การตรวจสุขภาพประจำปี (Annual Physical Checkup)

สารบัญ

บทนำ

การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ แต่ถ้าต้องมีโรคก็อย่าให้ร้ายแรง และควรรู้ตั้งแต่เนิ่นๆเพื่อผลการรักษาจะได้ดีขึ้น ซึ่งปัจจุบันกระแสการรักษาสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพกำลังมาแรง ดังจะเห็นได้จากการประชาสัมพันธ์ของโรงพยาบาลเอกชนหรือศูนย์ด้านสุขภาพต่างๆ มีโปร แกรมการตรวจสุขภาพสำหรับผู้รักสุขภาพทุกคน ซึ่งโปรแกรมการตรวจนั้นมีหลากหลายรูปแบบ ค่าใช้จ่ายแต่ละโปรแกรมก็สูงพอสมควร ดังนั้น เราควรทราบว่าจริงแล้ว การตรวจสุขภาพคืออะ ไร ใครควรตรวจสุขภาพประจำปี และควรตรวจอะไรบ้าง

การตรวจสุขภาพประจำปีคืออะไร?

การตรวจสุขภาพประจำปี

การตรวจสุขภาพประจำปีคือ กิจกรรมการตรวจประเมินสุขภาพ โดยที่ผู้รับการตรวจยังไม่มีอาการผิดปกติ ยังอยู่ในภาวะที่ร่างกายยังปกติ และผู้ป่วยรู้สึกว่าร่างกายยังสมบูรณ์ เป็นการตรวจที่ทำในทุกๆปี ปีละ 1 ครั้ง ซึ่งเป็นการตรวจที่ประกอบด้วย การสัมภาษณ์/สอบถามประวัติอาการ และประวัติทางการแพทย์ต่างๆ การตรวจร่างกายโดยละเอียด การตรวจทางห้องปฏิบัติ การที่จำเป็น การให้วัคซีนป้องกันโรคตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข และการให้คำ ปรึกษาสุขภาพที่สอดคล้องกับสภาวะของผู้รับการตรวจแต่ละราย

การตรวจสุขภาพประจำปีในผู้ที่ไม่มีโรคหรือปัจจัยเสี่ยงกับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคแตก ต่างกันหรือไม่?

การตรวจสุขภาพในผู้ป่วย 2 กลุ่มนี้ ต้องแตกต่างกันอย่างแน่นอน กลุ่มที่ไม่มีปัญหาสุข ภาพใดๆ ก็ควรตรวจประเมินเฉพาะโรคที่พบได้บ่อยและป้องกันได้ ส่วนผู้ใหญ่ที่มีปัจจัยเสี่ยงก็ต้องตรวจประเมินเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงนั้นๆโดยเฉพาะเพิ่มเติม เช่น การมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ก็ต้องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพิ่มเติมจากการตรวจพื้นฐานสำหรับคนทั่วไปที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง เป็นต้น

การตรวจสุขภาพประจำปีผู้ใหญ่ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงได้แก่อะไรบ้าง?

การตรวจสุขภาพประจำปีผู้ใหญ่ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ที่ควรตรวจตามการแนะนำของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ได้แก่ ตารางกิจกรรมตรวจสุขภาพที่ควรทำสำหรับผู้ใหญ่ อายุ 20 ปีขึ้นไป ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ

ตารางที่ 1 การสัมภาษณ์/ประวัติ/ตรวจร่างกาย

กิจกรรม ปัญหาที่ต้องการป้องกัน คำอธิบายเพิ่มเติม
การสัมภาษณ์/ประวัติ/ตรวจร่างกาย
  • ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ
  • โรคในระยะเริ่มแรก
การสัมภาษณ์ประวัติและการตรวจร่าง กายโดยละเอียด เป็นกระบวนการตรวจคัดกรองที่สำคัญที่สุด และนำ ไปสู่การเลือกวิธีการตรวจคัดกรองที่เป็นประโยชน์สำหรับแต่ละบุคคล ความถี่ห่างในการให้เพื่อรับการตรวจขึ้นอยู่กับอายุและปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ
วัดความดันโลหิต (ก) ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัว ใจ/ โรคหลอดเลือดสมอง, โรคไตวาย ทุกวัย ตรวจทุกครั้งที่มาพบแพทย์ด้วยปัญหาต่างๆ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูง (ก) อ้วน, เบาหวาน, ไขมันในเลือดผิด ปกติ, ความดันโล หิตสูง, โรคหลอดเลือดหัวใจ,โรคหลอดเลือดสมอง ทุกวัย ตรวจวัดตามระยะเวลาที่เหมาะ สมอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง
การตรวจสายตา (ข) ปัญหาสายตา ทุกเพศ อายุ > 40 ปี ตรวจ visual activity ปีละ 1 ครั้ง
การตรวจการได้ยิน (ข) ปัญหาการได้ยิน ทุกเพศอายุ > 40 ปี ซักถามประวัติการได้ยินเสียงและส่งตรวจพิเศษ เมื่อผิดปกติ
การตรวจเต้านมสตรีโดยแพทย์ (ข) มะเร็งเต้านม อายุ > 40 ปี ปีละ 1 ครั้ง
 

ตารางที่ 2 การให้ภูมิคุ้มกัน

กิจกรรม ปัญหาที่ต้องการป้องกัน คำอธิบายเพิ่มเติม
การให้ภูมิคุ้มกัน
  • บาดทะยัก
  • คอตีบ (ก)
บาดทะยัก
คอตีบ
ทุกเพศ ทุกวัย booster ทุก 10 ปีต่อ เนื่องจากวัยเด็ก, ฉีดวัคซีนชนิดรวมกับบาดทะยัก
  • หัดเยอรมัน (ก)
Congenital Rubella Syndrome หญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่ไม่มีประวัติฉีดวัค ซีนมาก่อน และไม่ได้ตั้งครรภ์ในขณะตรวจ และหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์อีก 3 เดือน
 

ตารางที่ 3 การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

กิจกรรม ปัญหาที่ต้องการป้องกัน คำอธิบายเพิ่มเติม
ความเข้มข้นของเลือด(hematocrit/hemoglobin) (ข) โรคโลหิตจาง ทุกเพศ ทุกวัยตรวจทุก 3 ปี
การตรวจปัสสาวะ (urinalysis) (ข) โรคไตอักเสบ นิ่วในไต เบาหวาน ทุกเพศ ทุกวัยตรวจทุก 3 ปี
การตรวจอุจจาระ (stool exam for parasites) (ข) พยาธิทางเดินอาหาร มะเร็งท่อน้ำดี ทุกเพศ ทุกวัยตรวจทุก 1 ปี
น้ำตาล (plasma glucose) (ข) เบาหวาน ทุกเพศ อายุ 45 ปีขึ้นไปตรวจทุก 3 ปี
ไขมัน (cholesterol) (ข) ไขมันในเลือดผิด ปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจ ทุกเพศ อายุ 35 ปีขึ้นไปตรวจทุก 3 ปี
เอช ไอ วี (HIV antibody) (ข) การแพร่กระจายของ HIV ทุกเพศ ทุกวัย แนะนำให้ตรวจโดยสมัครใจก่อนสมรส
มะเร็งปากมดลูก (Pap smear) (ก) มะเร็งปากมดลูก หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์ หรืออายุมาก กว่า 35 ปี ตรวจปีละครั้งติดต่อกัน 3 ปี หลังจากนั้นตรวจทุก 3 ปี จนอายุถึง 65 ปี
 

ตารางที่ 4 การให้คำปรึกษาแนะนำ

กิจกรรม ปัญหาที่ต้องการป้องกัน คำอธิบายเพิ่มเติม
ออกกำลังกาย (ก) อ้วน/เบาหวาน ไข มันในเลือดผิดปกติ ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจ ทุกเพศ ทุกวัย ให้ออกกำลังกายชนิดแอโรบิค อย่างน้อยวันละ 15 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง
เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์/สารเสพติด (ก) ตับแข็ง/โรคสมองพิการ/อุบัติเหตุ ภยันตราย ทุกเพศ ทุกวัย ซักถามประวัติและแนะ นำให้เข้าใจถึงอันตรายจากสารเสพติด/สุรา
สูบบุหรี่ (ก) มะเร็งในปอด/ปอดเรื้อรัง, โรคหัวใจ/ผลแทรกซ้อนอื่นๆ ของการสูบบุหรี่ ทุกเพศ ทุกวัย ซักถามประวัติการสูบบุหรี่และแนะนำให้ผู้สูบบุหรี่ เลิกสูบบุหรี่ทุกครั้งที่พบแพทย์ไม่ว่าด้วยปัญหาใด แนะนำการปฏิบัติตนเพื่อเลิกบุหรี่
เอดส์/โรคติดต่อทางเพศ สัมพันธ์ (ก) การวางแผนครอบครัว เอดส์/โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์/การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ทุกเพศ ทุกวัย อธิบายอันตรายและวิธี การป้องกัน,ทุกเพศ ทุกวัย อายุ 20 ปี อธิบายวิธี การคุมกำเนิดต่างๆที่ถูกต้อง ปัญหาเพศสัมพันธ์ต่างๆ
การป้องกันอุบัติภัย (ก) การบาดเจ็บ/ตาย จากอุบัติภัย ทุกเพศ ทุกวัย อธิบายการป้องกันอุบัติภัยที่พบบ่อย อันตรายจากการขับขี่ในขณะดื่มสุรา ยาเสพย์ติด ประโยชน์การสวมหมวกกันน๊อค, คาดเข็มขัดนิรภัย การระวังอุบัติภัยในผู้สูง อายุ
การตรวจเต้านมด้วยตนเอง (ก) มะเร็งเต้านมสตรี อายุมากกว่า 20 ขึ้นไป แนะนำวิธีการตรวจเต้านมโดยตนเองและให้ตรวจด้วยตนเอง เดือนละ 1 ครั้ง
 

น้ำหนักคำแนะนำ

  • “ก”. คือ มีหลักฐานการศึกษาทางวิชาการที่เชื่อถือได้เป็นอย่างดี สนับสนุนการกระทำดัง กล่าวมีประโยชน์คุ้มค่า (ควรทำ)
  • “ข”. คือ มีหลักฐานพอเชื่อถือได้ ประกอบกับความเห็นของผู้เชี่ยวชาญว่า การกระทำดัง กล่าวอาจมีประโยชน์คุ้มค่า (น่าทำ)
  • “ค”. คือ ยังมีหลักฐานไม่เพียงพอในการสนับสนุนหรือคัดค้านว่า การกระทำดังกล่าวมีประโยชน์คุ้มค่าหรือไม่ (อาจทำหรืออาจไม่ทำ)
  • “ง”. คือ มีหลักฐานพอสรุปว่า การกระทำดังกล่าวไม่ได้ประโยชน์คุ้มค่า หรือมีผลเสีย (ไม่ควรทำ)
 

การตรวจสุขภาพประจำปีเพิ่มเติมในประชากรที่มีปัจจัยเสี่ยงคืออะไร?

ปัจจัยเสี่ยงทางการแพทย์ที่พบบ่อย ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ทุกระดับ เพราะเป็นผู้สัมผัสโรคจากการทำงาน, ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศหรือเสพสารเสพติด, ผู้เสี่ยงต่อโรคเบา หวาน เช่น พ่อ แม่ พี่น้องเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน และ/หรือ คลอดบุตรน้ำหนักมาก เป็นต้น, สูบบุหรี่, ความดันโลหิตสูง, และประวัติมะเร็งเต้านมในครอบครัว ซึ่งรายละเอียดการตรวจสุข ภาพดังตาราง

กลุ่มประชากรเสี่ยง ปัญหาที่ต้องการป้องกัน มาตรการที่แนะนำ
บุคลากรทางการแพทย์ หรือผู้ปฏิบัติ งานในห้องปฏิบัติการทดลองที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบ บี ไวรัสตับอักเสบ เอ วัณโรค วัคซีนตับอักเสบ บีวัคซีนตับอักเสบ เอ Tuberculin test ในผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีน บีซีจี (ตรวจการติดเชื้อวัณโรค)
ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ หรือยาเสพย์ติด เอดส์ โรคติดต่อทางเพศ สัมพันธ์ Anit-HIV VDRL Vaginal smear for GC Hepatitis B
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ได้ แก่ ประวัติบิดา มารดา หรือพี่น้องเป็นเบาหวาน, อ้วน, ประวัติเบา หวานขณะตั้งครรภ์ หรือ คลอดบุตรที่มีน้ำหนักมาก เบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ ชายและหญิงอายุมาก กว่า 20 ปี ตรวจน้ำตาล ทุก 3 ปี แนะนำโภชนา การ การออกกำลังกายและการรักษาน้ำหนักตัวที่เหมาะสม
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดแดงแข็งอย่างน้อย 2 ปัจจัย ได้แก่ สูบบุหรี่/อ้วน, ความดันโลหิตสูง, เบา หวาน, ประวัติโรคหัวใจขาดเลือด, อัมพาตในครอบครัว ชายอายุมาก กว่า 45 ปี หญิงอายุมากกว่า 50 ปี โรคหลอดเลือดหัวใจ/โรคหลอดเลือดสมอง ตรวจคลอเรสเตอรอล, ไตรกลีเซอร์ไรด์, ไขมัน เอช ดี แอล (HDL)
สตรีที่มีญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งเต้านม หญิงอายุ 35 ปี ขึ้นไป ตรวจแมมโมแกรม/ตรวจภาพรังสีเต้านม (mammography) ทุก 1 ปี
ผู้ที่มีญาติสายตรงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่/มะเร็งทวารหนัก โรคทางพันธุ กรรม polyposis, ulcerative colitis/ลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง, adenoma tous polyposis มะเร็งลำไส้ใหญ่/มะเร็งทวารหนัก ชาย/หญิง อายุ 50 ปี ขึ้นไป ตรวจเลือดปนออกมาในอุจจาระทุก 1 ปี ตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทุก 3-5 ปี
 

ลำดับขั้นการตรวจสุขภาพประจำปีควรทำอย่างไร?

ลำดับขั้นการตรวจสุขภาพประจำปี คือ ควรพบแพทย์เป็นลำดับแรก เพื่อสัมภาษณ์ประ วัติทางการแพทย์ต่างๆ ประเมินความเสี่ยงของโรคต่างๆ จะได้กำหนดรายละเอียดของการตรวจสุขภาพได้ถูกต้อง ต่อจากนั้นก็เป็นการตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เมื่อทราบผล ก็พบแพทย์เพื่อให้คำอธิบายผลการตรวจสุขภาพ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ อย่างไร ควรต้องดูแลสุขภาพอย่างไร ต้องรักษาโรคหรือภาวะใดๆหรือไม่ หรือต้องตรวจอะไรเพิ่มเติมอีกหรือไม่ เป็นต้น ร่วมกับการตอบข้อสงสัย และให้คำปรึกษาต่อผู้รับการตรวจ

อนึ่ง การปฏิบัติในปัจจุบัน มักเริ่มจากการนัดหมายกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล และเลือกโปรแกรมการตรวจตามความต้องการของผู้รับการตรวจนั้น ซึ่งอาจก่อให้เกิดความสิ้นเปลืองในการตรวจ หรือการตรวจที่ไม่เหมาะสม ไม่ครบถ้วน หรือเกินความจำเป็น นอกจากนี้ยังพบว่าบางสถานพยาบาลหลังจากตรวจทางห้องปฏิบัติการครบแล้ว ก็ค่อยมาพบแพทย์เพื่อสัมภาษณ์ประ วัติและตรวจร่างกาย ต่อจากนั้นจะส่งผลการตรวจทั้งหมดไปให้ผู้รับการตรวจที่บ้านหรือสถานที่ทำงาน พร้อมกับคำแนะนำ ซึ่งการปฏิบัติแบบนี้อาจก่อให้เกิดการตรวจสุขภาพที่ไม่เหมาะสมได้ กล่าวคือ การแปรผลการตรวจสุขภาพนั้น ควรต้องได้ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการร่วมกับการสัมภาษณ์ประวัติ ตรวจร่างกาย และอธิบายผลการตรวจสุขภาพต่อผู้รับการตรวจโดยตรง เพื่อการเข้าใจที่ดี รวมทั้งต้องแนะนำการปรับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้ดีด้วย

การเลือกตรวจโปรแกรมการตรวจสุขภาพประจำปีที่ดีคืออย่างไร?

โปรแกรมการตรวจสุขภาพที่ดี ควรต้องประกอบด้วยการตรวจพื้นฐานให้ครบตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ร่วมกับการเลือกตรวจเพิ่มเติมกรณีมีปัจจัยเสี่ยงในแต่ละข้อ ชุดการตรวจที่ถูกกำหนดล่วงหน้านั้น อาจไม่เหมาะสมในแต่ละบุคคล ควรต้องพิจารณาตรวจให้เหมาะสมเฉพาะบุคคล ดังนั้นการพบแพทย์/การปรึกษาแพทย์ก่อน จึงเป็นเรื่องที่จะเหมาะสมกว่า

การตรวจสุขภาพประจำปีอะไรที่ไม่มีประโยชน์?

การตรวจสุขภาพประจำปีที่ปฏิบัติกันบ่อยๆ แต่ไม่มีประโยชน์ตามหลักฐานทางการแพทย์ กรณีไม่มีอาการผิดปกติใดๆ คือ

  • การตรวจอัลตราซาวด์ หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อตรวจหาโรคมะเร็งของอวัยวะภายใน เช่น ตับ ตับอ่อน ไต รังไข่ มดลูก
  • การตรวจสารบ่งชี้มะเร็ง/สารมะเร็ง (Tumor marker) ไม่ว่าจะเป็น มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งรังไข่ มะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • การตรวจเอกซเรย์ปอด เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องอก และตรวจเสมหะถ้าไม่มีอาการผิดปกติ
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในผู้รับการตรวจอายุน้อยกว่า 40 ปี
  • การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก กรณีไม่มีอาการใดๆ
 

การตรวจสุขภาพควรตรวจบ่อยแค่ไหน?

การตรวจสุขภาพโดยทั่วไป คือ ทุก 1 ปี ยกเว้น มีปัจจัยเสี่ยงและแพทย์ต้องการเฝ้าระ วังอย่างใกล้ชิด อาจตรวจบ่อยขึ้น ทั้งนี้ขึ้นกับคำแนะนำของแพทย์ เช่น ทุก 6 เดือน

ผลตรวจพบว่าหัวใจโตจากการเอกซเรย์ปอด ควรทำอย่างไร?

เมื่อผลการตรวจสุขภาพประจำปีจากเอกซเรย์ปอด พบหัวใจโต กรณีไม่มีอาการใดๆ ไม่มีโรคประจำตัว หรือความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจ ก็ไม่ควรต้องทำอะไร แต่ถ้ามีอาการผิด ปกติ เช่น เหนื่อยง่าย เจ็บแน่นหน้าอก นอนราบไม่ได้ ก็ควรต้องพบแพทย์ เพื่อประเมินระบบหัว ใจและหลอดเลือดให้ดี กรณีมี ความดันโลหิตสูงก็ต้องรักษาควบคุมความดันโลหิตให้ดี

ผลตรวจการทำงานของตับพบว่ามีตับอักเสบหมายความว่าอย่างไร และควรทำอย่างไร ?

ผลการตรวจสุขภาพประจำปีจากตรวจเลือดดูการทำงานของตับ พบตับอักเสบ โดยส่วนใหญ่คือ พบค่าเอนไซม์ตับ เอ แอล ที (ALT) และ/หรือ เอ เอส ที (AST) เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งการสูง ขึ้นนั้น อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดต่างๆ เช่น ไวรัสตับอักเสบ เอ, ไวรัสตับอัก เสบ บี, ไวรัสตับอักเสบ ซี หรือไวรัสตับอักเสบ ดี, การดื่มแอลกอฮอล์, หรือภาวะไขมันเกาะตับ /ไขมันพอกตับ, รวมทั้งการทานยาบางชนิดที่มีผลต่อการทำงานของตับ เช่น ยารักษาวัณโรค เป็นต้น ดังนั้น เมื่อผลการตรวจหน้าที่ของตับพบภาวะตับอักเสบ ก็ต้องพบแพทย์ประเมินว่า มีจากสาเหตุใด ยังไม่ต้องวิตกกังวลว่า ต้องเป็นไวรัสตับอักเสบ หรือมะเร็งตับเสมอไป

ผลตรวจสุขภาพประจำปีผิดปกติควรทำอย่างไร?

เมื่อผลตรวจสุขภาพประจำปีผิดปกติ สิ่งแรกที่ควรทำคือ ควรตั้งสติตนเองให้ดี อย่าวิตกกังวลเกินไป และก็ไปพบแพทย์พร้อมผลตรวจ เพื่อให้แพทย์ได้อธิบายในรายละเอียดของความผิดปกตินั้นๆ ทั้งนี้ความผิดปกติส่วนใหญ่เป็นความผิดปกติเล็กน้อย ไม่รุนแรง แพทย์เพียงแนะนำให้เข้าใจและแก้ไข ภาวะผิดปกตินั้นๆก็จะดีขึ้นเป็นปกติ

สรุป

การตรวจสุขภาพประจำปีนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีสุขภาพแข็งแรง ป้องกันการเป็นโรค หรือวินิจฉัยโรคได้แต่เนิ่นๆ กรณีผลการตรวจปกติ มิได้หมายความว่าให้ผู้รับการตรวจนั้น ไม่ต้องดูแลสุขภาพตนเองต่อไป หรือบางคนพอทราบผลการตรวจปกติ ก็ดื่มเหล้าฉลองผลการตรวจสุขภาพ การกระทำเช่นนี้ไม่สมควรอย่างยิ่ง

ศ.นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า

อายุรแพทย์ประสาทวิทยา