ภาวะกรด-ด่างของปัสสาวะ (Urine pH)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 8 พฤศจิกายน 2558
- Tweet
- ปัสสาวะ การตรวจปัสสาวะ (Urinalysis)
- โรคไต (Kidney disease)
- ภาวะขาดน้ำ (Dehydration)
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract infection)
- โรคปอด โรคของปอด โรคทางปอด (Pulmonary disease)
ปัสสาวะปกติมีค่าความเป็นกรด-ด่างที่เรียกว่า ค่า พีเอช (pH: Potential of hydrogen ion) ค่อนข้างไปในทางเป็นกรดอ่อนๆ (ค่า pH ประมาณ 5.5 - 6.5) แต่อาจมีค่า pH อยู่ระหว่าง 4.6 - 8 ได้ และเช่นเดียวกับสีและกลิ่น ค่า pH ขึ้นกับปริมาณน้ำที่ดื่ม ประเภทอาหาร และยาที่บริโภค
ภาวะ/โรคที่เป็นสาเหตุให้ปัสสาวะมีความเป็นกรดสูงเช่น ภาวะร่างกายเป็นกรด (Acidosis) เช่น ในโรคเบาหวานระยะที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ ท้องเสียรุนแรง โรคขาดอาหาร ภาวะขาดน้ำรุนแรง โรคระบบทางเดินหายใจรุนแรงที่ผู้ป่วยหายใจไม่สะดวกจนก่อการคั่งของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด (เช่น โรคถุงลมโป่งพอง) กินยาแอสไพรินเกินขนาด และเมาสุรา
ภาวะ/โรคที่เป็นสาเหตุให้ปัสสาวะมีความเป็นด่างสูงเช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (เช่น จากภาวะมีการอุดตันของท่อทางเดินปัสสาวะ) โรคไตเรื้อรัง อาการอาเจียนรุนแรง ภาวะ/ปัญหาทางอารมณ์จิตใจที่ส่งผลให้เกิดอาการทางการหายใจคล้ายอาการหอบจากโรคหืด (Hyperventilation syndrome) เป็นต้น
บรรณานุกรม
- Simerville, F. et al. (2005). Urinalysis: A Comprehensive review. Am Fam Physician. 71, 1153-1162
- Urine http://en.wikipedia.org/wiki/Urine [2015,Oct17]
Updated 2015, Oct 17