การตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง (Cancer screening)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 17 สิงหาคม 2561
- Tweet
- เนื้องอก (Tumor)
- มะเร็ง (Cancer)
- มะเร็งในเด็ก (Pediatric cancer)
- แป๊บสเมียร์: การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap- smear หรือ Pap test)
- วิธีตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก (Cervical cancer screening) โรคมะเร็งเต้านม(Breast cancer screening) และโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal cancer screening)
- การตรวจภาพรังสีเต้านม แมมโมแกรม (Mammogram)
- วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก เอชพีวีวัคซีน (HPV vaccine)
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง (Cancer screening หรือ Cancer early detection ) คือ การตรวจเพื่อการค้นหาโรคมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มเป็นโรค โดยผู้ป่วยยังไม่มีอาการ ทั้งนี้ การตรวจจะต้องตรวจเป็นระยะๆตามคำแนะนำของแพทย์ ส่วนการควรเริ่มตรวจเมื่อไร? และด้วยวิธีการใด? ขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์ ที่ได้จากการศึกษาทางการแพทย์
วิธีตรวจคัดกรองโรคมะเร็งที่มีประสิทธิภาพ หมายถึง เมื่อตรวจคัดกรองด้วยวิธีการนี้แล้ว ผู้ป่วยมีอัตราอยู่รอดจากโรคมะเร็งภายหลังการรักษาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ/หรือ สามารถลดอัตราเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลงได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
นอกจากนั้น การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งที่มีประสิทธิภาพ ยังต้องเป็นการตรวจที่ง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงแทรกซ้อนจากการตรวจน้อยที่สุด และต้องเป็นผลข้างเคียงที่ไม่รุนแรง และไม่ทำให้เสียชีวิต รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการตรวจไม่แพง และคนส่วนใหญ่ทั่วไปสามารถเข้าถึงบริการการตรวจได้ง่าย
ปัจจุบัน การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งที่มีประสิทธิภาพ มีใน 3 โรคมะเร็ง คือ
- การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก
- การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม และ
- การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
แนะนำอ่านเพิ่มเติมเรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งทั้ง3ชนิดดังกล่าวในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง
- วิธีตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก (Cervical cancer screening) โรคมะเร็งเต้านม
- มะเร็งปากมดลูก
- มะเร็งเต้านม
- มะเร็งลำไส้ใหญ่
อนึ่ง การตรวจคัดกรองมะเร็งอื่นที่ยังเป็นที่ถกเถียงในหมู่แพทย์โรคมะเร็งว่า มีประโยชน์ มีความปลอดภัย และค่าใช้จ่ายสมควรหรือไม่ เพราะการตรวจคัดกรองมะเร็งจะต้องมีการตรวจต่อเนื่องอย่างน้อยไปจนถึงอายุ 70- 75ปี หรืออาจมากกว่า ซึ่งมะเร็งเหล่านั้น ได้แก่
- มะเร็งต่อมลูกหมาก (แนะนำอ่านเพิ่มเติมในเว็บhaamor.com บทความเรื่อง มะเร็งต่อม ลูกหมาก)
- มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก (แนะนำอ่านเพิ่มเติมในเว็บhaamor.com บทความเรื่อง มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก)
- มะเร็งรังไข่ (แนะนำอ่านเพิ่มเติมในเว็บhaamor.com บทความเรื่อง มะเร็งรังไข่)
- มะเร็งปอด (แนะนำอ่านเพิ่มเติมในเว็บhaamor.com บทความเรื่อง มะเร็งปอด)
- มะเร็งตับ(แนะนำอ่านเพิ่มเติมในเว็บhaamor.com บทความเรื่อง มะเร็งตับ)