การออกกำลังกายป้องกันโรคมะเร็ง (Physical activity for cancer prevention)

บทความที่เกี่ยวข้อง
การออกกำลังกายป้องกันโรคมะเร็ง

สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา(เอซีเอส: ACS, American Cancer Society) ได้ให้คำแนะนำเป็นแนวทางในเรื่องการมีกิจกรรมทางกายที่รวมถึงการเคลื่อนไหวร่างกายและการออกกำลังกายซึ่งได้ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ด้านโรคมะเร็ง CA Cancer J Clin 2020;70:245-271

จากข้อมูลในสหรัฐอเมริกา อย่างน้อย18%ของการเกิดโรคมะเร็งและ16%ของการตายจากโรคมะเร็งจะสัมพันธ์กับ ภาวะน้ำหนักตัวเกิน, ขาดมีกิจกรรมทางกาย/การเคลื่อนไหวร่างกาย/การออกกำลังกาย, ดื่มแอลกอฮอล์, และการขาดสารอาหารมีประโยชน์ ดังนั้นประชาชนจึงสามารถป้องกันเกิดมะเร็งและดูแลตนเองเมื่อเป็นมะเร็งเพื่อลดอัตราตายฯได้ด้วยการดูแลตนเองด้านอาหารและจากมีกิจกรรมทางกายตามคำแนะนำของสมาคมฯ ซึ่งในที่นี้ขอสรุปเฉพาะที่สำคัญในเรื่องกิจกรรมทางกาย/การเคลื่อนไหวร่างกาย/การออกกกำลังกาย ดังนี้

เพื่อการมีสุภาพกายที่ดี ควรต้องเคลื่อนไหวร่างกายเสมอ:

ก. ผู้ใหญ่: ควรมีกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย/การออกกำลังกายระดับพอประมาณนาน 150-300 นาที/สัปดาห์, หรือถ้าออกกำลังกายในระดับเต็มที่(Vigorous intensity)ควรนาน 75-150นาที/สัปดาห์

ข. เด็กและวัยรุ่น: ควรมีกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย/การออกกำลังกายระดับพอประมาณนาน1 ชั่วโมง/วัน ในทุกๆวัน

ค. ทุกคน/ทุกวัย ควรต้องจำกัดกิจวัตรต่างๆที่ส่งผลให้ไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย ลงให้เหลือเท่าที่จำเป็น เช่น การนั่งๆนอนๆ, นั่งเล่น, นั่งทำงาน, นอนเล่น, ดูทีวี, เล่นมือถือ , การใช้งานคอมพิวเตอร์

ในด้านสังคม: ที่รวมถึงนโยบายของ ชาติ/รัฐบาล สังคม และชุมชน

  • ต้องส่งเสริมอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง ให้ประชาชนมีสถานที่ที่สามารถใช้ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย/ออกกำลังกายได้อย่างเหมาะสมกับทุกวัย ที่เข้าถึงได้ ง่าย สะดวก และปลอดภัย ทั้งในระดับ ชุมชน สถานที่ทำงาน และโรงเรียน

อนึ่ง:

  • การป้องกันโรคมะเร็งจะมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นเมื่อปฏิบัติร่วมกันทั้งการออกกำลังกายและการดูแลในเรื่องอาหาร (อาหารป้องกันโรคมะเร็ง)

หมายเหตุจากผู้เขียนเอง:

  • การป้องกันโรคมะเร็งทั้งในเรื่องของ อาหาร เครื่องดื่ม และการออกกำลังกาย ไม่ได้หมายความว่า เมื่อปฏิบัติตามคำแนะนำนี้แล้วจะไม่เป็นมะเร็ง เพียงแต่จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงฯลงได้อย่างมีประสิทธิผล ทั้งนี้เพราะสาเหตุเกิดโรคมะเร็งมาจากหลายๆปัจจัยเสี่ยงร่วมกัน ไม่ใช่เฉพาะ อาหาร เครื่องดื่ม และการออกกำลังกาย เช่น เชื้อชาติ, พันธุกรรม, ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของถิ่นที่อยู่อาศัย, สิ่งแวดล้อม, และการได้รับ สารก่อมะเร็ง

บรรณานุกรม

  1. C L, Rock, et al. CA Cancer J clin 2020;70:245-271
  2. https://www.cancer.org/healthy/eat-healthy-get-active/acs-guidelines-nutrition-physical-activity-cancer-prevention/guidelines.html[2021,Sept4]
  3. https://en.wikipedia.org/wiki/Exercise_intensity [2021,Sept4]