คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids)

สารบัญ บทความที่เกี่ยวข้อง

บทนำ

คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) เป็นกลุ่มสารเคมีที่มีโครงสร้างโมเลกุลที่สามารถแตกแขนงแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้อีกมากมาย หลายชนิดของฮอร์โมนในร่างกายเราที่ชื่อว่า สเตียรอยด์ฮอร์โมน ก็จัดอยู่ในกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์เช่นเดียวกัน

สเตียรอยด์ฮอร์โมนในร่างกายมนุษย์จะออกฤทธิ์กับกระบวนการทางเคมีในร่างกายได้หลายกระบวนการ อาทิ

  • กระบวนการของร่างกายเมื่อเผชิญกับความเครียด
  • กระบวนการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต้านทานโรค
  • กระบวนการควบคุมการอักเสบของอวัยวะในร่างกาย
  • กระบวนการเผาผลาญสารอาหาร เช่น คาร์โบไฮเดรต
  • กระบวนทำลายโปรตีนของร่างกาย
  • กระบวนการควบคุมสารอิเล็กโทรไลท์ (Electrolyte, เกลือแร่) ในเลือด
  • ตลอดจนมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในชีวิตประจำวันด้วยซ้ำไป

คอร์ติโคสเตียรอยด์ถูกค้นพบประโยชน์ในการนำมาใช้ครั้งแรก เมื่อปี ค.ศ. 1944 (พ.ศ. 2487) โดยมีพัฒนาการของการใช้เป็นยารักษาโรคอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

ก. หากแบ่งคอร์ติโคสเตียรอยด์ด้วยโครงสร้างเคมีตามการตอบสนองของร่างกายและนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์อย่างมากมาย เห็นจะได้แก่ การนำคอร์ติโคสเตียรอยด์มาใช้รักษาอาการแพ้ต่างๆของร่างกาย โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มได้ดังนี้

  • กลุ่มที่ 1 Hydrocortisone: ตัวยาในกลุ่มนี้มีคุณสมบัติเป็นสเตียรอยด์ฮอร์โมนอย่างอ่อน และมีคุณสมบัติเหมือนสเตียรอยด์ฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมหมวกไต ตำรับยาที่ใช้บ่อย เช่น Hydrocortisone, Hydrocortisone acetate, Cortisone acetate, Tixocortol pivalate, Prednisolone, Methylprednisolone, Prednisone
  • กลุ่มที่ 2 Acetonides: ตัวยาในยากลุ่มนี้จะสามารถซึมผ่านผิวหนังได้ดีกว่ายาในกลุ่มแรก จึงมักนำมาใช้ในโรคทางผิวหนัง ตำรับยาที่ใช้บ่อยเช่น Triamcinolone acetonide, Triam cinolone alcohol, Mometasone, Amcinonide, Budesonide, Desonide, Fluocinonide, Fluocinolone acetonide, Halcinonide
  • กลุ่มที่ 3 Betamethasone: ตัวยากลุ่มนี้จะออกฤทธ์แรงกว่าตัวยาในกลุ่ม 1, 2 ตำรับยาที่ใช้บ่อยเช่น Betamethasone, Betamethasone sodium phosphate, Dexamethasone, Dexa methasone sodium phosphate, Fluocortolone
  • กลุ่มที่ 4 Esters: ตัวยาออกฤทธิ์แรง ดูดซึมได้ดีในเนื้อเยื่อลูกตา และมีผลข้างเคียงน้อยกว่าตัวยาในกลุ่มอื่น โดยแยกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ
    • Halogenated: ประกอบด้วย Hydrocortisone-17-valerate, Halometasone, Alclome tasone dipropionate, Betamethasone valerate, Betamethasone, Dipropionate, Prednicar bate, Clobetasone-17-butyrate, Clobetasol-17-propionate, Fluocortolone caproate, Fluocortolone pivalate, Fluprednidene acetate
    • Labile prodrug esters: ประกอบด้วย Hydrocortisone-17-butyrate, Hydrocorti sone-17-aceponate, Hydrocortisone-17-buteprate, Ciclesonide, Prednicarbate

ข. หากแบ่งการใช้คอร์ติโคสเตียรอยด์ตามลักษณะของการบริหารยา สามารถจำแนกได้ดังนี้

  • ยาใช้เฉพาะที่ (Topical steroid) เช่น ยาหยอดตา ยาทาผิว
  • ยาสำหรับสูด-พ่นเข้าทางปาก - จมูก (Inhale steroid) เช่น Flunisolide, Flutica sone furoate, Fluticasone propionate, Triamcinolone acetonide, Beclomethasone dipropionate, Budesonide
  • ยารับประทาน (Oral form) เช่น Prednisone และ Prednisolone
  • ยาฉีด (Systemic forms)

จากการศึกษาด้านเภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetic, การศึกษาความเป็นไปของยา เมื่อยาเข้าสู่ร่างกาย) ของยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์พบว่า หลังการดูดซึม ยานี้สามารถจับกับพลาสมาโปรตีนได้มากถึงประมาณ 95% อวัยวะตับและไตจะมีหน้าที่กำจัดคอร์ติโคสเตียรอยด์ออกจากร่าง กายโดยใช้เวลาประมาณ 1 - 3 ชั่วโมง จึงจะสามารถกำจัดคอร์ติโคสเตียรอยด์เหล่านี้ได้ 50%

ยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดฉีดและรับประทาน จะถูกจัดอยู่ในหมวดยาควบคุมพิเศษ สำหรับยาทาที่มีส่วนผสมกับยาชนิดอื่น มักจัดในหมวดยาอันตราย

ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์นี้ มีข้อห้ามใช้ ข้อควรระวัง และข้อจำกัดปลีกย่อยอีกมากมาย การ ใช้ยาในผู้ป่วยให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีความปลอดภัย จึงต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของ แพทย์ผู้รักษาเท่านั้น

ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์มีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?

คอร์ติโคสเตียรอยด์

คอร์ติโคสเตียรอยด์มีข้อบ่งใช้และสรรพคุณดังนี้

  • รักษาอาการสมองบวมจากเนื้องอกสมอง (Brain tumors)
  • รักษาอาการอักเสบและอาการแพ้ของผิวหนัง
  • รักษาและบรรเทาอาการปวดหรืออาการอักเสบของข้อกระดูก
  • บรรเทาอาการโรคหืด และอาการแพ้ในระบบทางเดินหายใจ
  • บรรเทาและรักษาอาการอักเสบของระบบขับถ่าย เช่น ริดสีดวงทวาร
  • รักษาและป้องกันภาวะเกลือโซเดียมในร่างกายมีมากผิดปกติ (Hypernatremia)
  • รักษาอาการบวม ที่ไม่ใช่เกิดจากบวมน้ำ

ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์มีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

อาจแบ่งกลไกการออกฤทธิ์ตามการบริหารยาของคอร์ติโคสเตียรอยด์ได้ดังนี้

ก. ยาใช้เฉพาะที่: ออกฤทธิ์โดยยับยั้งการรวมตัวของเม็ดเลือดขาวในบริเวณที่มีการอัก เสบของเนื้อเยื่อ จึงป้องกันการทำลายเนื้อเยื่อในบริเวณที่อักเสบดังกล่าว

ข. ยาสำหรับสูดพ่น: ออกฤทธิ์โดยบรรเทาและลดการอักเสบของหลอดลม ทำให้หลอด ลมเปิดกว้าง เพื่อให้อากาศเข้าออกได้สะดวก อีกทั้งลดปริมาณการสร้างเมือกหรือสารคัดหลั่งที่คอยอุดกั้นตามหลอดลมอีกด้วย

ค. ยารับประทาน: หลังดูดซึมเข้าร่างกาย ตัวยาจะออกฤทธิ์ที่ตัวรับ (Receptors) ของเนื้อเยื่อ ป้องกันมิให้เม็ดเลือดขาวเข้าไปทำลายบริเวณเนื้อเยื่อที่มีการอักเสบ อีกทั้งยังออกฤทธิ์กดการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกาย จึงทำให้อาการโรคทุเลาลง

ง. ยาฉีด: คล้ายกับชนิดรับประทาน แต่ออกฤทธิ์ได้เร็วกว่าคือทันที

ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?

ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายดังนี้

  • ยาเม็ด ขนาดความแรง 0.5, 2.5, 5, และ 10 มิลลิกรัม/เม็ด
  • ยาแคปซูล ขนาดความแรง 5 มิลลิกรัม/แคปซูล
  • ยาครีม ขนาดความเข้มข้น 0.1%, 0.25%, 0.5%
  • ยาหยอดตา ชนิดความเข้มข้น 0.12%, 1%
  • ยาหยอดตา ชนิดความเข้มข้น 0.5% โดยผสมรวมกับยาปฏิชีวนะ
  • ยาพ่นคอ ขนาดความเข้มข้น 100 และ 200 ไมโครกรัม/โด๊ส (Dose, ปริมาณยาแต่ละครั้งของการใช้ยา)
  • ยาสูดพ่นเข้าจมูก ขนาดความแรง 0.5 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร และ 1 มิลลิกรัม/2 มิลลิลิตร
  • ยาสเปรย์พ่นจมูก ขนาดความเข้มข้น 64, 80, และ 160 ไมโครกรัม/โด๊ส
  • ยาฉีด ขนาดความแรง 10 และ 40 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร
  • โลชั่นทาผิว ขนาดความเข้มข้น 0.1%

ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์มีขนาดรับประทานอย่างไร?

ด้วยยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์มีหลากหลายรายการ ขนาดรับประทานจึงขึ้นกับการพิจารณาของแพทย์ โดยต้องอาศัยข้อมูลประจำตัวของตัวผู้ป่วย รวมกับเลือกใช้ยาให้ตรงตามอาการโรค และมีความปลอดภัยมากที่สุด ดังนั้นการรับประทานจึงต้องเป็นไปตามดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษาเท่านั้น

เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกร เช่น

  • ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยา/ใช้ยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น และ/หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก
  • มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยาอะไรอยู่ เพราะยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์อาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อน
  • หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์/มีครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรก และเข้าสู่ทารกจนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้

หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?

หากลืมรับประทานยา/ใช้ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ สามารถรับประทาน/ใช้ยาเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยา/ใช้ยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า

ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์มีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?

ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์สามารถก่อให้เกิดผล/ อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) เช่น

  • เกิดแผลในช่องทางเดินอาหาร (เช่น แผลในกระเพาะอาหาร)
  • เกิดภาวะของกระดูกบางลง (โรคกระดูกพรุน)
  • เกิดภาวะซึมเศร้า
  • มีไข้
  • กระตุ้นการชัก
  • กดภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกาย
  • ปวดศีรษะ
  • เจ็บคอ
  • คัดจมูก
  • ปวดหลัง
  • อาเจียน

โดยหากเป็นยาใช้เฉพาะที่ เช่น ยาหยอดตา การใช้เป็นเวลานาน สามารถกระตุ้นให้เกิด

  • ต้อกระจก
  • ต้อหิน

และหากเป็นยาชนิดทา การใช้เป็นเวลานานสามารถเกิด

  • ภาวะผิวบาง
  • ผิวมีสีจาง และด่างขึ้น

มีข้อควรระวังการใช้ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์อย่างไร?

มีข้อควรระวังการใช้ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ เช่น

  • ห้ามใช้กับผู้แพ้ยานี้
  • ห้ามใช้กับหญิงตั้งครรภ์ ด้วยก่อให้เกิดความพิการของทารก
  • ห้ามใช้รักษาภาวะร่างกายติดเชื้อไวรัส เช่น เริม หรือติดเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย ด้วยจะทำให้อาการโรครุนแรงมากขึ้น
  • ระวังการใช้ยานี้กับผู้ที่มีแผลในช่องทางเดินอาหาร
  • การใช้ยานี้ชนิดรับประทานกับผู้ป่วยเบาหวาน สามารถทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้ จึงควรเลี่ยงการใช้ร่วมกัน
  • ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง
  • ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วย โรคไต หรือ นิ่วในไต
  • ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วยโรคไทรอยด์ทั้งชนิดฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ต่ำ (ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน) และสูง (โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ /ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน)
  • ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอมจี (Myasthenia gravis)
  • การใช้ยากลุ่มนี้อาจทำให้อารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ เช่น เกิดภาวะซึมเศร้า เป็นต้น
  • ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
  • ห้ามใช้ยาหมดอายุ
  • ห้ามเก็บยาหมดอายุ

***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ด้วย) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตาม ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด เสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน

ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น เช่น

  • การใช้ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ร่วมกับ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด จะทำให้ฤทธิ์ของการต้านการแข็งตัวของเลือดลดลง และก็ทำให้เกิดอาการเลือดออกในกระเพาะอาหาร/เลือดออกในทางเดินอาหารได้ง่ายขึ้น หากไม่จำเป็นควรเลี่ยงการใช้ยาทั้ง 2 กลุ่มพร้อมกัน
  • การใช้ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ร่วมกับ ยารักษาโรคเบาหวาน สามารถทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ หากจำเป็นต้องใช้ร่วมกัน แพทย์จะปรับขนาดรับประทานเป็นรายบุคคลไป
  • การใช้ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ร่วมกับ ยารักษาโรคหืด หรือยารักษาภาวะหลอดลมเกร็งตัวในผู้ป่วยโรคปอด อาจทำให้ภาวะเกลือโพแทสเซียมในเลือดต่ำลง ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ หากไม่มีความจำเป็นควรเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
  • การใช้ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ร่วมกับ ยากันชัก สามารถทำให้ฤทธิ์ในการรักษา ของคอร์ติโคสเตียรอยด์ลดลง ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน

ควรเก็บรักษายากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์อย่างไร?

ควรเก็บยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ เช่น

  • เก็บยาที่อุณหภูมิต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส (Celsius)
  • เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสง/แสงแดด ความร้อน และความชื้น
  • เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
  • ไม่ควรเก็บยาในห้องน้ำ

ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์มีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?

ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ มียาชื่อการค้า และบริษัทผู้ผลิต เช่น

ชื่อการค้าบริษัทผู้ผลิต
Cortef (คอร์เทฟ) Pfizer
H-Cort (เฮช-คอร์ท) HOE Pharmaceuticals
LactiCare-HC (แล็คติแคร์-เฮชซี) Stiefel
Solu-Cortef (โซลู-คอร์เทฟ) Pfizer
HC 1% (เฮชซี 1%) Chinta
Hytisone (ไฮทิโซน) Atlantic Lab
Clinipred (คลินิเพรด) Bangkok Lab & Cosmetic
Di-Adreson F (ดิ-แอดเดรซัน เอฟ) MSD
Fortisone (ฟอร์ติโซน) The Forty-Two
Inf-Oph (ไอเอ็นเอฟ-ออฟ) Seng Thai (prednisolone acetate)
Neosolone-C (นีโอโซโลน-ซี) Chew Brothers
Opredsone (โอเพรดโซน) Greater Pharma
Polypred(โพลีเพรด) Pharmasant Lab
Predcap (เพรดแคพ) Bangkok Lab & Cosmetic
Pred-Forte/Pred-Mild(เพรด-ฟอร์ท/ เพรด-มายด์) Allergan (prednisolone acetate)
Predi K.B. (เพรดิ เค.บี.) K.B. Pharma
Predisole (เพรดิโซน) P P Lab
Predman (เพรดแมน) T. Man Pharma
Prednersone (เพรดเนอร์โซน) General Drugs House
Prednisolone A.N.H. (เพรดนิโซโลน เอ.เอ็น.เฮช) A N H Products
Prednisolone Asian Pharm (เพรดนิโซโลน เอเชียน ฟาร์ม) Asian Pharm
Prednisolone Atlantic (เพรดนิโซโลน แอทแลนติก) Atlantic Lab
Prednisolone GPO (เพรดนิโซโลน จีพีโอ) GPO
Predsomed (เพรดโซเมด) Medicpharma
Prednisolone Greater Pharma (เพรดนิโซโลน เกรตเตอร์ ฟาร์มา) Greater Pharma
Presoga (พรีโซกา) Utopian
Depo-Medrol (ดีโป-เมดรอล) Pfizer (Methylpredni acetate)
Solu-Medrol (โซลู-เมดรอล) Pfizer (Methylpredni Na succinate)
Actyl Lotion (แอคทิล โลชั่น) Acdhon
Aristocort (อริสโทคอร์ท) Pfizer
Aristocort A (อริสโทคอร์ท เอ) Pfizer
Betji-Cort (เบทจิ-คอร์ท) 2M (Med-Maker)
Centocort (เซนโทคอร์ท) Pharmasant Lab
Curran (เคอร์แรน) Community Pharm PCL
Dynacort (ไดนาคอร์ท) Utopian
Generlog (เจเนอร์ล็อก) General Drugs House
Kanolone/Kanolone-F (คาโนโลน/คาโนโลน-เอฟ) L. B. S.
Kanolone Dental Paste (คาโนโลน เดนทัล เพส) L. B. S.
Kanolone Lotion (คาโนโลน โลชั่น) L. B. S.
Kela (คีลา) T.O. Chemicals
Kelamild (คีลามายด์) T.O. Chemicals
Kemzid (เคมซิด) Unison
Kena-Lite (คีนา-ไลท์) NuPharma & HealthCare
Keno Oral Paste (คีโน ออรัล เพส) T.O. Chemicals
Lala Lotion (ลาลา โลชั่น) Osoth Interlab
Lenicort (เลนิคอร์ท) 2M (Med-Maker)
Lonna Gel (ลอนนา เจล) Vesco Pharma
Metoral (เมโทรอล) Unison
Nasacort AQ (นาซาคอร์ท เอคิว) sanofi-aventis
Oracortia (โอราคอร์เทีย) Thai Nakorn Patana
Oralpac (ออรัลแพค) Inpac Pharma
Oral-T (ออรัล-ที) Silom Medical
Orcilone (ออซิโลน) Chew Brothers
Shincort/Shincort IM Injection(ชินคอร์ท/ชินคอร์ท ไอเอ็ม อินเจ็คชั่น) Yung Shin
Simacort Cream (ซีมาคอร์ท ครีม) Siam Bheasach
T.A. Osoth (ที.เอ. โอสถ) Osoth Interlab
Tramsilone (ไตรแอมซิโลน) Greater Pharma
V-Nolone 10 (วี-โนโลน 10) Vesco Pharma
Elomet (อีโลเมท) MSD
Nasonex (นาโซเน็ก) MSD
Novasone (โนวาโซน) Schering-Plough
Rinelon (รินีลอน) Schering-Plough
Visderm (วิสเดอร์ม) Wyeth
Aeronide 200 (แอโรไนด์ 200) Aerocare
Besonin Aqua (เบโซนิน อควา) Synmosa
Budecort CFC-Free (บัดเดคอร์ท ซีเอฟซี-ฟรี) Cipla
BudeSpray (บัดอีสเปรย์) Medispray
Budiair (บัดดิแอร์) Chiesi
Bunase Nasal Spray (บันเนส นาซอล สเปรย์) Okasa Pharma
Bunase Respule (บันเนส เรสพิล) Okasa Pharma
Giona Easyhaler (จีโอนา อีซีเฮเลอร์) Orion
Obucort (โอบูคอร์ท) Otsuka
Pulmicort (พัลมิคอร์ท) AstraZeneca
Pulmicort Turbuhaler (พัลมิคอร์ท เทอร์บูฮาเลอร์) AstraZeneca
Rhinocort Aqua (ไรโนคอร์ท อควา) AstraZeneca
Beprogel (เบโพรเจล) HOE Pharmaceuticals
Bepronate (เบโพรเนท) Pharmasant Lab
Beprosone (เบโพรโซน) Chew Brothers
Besone (เบซัน) Atlantic Lab
Beta (เบต้า) Chew Brothers
Betacort (เบต้าคอร์ท) Utopian
Bethasone (เบทาโซน) Greater Pharma
Betnovate (เบทโนเวท) GlaxoSmithKline
Clinivate Cream (คลินิเวท ครีม) Bangkok Lab & Cosmetic
Derzid (เดอร์ซิด) Unison
Diprobet (ไดโพรเบท) Polipharm
Diprosone (ไดโพรโซน) MSD
Polynovate (โพลีโนเวท) Pharmasant Lab
Sebo Scalp Tonic (เซโบ สกัล โทนิก) Chew Brothers
T.M. Bet (ที.เอ็ม. เบท) T. Man Pharma
Valerbet (วาเลอร์เบท) Polipharm
B. Dexol (บี. เดกซ์ซอล) Pharmasant Lab
Dexa (เดกซ์ซา) Utopian
Dexaltin (เดกซ์ซาลติน) ANB
Dexano (เดกซ์ซาโน) Milano
Dexa-P (เดกซ์ซา-พี) P P Lab
Dexapro (เดกซ์ซาโพร) Medicine Products
Dexasone (เดกซ์ซาโซน) Atlantic Lab
Dexion (เดกซ์เซียน) Umeda
Dexon (เดกซ์ซอน) General Drugs House
Dexthasol (เดกซ์ทาซอล) Olan-Kemed
Lodexa/Lodexa-5 (โลเดกซ์ซา/โลเดกซ์ซา-5) L. B. S.
Oradexon (โอราเดกซ์ซอน) MSD
Dermatop (เดอร์มาท็อป) sanofi-aventis
U-Closone (ยู-โคลโซน) HOE Pharmaceuticals
Betasol (เบทาซอล) Chew Brothers
Chinovate (ชิโนเวท) Chinta
Clinoderm (ไคลโนเดอร์ม) Bangkok Lab & Cosmetic
Clobasone (โคลบาโซน) Pharmaland
Clobet Cream (โคลเบท ครีม) Biolab
Dermovate (เดอร์โมเวท) GlaxoSmithKline
Omnaris (ออมนาริส) Takeda

บรรณานุกรม

1 http://en.wikipedia.org/wiki/Corticosteroid [2020,Feb8]
2 http://www.pnas.org/content/89/21/9991 [2020,Feb8]
3 http://www.webmd.com/asthma/inhaled-corticosteroids-for-long-term-control-of-asthma [2020,Feb8]
4 http://aic-server4.aic.cuhk.edu.hk/web8/corticosteroids.htm [2020,Feb8]
5 http://medical-dictionary.thefreedictionary.com/corticosteroids [2020,Feb8]
6 https://www.drugoffice.gov.hk/eps/do/en/consumer/news_informations/dm_02.html#e [2020,Feb8]
7 http://www.mims.com/Thailand/drug/search/?q=corticosteroids [2020,Feb8]
8 http://www.mims.com/Thailand/drug/info/symbicort-symbicort%20forte/?type=full#Contraindications [2020,Feb8]
9 http://www.mims.com/Thailand/drug/info/Kela/?type=brief [2020,Feb8]