลชั่น) | BJ Benjaosoth |
Cabana (คาบานา) | L. B. S. |
Cadinyl (คาดินิล) | Medifive |
Cadramine V (คาดราไมน์) | Atlantic Lab |
Caladiph (คาลาดิพ) | Chinta |
Calahyst Frx (คาลาอีส เอฟอาร์เอ็กซ์) | The United Drug (1996) |
Calakin (คาลาคิน) | Utopian |
Calamine Lotion Osoth Interlab (คาลาไมน์ โลชั่น โอสถ อินเตอร์แลป) | Osoth Interlab |
Calamine Suphong (คาลาไมน์ สุพงษ์) | Suphong Bhaesaj |
Calanol (คาลานอล) | Nakornpatana |
Calapro (คาลาโพร) | Medicine Products |
Calarin (คาลาริน) | Thai Nakorn Patana |
Caloryne (คาโลรีน) | T.O. Chemicals |
Canamine (คานาไมน์) | Pharmahof |
Canerin (คาเนอริน) | T.O. Chemicals |
Clara (คลารา) | The Forty-Two |
Hista Lotion (อีสตา โลชั่น) | Pharmasant Lab |
K.B. Calo (เค.บี. คาโล) | K.B. Pharma |
Kadryl (คาดิล) | T. Man Pharma |
Lanol (ลานอล) | Nakornpatana |
M-D Cream (เอ็ม-ดี ครีม) | Milano |
Patar Lotion (พาตาร์ โลชั่น) | Patar Lab |
Umeda Calamine-D (ยูเมดา คาลาไมน์-ดี) | Umeda |
บรรณานุกรม
1. http://en.wikipedia.org/wiki/Calamine [2014,April22]
2. http://www.drugs.com/search.php?searchterm=calamine+lotion [2014,April22].
3. http://www.medicinenet.com/calamine_lotion-topical/page3.htm#Storage [2014,April22].
4. http://www.mims.com/Thailand/drug/info/Umeda%20Calamine-D/?q=calamine%20lotion&type=brief [2014,April22].