ติ่ง ติ่งเนื้อ (Tag)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 29 พฤศจิกายน 2558
- Tweet
- โรคผิวหนัง (Skin disorder)
- เนื้องอก (Tumor)
- มะเร็ง (Cancer)
- ติ่งเนื้อผิวหนัง ติ่งเนื้อ (Acrochordon)
- หูด (Warts)
ติ่ง ติ่งเนื้อ (Tag) จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง เนื้อหรือสิ่งที่งอกยื่นออกมาเล็กๆจากส่วนใหญ่ พบเกิดได้กับทุกเนื้อเยื่อ/อวัยวะทั่วร่างกายเช่น ผิวหนัง และลำไส้ เป็นต้น โดยทั่วไปมักพบเกิดที่ผิวหนัง (Skin tag) ซึ่งพบเกิดได้กับผิวหนังทุกส่วนของร่างกายที่พบบ่อยคือ หนังตา ลำคอ รักแร้ ปากทวารหนัก
พบติ่งเนื้อผิวหนังเกิดได้บ่อยถึงประมาณ 50% ของประชากรทั่วไป
ติ่งเนื้อผิวหนังไม่เปลี่ยนเป็นโรคมะเร็งและมักไม่ก่ออาการ เชื่อว่าเกิดจากผิวหนังในบริเวณที่เกิดโรคเกิดการเสียดสีหรือมีแผลจากการเสียดสีเรื้อรัง และร่างกายซ่อมแซมโดยการสร้างเนื้อเยื่อพังผืด
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดติ่งเนื้อคือ เพศหญิง พันธุกรรม และอาจจากการติดเชื้อไวรัสบางชนิดได้
โดยทั่วไปติ่งเนื้อไม่ก่ออาการ ไม่หายไปเอง อาจค่อยๆใหญ่ขึ้นบ้าง แต่ไม่เปลี่ยนแปลงใหญ่มาก และไม่จำเป็นต้องรักษา แต่ถ้าผู้ป่วยต้องการรักษาจากปัญหาด้านความสวยงาม แพทย์มักรักษาด้วยการจี้ด้วยความเย็นหรือไฟฟ้า หรืออาจตัดออก
บรรณานุกรม
- Acrochordon http://en.wikipedia.org/wiki/Acrochordon [2015,Nov7]
Updated 2015, Nov 7