สารคัดหลั่ง (Body fluid)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 3 มกราคม 2559
- Tweet
- การตรวจเลือด การเจาะเลือดตรวจ (Blood test)
- ปัสสาวะ การตรวจปัสสาวะ (Urinalysis)
- การตรวจอุจจาระ (Stool examination)
- เสมหะ เสลด (Sputum)
- อสุจิ (Spermatozoa) และน้ำอสุจิ น้ำกาม (Semen)
- ของเหลว/น้ำ (Body fluid) เลือด (Blood) น้ำเลือด (Plasma) น้ำเหลือง (Serum, Lymph) หนอง (Pus)
- เลือด
- ตกขาว (Leucorrhea)
สารคัดหลั่ง (Body fluid หรือ Body discharge หรือ Secretion) หมายถึงสารมีลักษณะเป็นของเหลวที่ร่างกายสร้างขึ้นทั้งเพื่อให้ความชุ่มชื้น เป็นการหล่อลื่น เป็นอาหาร เป็นสารให้ภูมิต้านทาน หรือเป็นของเสียที่ร่างกายต้องกำจัดทิ้ง
สารคัดหลังของร่างกายได้แก่
- เลือด
- น้ำเหลืองจากเลือด
- เหงื่อ
- ไขมันจากต่อมเหงื่อ
- น้ำเหลือง
- หนอง
- น้ำไขสันหลัง
- น้ำตา
- น้ำในช่องต่างๆของลูกตา
- ขี้หู
- น้ำมูก/ขี้มูก
- น้ำลาย
- เสมหะ/เสลด
- น้ำนม
- อาเจียน
- น้ำดี
- น้ำจากช่องคลอดหรือตกขาว
- น้ำอสุจิ
- น้ำต่างๆในโพรงของอวัยวะต่างๆเช่น น้ำในช่องท้องและน้ำในช่องปอด
- ปัสสาวะ
สารคัดหลั่งมักเจือปนด้วยเชื้อโรค ดังนั้นการสัมผัสสารคัดหลั่งจึงมีโอกาสติดโรคได้
เมื่อรู้ว่าจะต้องสัมผัสสารคัดหลั่งควรต้องระมัดระวัง สวมถุงมือยางเสมอและระมัดระวังไม่ ให้สารคัดหลั่งสัมผัสเยื่อตาและช่องปาก นอกจากนั้นคือการล้างมือให้สะอาดหลังสัมผัสสารคัดหลั่งถึงแม้จะสวมถุงมือฯแล้วหรือไม่ก็ตาม
บรรณานุกรม
1. Body fluid http://en.wikipedia.org/wiki/Body_fluid [2015,Dec12]
Updated 2015, Dec 12