นิ่ว: โรคนิ่ว (Calculi)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 11 ธันวาคม 2558
- Tweet
- นิ่วในไต (Kidney stone)
- นิ่วในท่อไต (Ureteric stone)
- นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (Vesical calculi)
- นิ่วในถุงน้ำดี นิ่วถุงน้ำดี (Gallstone)
- หินปูนเยื่อตา นิ่วเยื่อตา (Conjunctival concretion)
- นิ่วทอนซิล ทอนซิลโลลิท (Tonsillolith)
นิ่ว (Stone หรือ Calculi หรือ Lithiasis) คือเกลือเคมี หรือสารเคมีบางชนิดเช่น ไขมันคอ เลสเทอรอลที่เกิดเป็นก้อนแข็งอยู่ภายในอวัยวะต่างๆเช่น ไต กระเพาะปัสสาวะ และถุงน้ำดี หรือในท่อของต่อมบางชนิดในร่างกายเช่น ในท่อน้ำลาย/นิ่วน้ำลาย หรือในท่อตับอ่อน
กลไกการเกิดนิ่วจะแตกต่างกันตามอวัยวะที่เกิดนิ่วเช่น
- นิ่วในถุงน้ำดี เกิดจากการมีเกลือเคมีหรือสารเคมีบางชนิดในร่างกายสูงมากผิดปกติ อาจเกิดจากการบริโภคอาหารบางชนิดไม่ถูกสัดส่วนเช่น กินอาหารคอเลสเทอรอลสูง หรือ
- นิ่วในไต เกิดจากมีการติดเชื้อเรื้อรังของไต และจากภาวะมีปัสสาวะน้อย สารต่างๆในปัสสาวะจึงเข้มข้นตกตะกอนได้ง่าย
นอกจากนั้นสารประกอบในนิ่ว อาการ วิธีวินิจฉัย และวิธีรักษา (โดยทั่วไปมักเป็นการผ่าตัด) ยังแตกต่างกันขึ้นกับว่าเป็นนิ่วของอวัยวะใดเช่น นิ่วในไต หรือนิ่วในถุงน้ำดี
ส่วนความรุนแรงของนิ่วขึ้นกับอวัยวะที่เกิดนิ่ว ขนาดก้อนนิ่ว และสุขภาพร่างกายของผู้เป็นนิ่ว เช่น นิ่วในไตจะรุนแรงกว่านิ่วในถุงน้ำดี เป็นต้น
บรรณานุกรม
- Calculus(Medicine) http://en.wikipedia.org/wiki/Calculus_(medicine) [2015,Dec21]
Updated 2015, Nov 21