คลอร์เฮกซิดีน (Chlorhexidine)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 20 มีนาคม 2563
- Tweet
- บทนำ
- คลอร์เฮกซิดีนมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- คลอร์เฮกซิดีนมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- คลอร์เฮกซิดีนมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- คลอร์เฮกซิดีนมีวิธีการใช้อย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- คลอร์เฮกซิดีนมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้คลอร์เฮกซิดีนอย่างไร?
- คลอร์เฮกซิดีนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษาคลอร์เฮกซิดีนอย่างไร?
- คลอร์เฮกซิดีนมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- แบคทีเรีย: โรคจากแบคทีเรีย (Bacterial infection)
- เชื้อรา โรคเชื้อรา (Fungal infection)
- น้ำยาฆ่าเชื้อ หรือ สารระงับเชื้อ (Antiseptics)
- ยีสต์ (Yeast)
บทนำ
คลอร์เฮกซิดีน (Chlorhexidine) เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ถูกนำมาใช้ในการทำความสะอาดมือ ผิวหนัง ให้ปราศจากจุลชีพต่างๆ ทางวงการเครื่องสำอางนำมาเป็นสารยับยั้งเชื้อในผลิต ภัณฑ์ เช่น ครีมทาผิว ยาสีฟัน น้ำยากำจัดกลิ่นตัว และผลิตภัณฑ์ระงับเหงื่อ ทางการแพทย์ได้นำคลอเฮกซิดีนมาผสมเป็นสารยับยั้งเชื้อ หรือสารกันบูดในยาหยอดตา ใช้เป็นสารออกฤทธิ์ในน้ำ ยาล้างแผล และใช้เป็นผลิตภัณฑ์น้ำยาบ้วนปากสำหรับคลินิกทันตกรรม
คลอร์เฮกซิดีน ออกฤทธิ์ได้ดีกับเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ ทั้งชนิดที่ชอบและ ไม่ชอบออกซิเจน (Aerobic and Anaerobic bacterias) ตลอดไปจนกระทั่งยีสต์ (Yeast: เชื้อราประเภทหนึ่ง)
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดให้คลอร์เฮกซิดีนเป็นเคมีภัณฑ์ที่จำเป็นต่อระบบสาธารณสุขขั้นมูลฐานในแต่ละประเทศ ประเทศไทยโดยกระทรวงสาธารณสุขได้บรรจุคลอร์เฮกซิดีนในบัญชียาหลักแห่งชาติแผนปัจจุบัน ตามรายการดังต่อไปนี้
1. คลอร์เฮกซิดีนกลูโคเนต (Chlorhexidine gluconate)
ขนาดความเข้มข้น 2% สำหรับรักษารากฟัน
2. คลอร์เฮกซิดีนกลูโคเนต (Chlorhexidine gluconate)
ขนาดความเข้มข้น 0.1% - 0.2% (น้ำหนัก/ปริมาตร) ในรูปแบบน้ำยาบ้วนปากสำหรับคลินิกทันตกรรมและใช้รักษาแผลในปาก
3. คลอร์เฮกซิดีนกลูโคเนต (Chlorhexidine gluconate)
ขนาดความเข้มข้น 2% และ 4% โดยผสมร่วมกับแอลกอฮอล์ 70% และขนาดความแรง 5%
อนึ่ง จากผลิตภัณฑ์คลอร์เฮกซิดีนดังกล่าวข้างต้น ล้วนแล้วแต่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ภาย นอกร่างกาย มักพบเห็นการใช้สอยในสถานพยาบาลเสียเป็นส่วนใหญ่ หากมีความจำเป็นต้องใช้คลอร์เฮกซิดีน เช่น น้ำยาบ้วนปาก หรือใช้ฆ่าเชื้อก่อนและหลังผ่าตัด ควรต้องอยู่ในดุลยพินิจ ของแพทย์เป็นผู้กำหนด
คลอร์เฮกซิดีนมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
คลอร์เฮกซิดีนมีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้ เช่น
คลอร์เฮกซิดีนมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
คลอร์เฮกซิดีนมีกลไกการอกฤทธิ์ โดยตัวยาจะยับยั้งการเจริญเติบโต และมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อทั้งแบคทีเรียและเชื้อรา ออกฤทธิ์ได้กับเชื้อโรคหลายชนิด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของตัวผลิต ภัณฑ์คลอร์เฮกซิดีน โดยกลไกของคลอร์เฮกซิดีนจะไปทำให้ผนังเซลล์ของเชื้อโรคเหล่านั้นแตกออกและทำให้เชื้อโรคตายลง
คลอร์เฮกซิดีนมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
คลอร์เฮกซิดีนมีรูปแบบการจัดจำหน่าย เช่น
1. รูปแบบน้ำยาบ้วนปาก ขนาดความเข้มข้น 0.12%
2. รูปแบบสบู่เหลวฆ่าเชื้อโรค ขนาดความเข้มข้น 4%
3. รูปแบบสารละลายเพื่อฆ่าเชื้อโรค ขนาดความเข้มข้น 5%
4. รูปแบบสบู่เหลวทำความสะอาดผิวหนัง โดยมีส่วนประกอบ Chlorhexidine 1.5% และ Cetrimide 15%
5. รูปแบบสารละลายใช้ฆ่าเชื้อบริเวณผิวหนัง โดยมีส่วนผสม Chlorhexidine 2% และ Isopropyl alcohol 70%
6. รูปแบบสารละลายความเข้มข้น 4% ใช้ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคที่มือของบุค คลากรทางการแพทย์ก่อนและหลังผ่าตัด
7. รูปแบบยาครีมทาฆ่าเชื้อโรค ขนาดความแรง 1%
8. รูปแบบยาครีมที่ใช้เป็นชุดปฐมพยาบาล โดยมีส่วนประกอบ Chlorhexidine 0.5% และ Dexpanthenol 5%
9.รูปแบบเจลหล่อลื่นผสมยาชาสำหรับการทำหัตถการทางการแพทย์ เช่น การสอดท่อ สวนเข้าในท่อปัสสาวะของผู้ป่วย โดยมีส่วนผสม Lidocaine 2% และ Chlorhexidine 0.05%
10.รูปแบบผ้าทำแผล มีส่วนผสมของคลอเฮกซิดีน 0.5%
คลอร์เฮกซิดีนมีวิธีการใช้อย่างไร?
คลอร์เฮกซิดีนมีวิธีการใช้ เช่น
ก. น้ำยาบ้วนปาก: เช่น อมบ้วนปากครั้งละ 15 ซีซี หลังอาหารเช้า - เย็น ควรอมและกลั้ว ในปากเป็นเวลา 30 วินาทีจึงบ้วนทิ้ง ไม่ต้องบ้วนตามด้วยน้ำเปล่า ยกเว้นแพทย์/ทันตแพทย์จะแนะนำ
ข. สำหรับถูมือเพื่อฆ่าเชื้อโรค: มักจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคลอร์เฮกซิดีนผสมร่วมกับแอลกอฮอล์ มีวิธีใช้ เช่น
- บรรจุผลิตภัณฑ์ในภาชนะ เช่น ขวดปั๊ม และติดตั้งในที่ที่มีอากาศระบายได้ดี
- ล้างมือทำความสะอาดเบื้องต้น เช็ด/ซับด้วยผ้าสะอาดให้แห้ง หรือทิ้งให้แห้งเอง แล้วจึง
- ถูทำความสะอาดมือด้วยน้ำยานี้ โดยลูบไล้ให้ทั่วฝ่ามือ ซอกนิ้ว และซอกเล็บ และทิ้งไว้ 15 วินาทีโดยประมาณ ไม่ต้องใช้ผ้าเช็ดหรือล้างน้ำออก ปล่อยให้แห้งเอง
ค. สำหรับฟอกมือก่อนและหลังผ่าตัด: เช่น มักเป็นสารละลายชนิด 4% ใช้ฟอกมือแทนสบู่ก่อนทำการผ่าตัด
อนึ่ง:
- การใช้คลอร์เฮกซิดีน ยังมีรูปแบบการใช้งานได้อีกหลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นกับขนาดความเข้มข้น ดังนั้น ก่อนการใช้งาน ควรต้องอ่านรายละเอียดวิธีการใช้ตามเอกสารกำกับยา/กำกับผลิตภัณฑ์ และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
*****หมายเหตุ: ขนาดยา และระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้ เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ผู้รักษาได้ การใช้ยาที่เหมาะสม ควรต้องปรึกษา แพทย์ หรือเภสัชกร ก่อนเสมอ
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาคลอร์เฮกซิดีน ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกร เช่น
- ประวัติแพ้ยาหรือสารเคมี เช่น คลอเฮกซิดีน หรือไม่
คลอร์เฮกซิดีนมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
คลอร์เฮกซิดีนมีผล/อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ผลข้างเคียง / อาการข้างเคียง) เช่น
- สามารถทำให้ผิวหนังบริเวณที่สัมผัส มีอาการระคายเคือง ลอก
- สำหรับน้ำยาบ้วนปาก อาจพบว่า ฟันมีสีคล้ำขึ้น ลิ้นมีสีซีด เป็นต้น
มีข้อควรระวังการใช้คลอร์เฮกซิดีนอย่างไร?
มีข้อควรระวังการใช้คลอร์เฮกซิดีน เช่น
- ห้ามใช้กับผู้แพ้ยานี้
- ห้ามใช้คลอร์เฮกซิดีนล้างฆ่าเชื้อในหูชั้นกลาง รวมถึงอวัยวะต่างๆที่มีความเปราะบางและไวต่อคลอร์เฮกซิดีน เช่น ลูกตา
- ระวังมิให้คลอร์เฮกซิดีนเข้าตา
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมคลอร์เฮกซิดีน) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้ง ควรต้องปฏิบัติตาม ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด เสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
คลอร์เฮกซิดีนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ยังไม่พบว่าคลอร์เฮกซิดีนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาชนิดอื่น
ควรเก็บรักษาคลอร์เฮกซิดีนอย่างไร
ควรเก็บรักษายาคลอร์เฮกซิดีน เช่น
- เก็บยาที่อุณหภูมิ15 - 30 องศาเซลเซียส (Celsius)
- เก็บยาให้พ้นแสง/ แสงแดด และความชื้น
- และเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
คลอเฮกซิดีนมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยาคลอร์เฮกซิดีน มียาชื่อการค้า และบริษัทผู้ผลิต เช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Bacard Antiseptic Cleanser (แบคการ์ด แอนตี้เซฟติก คลีนเซอร์) | Chew Brothers |
Bactigras (แบคทิกราส) | Smith & Nephew |
Bactricide (แบคทริไซด์) | Bayer HealthCare Consumer Care |
Bepanthen First Aid (เบแพนเทน เฟิร์ส เอด) | T. Man Pharma |
B-Mouthwash (บี-เมาท์วอช) | Medicpharma |
C-20 (ซี-20) | Osoth Interlab |
Cathejell With Lidocaine (คาเธเจล วิท ลิโดเคน) | Montavit |
Chlorhex (คลอเฮก) | Milano |
Chlorhex Polipharm (คลอเฮก โพลิฟาร์ม) | Polipharm |
Chlorhexidine Mybacin (คลอเฮกซิดีน มายบาซิน) | Greater Pharma |
Chlorsep (คลอเซพ) | Atlantic Lab |
Clocimide Concentrate (คลอซิมายด์ คอนเซ็นเทรท) | P P Lab |
Dekka (เด็คคา) | Pond’s Chemical |
Dekkalon (เด็คคาลอน) | Sinopharm |
Hexene Skin Cleanser (เฮกซีน สกิน คลีนเซอร์) | Osoth Interlab |
Hexide (เฮกไซด์) | Milano |
Hexidine (เฮกซิดีน) | BJ Benjaosoth |
Hydrex (ไฮเดร็กซ์) | Ecolab |
Inhibac Hospital Conc (อินฮิแบค ฮอสพิทอล คอน) | Pharmaland |
Killa (คิลลา) | T. Man Pharma |
Obitane (โอบิเทน) | Pharmasol |
OR Scrub/Solution Sinopharm (โออาร์ สครับ/โซลูชั่น ซิโนฟาร์ม) | Sinopharm |
Septol-C (เซพทอล-ซี) | BJ Benjaosoth |
Septrex (เซพเทร็ก) | Burapha |
บรรณานุกรม
1. http://en.wikipedia.org/wiki/Chlorhexidine [2020,March14]
2. https://www.mims.com/USA/drug/info/Chlorhexidine%20Gluconate/Chlorhexidine%20Gluconate%20Rinse?type=full[2020,March14]
3. http://www.chlorhexidinefacts.com/mechanism-of-action.html [2020,March14]
4. http://www.medicinenet.com/chlorhexidine-topicalmucous_membrane/article.htm [2020,March14]
5. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/chlorhexidine-topical-application-route/proper-use/drg-20070874 [2020,March14]