เม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ (Hematuria)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 8 กรกฎาคม 2558
- Tweet
- ปัสสาวะเป็นเลือด (Hematuria)
- กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)
- โรคไต (Kidney disease)
- โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract infection)
- กรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis)
- โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract infection)
- นิ่วในท่อไต (Ureteric stone)
การตรวจปัสสาวะ เป็นการตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดการตรวจหนึ่ง สามารถวินิจฉัยโรคที่พบบ่อยได้หลายโรค เป็นการตรวจที่ทำได้ง่าย ไม่มีผลข้างเคียง รู้ผล ได้รวดเร็วภายในไม่เกิน 1 ชั่วโมง ไม่ใช้เทคโนโลยีที่สูงเกินไป จึงมีค่าใช้จ่ายในการตรวจที่ไม่สูง ดังนั้นการตรวจปัสสาวะจึงเป็นหนึ่งในการตรวจสุขภาพทั่วไป ซึ่งถ้าพบมีความผิดปกติแพทย์จะให้การตรวจอื่นๆเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุที่แน่นอนเช่น การตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ (ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ) ด้วยอัลตราซาวด์
ในปัสสาวะปกติจะไม่พบเม็ดเลือดแดงหรือพบได้ไม่เกินประมาณ 2 เซลล์ซึ่งเกิดจากการปนเปื้อนจากสารคัดหลั่งตามปกติจากอวัยวะต่างๆในระบบทางเดินปัสสาวะ แต่บางครั้งเมื่อมีแผล ที่อวัยวะเพศภายนอกหรือในผู้หญิงถ้าตรวจปัสสาวะในช่วงมีประจำเดือนจะตรวจพบเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะจากการปนเปื้อนของเลือดจากแผลหรือจากประจำเดือนได้
โดยทั่วไป เมื่อตรวจพบเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะเกินกว่า 2 เซลล์โดยผู้ป่วยไม่ได้มีการปัสสาวะเห็นเป็นเลือดอย่างชัดเจน แพทย์จะตรวจปัสสาวะซ้ำอย่างน้อย 2 - 3 ครั้งเพื่อการวินิจ ฉัยที่แน่นอน ซึ่งโรคที่เป็นสาเหตุให้มีเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะผิดปกติที่พบบ่อยคือ
- โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบซึ่งเป็นสาเหตุพบบ่อยที่สุด
- โรคไตอักเสบอาจทั้งจากติดเชื้อหรือชนิดไม่ใช่จากการติดเชื้อ
- นิ่วในไต นิ่วในท่อไต หรือนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
- ท่อปัสสาวะอักเสบ
- เนื้องอกในไต ในกระเพาะปัสสาวะ ในท่อไต หรือในท่อปัสสาวะ
- โรคมะเร็งในระบบทางเดินปัสสาวะเช่น โรคมะเร็งไตหรือโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
- ต่อมลูกหมากอักเสบ
Updated 2015, June 13