ปวด เจ็บ (Pain)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 1 พฤศจิกายน 2558
- Tweet
- ปวดหัว ปวดศีรษะ (Headache)
- ปวดท้อง (Abdominal pain)
- ปวดหลังช่วงล่าง (Low back pain)
- ไฟโบรมัยอัลเจีย:กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ เอ็น และเนื้อเยื่ออ่อน (Fibromyalgia)
- เจ็บหน้าอก (Chest pain)
- ปวดเอว (Flank pain)
- ปวดฟัน (Toothache)
- ปวดหู (Earache)
- กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS / Premenstrual syndrome)
- ปวดประจำเดือน (Dysmenorrhea)
ปวด/เจ็บ (Pain) เป็นอาการ เป็นความรู้สึกไม่สุขสบายที่เกิดจากมีการกระตุ้นประสาทรับความเจ็บปวด ทั้งนี้มักเกิดจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในบริเวณที่เกิดอาการปวด/เจ็บ ระคายเคือง อักเสบ บาดเจ็บ หรือถูกทำลายจากสาเหตุต่างๆเช่น การอักเสบจากติดเชื้อ การบวม บาดแผล และจากการทำลายของเซลล์มะเร็ง แต่ถ้าเรากดลงตรงตำแหน่งที่ปวด/เจ็บและรับรู้ว่าตำแหน่งนั้นปวดมักใช้คำว่า เจ็บ แทนคำว่าปวด ดังนั้นทางคลินิก เจ็บ (Tenderness) จึงเป็นสิ่งที่ตรวจพบหรือแสดงออกให้เห็น ตัวอย่างเช่น การปวดท้องด้านขวาตอนล่างจะเป็นอาการ แต่ถ้ากดลงตรงตำแหน่งที่ปวด ยิ่งส่งผลให้อาการปวดท้องจุดนั้นรุนแรงขึ้นเรียกว่า เกิดอาการกดแล้วเจ็บ
อาการปวด/เจ็บเกิดได้กับทุกๆเนื้อเยื่อและทุกๆอวัยวะเช่น ปวดศีรษะ ปวดฟัน ปวดท้อง ปวดหลัง และปวดขา
อาการปวด/เจ็บมักเกิดร่วมกับอาการอื่นๆเช่น เมื่อเกิดจากการติดเชื้อมักเกิดร่วมกับมีไข้ เมื่อปวดท้องมักเกิดร่วมกับคลื่นไส้อาเจียน เมื่อปวดมากมักเป็นสาเหตุให้ปวดจนนอนไม่หลับ เป็นต้น
อาการปวด/เจ็บเป็นอาการสำคัญมาก มักเป็นอาการที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์ โดยอาจปวด/เจ็บมาก ปวด/เจ็บน้อย ขึ้นกับพยาธิสภาพของโรค และคุณสมบัติส่วนตัวของแต่ละคนที่จะทนปวด/ทนเจ็บได้มากน้อยต่างกัน นอกจากนั้นอาการปวด/เจ็บมากน้อยยังขึ้นกับภาวะทางอารมณ์/จิตใจ ถ้าเครียด วิตกกังวล กลัว ซึมเศร้า อาการปวด/เจ็บจะมากขึ้นและมักไม่บรรเทาด้วยยาแก้ปวด
Updated 2015, Oct 10