ฮอร์โมน (Hormone)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 6 กุมภาพันธ์ 2556
- Tweet
ฮอร์โมน เป็นสารเคมีที่สร้างจากเซลล์บางชนิด เช่น เซลล์ของตับ หรือเซลล์ของไต และจากต่อมในระบบต่อมไร้ท่อต่างๆ ดังนั้นจึงมีได้หลากหลายชนิดของฮอร์โมน
ฮอร์โมน มีหน้าที่ช่วยในการทำงานของเนื้อเยื่อและอวัยวะทุกชนิดในร่างกาย โดยร่างกายต้องการใช้ฮอร์โมนแต่ละชนิดในปริมาณน้อยมาก และเมื่อขาดฮอร์โมน จะไม่ส่งผลให้เสีย ชีวิต แต่จะส่งผลถึงคุณภาพชีวิต เช่น การขาดฮอร์โมนเพศหญิงในวัยหมดประจำเดือน และ ในภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน เป็นต้น แต่ถ้ามีการสร้างฮอร์โมนมากเกินปกติ ก็จะส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติ หรือภาวะผิดปกติ/โรคต่างๆได้เช่นกัน เช่น โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ และ โรคพีซีโอเอส เป็นต้น
ทั้งนี้ เนื้อเยื่อ และอวัยวะที่จะนำฮอร์โมนแต่ละชนิดไปใช้ได้ จะต้องมีตัวรับเฉพาะแต่ละฮอร์โมนนั้นๆเท่านั้น เนื้อเยื่อ/อวัยวะที่ไม่มีตัวรับฮอร์โมนชนิดนั้นๆ จะไม่สามารถนำฮอร์โมนนั้นๆไปใช้ได้ ซึ่งเรียกตัวรับฮอร์โมนนี้ว่า Hormone receptor ตัวอย่างเช่น อวัยวะที่จะนำฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen, ฮอร์โมนเพศหญิง) ไปใช้ได้ อวัยวะนั้นจะต้องมี Estrogen receptor เช่น เซลล์ของเต้านม และเซลล์ของเยื่อบุโพรงมดลูก เป็นต้น
ฮอร์โมนที่เรารู้จักกันดี เช่น
- ฮอร์โมนเอสโตรเจน สร้างจากรังไข่
- ฮอร์โมนเทสโตสเตโรน (Testosterone) สร้างจากอัณฑะ (ฮอร์โมนเพศชาย)
- ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) สร้างจากตับอ่อน (ควบคุมการใช้น้ำตาลของร่างกาย)
- และฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโตของเซลล์ต่างๆโดยเฉพาะของกระดูกและของเนื้อเยื่อเกี่ยว พัน (Growth hormone) สร้างจากต่อมใต้สมอง เป็นต้น
บรรณานุกรม
- Hormone. http://en.wikipedia.org/wiki/Hormone [2012,Dec22].