ยาใส่แผล การเลือกชนิดยาใส่แผล (Open wound drug administration)
- โดย ภก. กรชัย ฉันทจิรธรรม
- 3 กันยายน 2556
- Tweet
เมื่อเราเป็นแผล ก็ต้องมีการดูแลบาดแผลเพื่อให้หายเป็นปกติโดยเร็ว การดูแลแผลก็ต้องดูลักษณะของแผลว่าเป็นแผลชนิดใด เพื่อที่จะดูแลแผลได้ถูกต้อง หายไว แผลที่จะกล่าวถึงนี้เป็นแผลเปิดคือ แผลที่ผิวหนังบางส่วนฉีกขาดออกจากกัน ได้แก่
- แผลถลอก (Abrasion) ลักษณะแผลตื้น มีรอยเปิดเพียงชั้นนอกของผิวหนัง หรือเยื่อบุ มีเลือดซึมเล็กน้อย สาเหตุเกิดจากอุบัติเหตุ ถูกขีด ข่วน หรือลื่นไถลบนพื้นหยาบขรุขระ
- แผลฉีกขาด (Laceration wound) ลักษณะบริเวณขอบแผลฉีกขาด กระรุ่งกระริ่ง และมีการทำ ลายของเนื้อเยื่อแผลมาก แผลอาจลึก เสี่ยงต่อการติดเชื้อ สาเหตุเกิดจากอุบัติเหตุ เช่น รถล้ม หกล้ม เป็นต้น
- แผลถูกตัด (Incision wound) ลักษณะขอบแผลจะเรียบ ซึ่งเกิดจากของมีคมผ่านผิวหนังเข้าไป เช่น ถูกมีดบาด แผลถูกแทง ลักษณะแผล ปากแผลจะแคบลึก
- แผลทะลุทะลวง (Penetration wound) ลักษณะแผลมีการฉีกขาดและการบดทำลายของเนื้อ เยื่อ ซึ่งเกิดจากวัตถุแทงทะลุผ่านผิวหนังเข้าไปถึงเนื้อเยื่อที่อยู่ลึกๆหรืออวัยวะภายใน ทำให้มีการตกเลือด
การดูแลบาดแผล
การดูแลแผล เมื่อมีแผลโดยถ้าได้พบแพทย์ พยาบาลแล้ว ให้ดูแลแผล/ทำแผลตามที่แพทย์ พยาบาลแนะนำ
อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไป ถ้าบาดแผลไม่มาก เป็นแผลที่เกิดได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน การดูแลบาดแผลด้วยตนเองคือ
ก่อนใส่ยาใส่แผล ควรมีการทำความสะอาดแผลก่อน โดยใช้น้ำยาล้างแผลในการทำความสะอาดแผล น้ำยาล้างแผล ได้แก่
- น้ำเกลือล้างแผล (0.9% Normal saline) ที่ปราศจากเชื้อ (ซื้อได้ตามร้านขายยาทั่ว ไป) นิยมใช้ล้างแผลมากที่สุด ไม่ระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อ ไม่รู้สึกปวดแสบปวดร้อน แต่ถ้าไม่มีน้ำ เกลือล้างแผล ใช้น้ำประปาสะอาดต้มสุก (ทิ้งไว้ให้เย็น) แทนได้
- น้ำยาเช็ดรอบแผล ใช้สำหรับทำความสะอาดผิวหนังบริเวณรอบๆแผล เพื่อลดจำ นวนเชื้อโรค แต่ไม่เช็ดไปที่แผลโดยตรง เนื่องจากทำให้แสบ สามารถฆ่าเชื้อที่ผิวหนังได้ประมาณ 90% ภายใน 2 นาที โดยมีฤทธิ์ทำให้โปรตีนตกตะกอนหรือแตกสลาย ในท้องตลาดมี 2 ชนิดคือ เอธิลแอลกอฮอล์ 70% (Ethyl alcohol) และ ไอโซโพรพิล แอลกอฮอล์ 70% (Isopropyl alco hol) ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไม่ต่างกัน
- ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogenperoxide) ความเข้มข้น 3% ใช้สำหรับล้างแผลสกปรก แผลมีหนองหรือลิ่มเลือด น้ำยาสลายตัวได้ง่ายถ้าถูกความร้อนและแสงสว่าง จึงควรเก็บในขวดสีชา
อนึ่ง ยาใส่แผลมีหลายชนิด ใช้หลังจากที่ทำความสะอาดบาดแผลเสร็จแล้ว โดยทั่วไปควรเลือกให้เหมาะสมกับประเภทของบาดแผล ได้แก่
- ทิงเจอร์ไอโอดีนความเข้มข้น 2.5% (Tincture iodine 2.5%w/v) ใส่แผลสด หรือ แผลถลอก นิยมเช็ดรอบๆแผล ฆ่าเชื้อโรคได้หลายชนิด แต่มีข้อเสียคือทำให้ผิวหนังไหม้พองได้ ดังนั้นหลังจากใช้น้ำยา 1 นาที ให้เช็ดตามด้วยแอลกอฮอล์ 70% ไม่นิยมใช้กับแผลบริเวณเนื้อเยื่ออ่อนๆ
ยานี้สามารถฆ่าได้ทั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังได้ประมาณ 90 % ภายใน 90 วินาที ฆ่าไวรัสได้ภายใน 5 นาทีแต่ไม่มีข้อมูลว่าฆ่าได้ร้อยละเท่าไร
- โพวิโดน-ไอโอดีน ความเข้มข้น 10% (Povidone-Iodine 10% w/v) นิยมใช้ค่อนข้างมาก ใช้เช็ดแผลสด แผลไฟไหม้ แผลถลอก มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคได้ดี ไม่ระคายเคืองต่อผิว หนัง แสบน้อยกว่าทิงเจอร์ไอโอดีน
- ทิงเจอร์ไทเมอรอซอล ความเข้มข้น 0.1% (Thimerosal 0.1% w/v) ใช้ใส่แผลสดหรือแผลถลอก ไม่ใช้กับผิวอ่อนและเด็กอ่อนเพราะอาจทำให้ผิวไหม้พองได้
- ยาเหลือง (Acriflavin) ใช้กับแผลเรื้อรัง แผลเปื่อย แผลกดทับ ไม่นิยมใช้กับแผลสด
- ยาแดง (Mercurochrome) เหมาะกับแผลถลอกเล็กน้อย ไม่ค่อยได้ผลกับแผลที่อยู่ลึก และเนื่องจากยามีส่วนผสมของสารปรอท ใช้บ่อยๆอาจเกิดพิษจากสารปรอทได้ ปัจจุบันจึงไม่นิยมมากนัก
บรรณานุกรม
- http://www.healthtoday.net [2013,June26].
- http://www.ehow.com/about_6611317_define-tincture-iodine.html [2013,June36].