การแพทย์สนับสนุน (Complementary medicine) / การแพทย์ทางเลือก (Alternative medicine)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 30 พฤศจิกายน 2560
- Tweet
- บทนำ
- นิยามการแพทย์ชนิดต่างๆ
- ทำไมการแพทย์แผนปัจจุบันจึงขัดแย้งกับการแพทย์สนับสนุนการแพทย์ทางเลือก?
- การแพทย์สนับสนุนการแพทย์ทางเลือกมีผลข้างเคียงไหม?
- ทำไมผู้ป่วยจึงเลือกรักษาด้วยการแพทย์สนับสนุนการแพทย์ทางเลือก?
- เมื่อประสงค์จะรักษาด้วยการแพทย์สนับสนุนการแพทย์ทางเลือกควรทำอย่างไร?
- สรุป
- บรรณานุกรม
- เนื้องอก (Tumor)
- มะเร็ง (Cancer)
- มะเร็งในเด็ก (Pediatric cancer)
- การดูแลตนเองเมื่อป่วยเป็นโรคมะเร็ง และการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง (Cancer patient self-care and Cancer care)
- การดูแลตนเอง การดูแลผู้ป่วยเคมีบำบัด (Coping with chemotherapy)
- อาหารป้องกันมะเร็ง (Nutrition for cancer prevention)
- การออกกำลังกาย: แนวทางการออกกำลังกายเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี (Exercise concepts for healthy lifestyle)
บทนำ
การรักษาผู้ป่วยด้วยวิชาการด้านการแพทย์มีหลายแขนง ที่เราคุ้นเคย เช่น การแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์แผนจีน นอกจากนั้น ที่มีเพิ่มเติมเข้ามา คือ การแพทย์สนับสนุน การแพทย์ทางเลือก การแพทย์ผสมผสาน และการแพทย์องค์รวม ซึ่งการ แพทย์ทุกรูปแบบนี้ ปัจจุบันผู้ให้การรักษาเป็นแพทย์แผนปัจจุบันเพิ่มมากขึ้นกว่าในสมัยก่อนมาก ทั้งในประเทศไทยเองและในประเทศทางตะวันตก เพราะหลายวิธีการพบว่า สามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้
นิยามการแพทย์ชนิดต่างๆ
การแพทย์ชนิดที่จะกล่าวถึงในบทความนี้คือ การแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์สนับสนุน การแพทย์ทางเลือก การแพทย์องค์รวม และการแพทย์ผสมผสาน
การแพทย์แผนปัจจุบัน (Conventional medicine): คือ การแพทย์ที่นำความรู้ที่ได้จากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ แล้วนำมาใช้รักษาโรคต่างๆรวมทั้งโรคมะเร็ง เช่น ยาแผนปัจจุบันต่างๆ การผ่าตัด เวชศาสตร์ฟื้นฟู รังสีรักษา และยาเคมีบำบัด
การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์: จะต้องผ่านการคัดกรองและการอนุมัติจากคณะกรรมการด้านจริยธรรมทางการแพทย์ก่อนเสมอ เมื่อผ่านการอนุมัติแล้วจึงจะทำ การศึกษาวิจัยได้ ซึ่งจะประกอบด้วยการศึกษาอย่างน้อย 3 ขั้นหรือระยะ (Phase) คือ
- ระยะ 1: เป็นการศึกษาในห้องปฏิบัติการ หรือในสัตว์ทดลองว่า ตัวยา หรือวิธีการรักษานั้นๆก่อให้เกิดผลอย่างไรต่อสัตว์ทดลอง ทั้งในการรักษาโรค และในผลข้างเคียง
- ระยะ 2: เป็นการศึกษาต่อเนื่องจากระยะที่ 1 ที่ทราบถึงประโยชน์และโทษของยา/วิธีรักษาในสัตว์แล้ว เป็นการศึกษาในคนที่เป็นอาสาสมัคร หรือในผู้ป่วยที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการที่มีอยู่ในปัจจุบัน และสมัครใจเข้าร่วมการศึกษา เพื่อศึกษาว่าตัวยา มีประโยชน์ และโทษอย่างไรในคน สามารถนำมาใช้ในคนได้ไหม?
- ระยะ 3: เป็นการศึกษาต่อเนื่องจากระยะที่ 2 เป็นการศึกษาในคน 2 กลุ่มที่มีเหมือนกันในทางสถิติ กลุ่มหนึ่งให้การรักษาด้วยวิธีมาตรฐาน และอีกกลุ่มให้การรักษาด้วยยา /วิธีการใหม่ ทั้งนี้เลือกกลุ่มศึกษาโดยการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการทางสถิติ และผู้ป่วยยอมรับเข้าร่วมการศึกษา การศึกษาในระยะนี้ สำคัญมาก จะต้องมีรูปแบบการศึกษาทางสถิติที่น่าเชื้อถือ ทั้งในจำนวนผู้ป่วยในการศึกษาต้องมากพอตามหลักสถิติ และยังต้องสามารถติดตามผลการรักษา/การศึกษาได้นานเพียงพอ เช่น ในผู้ป่วยมะเร็ง การศึกษาต้องติดตามผลอย่างน้อยนาน 5 ปี
อนึ่ง ในการศึกษาทางการแพทย์ การประเมินผลต้องประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 2 ประ การคือ รูปแบบของการศึกษา (Strength of study design) และวิธีประเมินผลศึกษา (Strength of endpoints measured) ซึ่งโดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นคำแนะนำจากสถาบันใดจะคล้ายคลึงกัน เช่น สถาบันมะเร็งแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (U.S. National Cancer Institute, NCI) ซึ่งแบ่งรูปแบบของการศึกษาและของการประเมินผลศึกษาเป็นระดับๆตามความน่าเชื่อถือจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด จาก ระดับ 1 ถึงระดับ 4 ตัวยา/วิธีการที่จะนำมาเป็นการรักษามาตรฐาน จะต้องมีระดับความน่าเชื่อถือทั้งรูปแบบการศึกษาและวิธีประเมินผลอยู่ในระ ดับ 1 ถ้าอยู่ในระดับที่ต่ำกว่านี้ หมายความว่า ผลที่จะได้รับเมื่อนำมารักษาผู้ป่วยอาจไม่แน่นอน
หลังจากนำยา/วิธีนั้นมาใช้รักษาผู้ป่วยแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนการศึกษา
- ระยะ 4: คือ การติด ตามผลของยา/วิธีการนั้นตลอดไปในระยะยาว เพื่อประเมินผลดี และผลข้างเคียงที่เกิดจากการรักษาในระยะยาว ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย
การแพทย์สนับสนุน (Complementary medicine): คือ ยา และ/หรือวิธีรักษาโรคที่ไม่ใช่การแพทย์แผนปัจจุบัน แต่นำมาใช้รักษาผู้ป่วยร่วมกับการแพทย์แผนปัจจุบัน เช่น ยาสมุนไพรต่างๆ การฝังเข็ม อาหารประเภทต่างๆ (เช่น มังสวิรัติ หรือแมกโครไบโอติค/Macrobio tics) การทำสมาธิ การฝึกสมาธิ การนวด การใช้พลังจิต และอื่นๆ ซึ่งวิธีในการรักษามักเป็นวิธีเดียวกับการแพทย์ทางเลือก
การแพทย์ทางเลือก (Alternative medicine) คือ ยา และ/หรือวิธีรักษาโรคที่ไม่ใช่การแพทย์แผนปัจจุบัน มักเป็นวิธีการเดียวกับการแพทย์สนับสนุน จึงเป็นสาเหตุให้ มักรวมการ แพทย์ทั้งสองชนิดนี้ไว้ด้วยกัน เรียกว่า การแพทย์สนับสนุนและการแพทย์ทางเลือก ตัวย่อ คือ แคม (CAM, Complementary and Alternative medicine) แต่ต่างกันที่ “การแพทย์ทางเลือก จะแนะนำผู้ป่วยให้ปฏิเสธการแพทย์แผนปัจจุบัน ใช้วิธีการทางการแพทย์ทางเลือกเพียงแผนเดียว”
การแพทย์องค์รวม (Holistic medicine): หมายถึงการแพทย์ที่รักษาผู้ป่วย โดยการรักษาทั้งด้านร่างกาย (Physical) จิตใจ (Mental) และจิตวิญญาณ (Spiritual) ทั้งนี้โดยทั่วไป จะไม่ใช้วิธีการทางการแพทย์แผนปัจจุบัน
การแพทย์ผสมผสาน (Integrative medicine): เป็นการแพทย์ที่ใช้การแพทย์แผนปัจจุบันร่วมกับการแพทย์สนับสนุน การแพทย์ทางเลือก และการแพทย์องค์รวม โดยเลือกใช้วิธีของการแพทย์ต่างๆ เฉพาะที่ได้มีการศึกษาด้วยวิธีการทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ที่ผลการศึกษาเป็นที่ยอมรับได้ของแพทย์แผนปัจจุบัน
ทำไมการแพทย์แผนปัจจุบันจึงขัดแย้งกับการแพทย์สนับสนุนการแพทย์ทางเลือก?
ปัจจุบัน การแพทย์แผนปัจจุบันยอมรับการแพทย์สนับสนุนและการแพทย์ทางเลือก จนเกิดเป็นอีกหนึ่งสาขาของการแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งวิธีการทางการแพทย์สนับสนุน การแพทย์ทางเลือกที่การแพทย์แผนปัจจุบันยอมรับและนำมาใช้ จะเป็นเฉพาะวิธีการที่ได้ผ่านการศึกษาทางการแพทย์ด้วยวิธีศึกษาดังได้กล่าวแล้ว และพบว่า เมื่อนำมาใช้อย่างถูกวิธี จะไม่เกิดโทษ และสามารถช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยได้
โดยทั่วไปแพทย์แผนปัจจุบัน ยอมรับการแพทย์สนับสนุนเสมอ เมื่อวิธีการรักษาไม่ขัดกับการรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบัน เช่น การนั่งสมาธิ ดนตรีบำบัด มวยจีน แต่ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์แผนปัจจุบันก่อนใช้การแพทย์สนับสนุนเพื่อจะได้ไม่ขัดกัน เพื่อจะนำไปสู่การรักษาที่เพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วย แต่แพทย์ทั่วไปมักไม่ยอมรับการแพทย์ทางเลือกที่ห้ามผู้ ป่วยรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบัน
การที่แพทย์แผนปัจจุบันยังไม่ยอมรับวิธีการรักษาทางการแพทย์สนับสนุน การแพทย์ทางเลือกทั้งหมด เนื่องจากการศึกษาทางการแพทย์สนับสนุนและการแพทย์ทางเลือกมักยังเป็นการศึกษาในระยะ 2 มีการศึกษาในระยะ 3 บ้างแต่มักเป็นการศึกษาที่รูปแบบการศึกษาและการประเมินผลมักอยู่ในระดับ 3-4 รวมทั้งมักเป็นกลุ่มผู้ป่วยจำนวนน้อย เป็นการศึกษาโดยไม่มีการศึกษาสุ่มตัวอย่าง และระยะเวลาติดตามผลการรักษาสั้น เป็นเดือน หรือ 1-2 ปี จึงทำให้เกิดตัวแปร และตัวกวนในการศึกษามาก ส่งผลให้ความน่าเชื่อถือในการศึกษาลดลง
อย่างไรก็ตาม การแพทย์แผนปัจจุบัน กำลังดำเนินการศึกษาในเรื่องวิธีการรักษาทางการแพทย์สนับสนุน การแพทย์ทางเลือกอย่างจริงจัง เพื่อให้ได้วิธีการที่มีประโยชน์และเหมาะสมกับผู้ป่วย โดยเฉพาะในการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วย
การแพทย์สนับสนุนการแพทย์ทางเลือกมีผลข้างเคียงไหม?
คนทั่วไปมักเข้าใจว่า การแพทย์สนับสนุนการแพทย์ทางเลือกไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียง ซึ่งเป็นการเข้าใจที่ผิด เพราะยาไม่ว่าจะจากธรรมชาติ เช่น สมุนไพร หรือจากการสังเคราะห์ เมื่อกินมากเกินไปก็ก่อโทษทั้งสิ้น เช่น วิตามิน หรือเกลือแร่ หรืออาหารเสริมต่างๆ โดยผลข้าง เคียงที่พบบ่อย คือ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ ปวดท้อง และถ้าตัวยาสะสมมากในร่างกาย อาจเกิดผลกระทบต่อการทำงานของ ไต ตับ และไขกระดูกได้
ยาสมุนไพรบางชนิดนิยมผสมสาร/ยาสเตียรอยด์ เพราะจะทำให้ผู้ป่วยกินได้/อยากอาหาร ซึ่งผลคือการกดภูมิคุ้มกันต้านทานโรค การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร และโรคกระดูกพรุน ผู้ป่วยจึงติดเชื้อง่าย เลือดออกง่าย บวม และกระดูกหักง่าย
วิธีการบำบัดรักษาที่ใช้การเคลื่อนไหวต่างๆ เช่น โยคะ หรือการเต้นรำ บางชนิด ถ้าผู้ป่วยมีปัญหาทางกล้ามเนื้อ ข้อ กระดูก อาจเป็นสาเหตุให้กระดูกหัก หรือเกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและของข้อต่างๆได้
อีกผลข้างเคียงที่อาจพบได้ และเป็นผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย คือ การติดเชื้อโรค โดย เฉพาะเมื่อเป็นการรักษาโดยการใช้เครื่องมือ หรือมีหัตถการ ที่อาจเกิดจากความไม่สะอาดของเครื่องมือ ของตัวยา และของวิธีการ เช่น การสวนทวาร การล้างพิษ หรือการรักษาโดยการใช้เซลล์ตัวอ่อน (Stem cell)
ดังนั้น การใช้การแพทย์สนับสนุนและการแพทย์ทางเลือก ผู้ป่วยและครอบครัวควรไตร่ ตรองเช่นเดียวกับในการเลือกใช้การแพทย์แผนปัจจุบันเช่นกัน ไม่ควรรักษาด้วยความเชื่อ หรือศรัทธาเพียงอย่างเดียว
ทำไมผู้ป่วยจึงเลือกรักษาด้วยการแพทย์สนับสนุนการแพทย์ทางเลือก?
ผู้ป่วยกลุ่มที่มีเลือกใช้การแพทย์สนับสนุนการแพทย์ทางเลือกมากที่สุด คือ ผู้ป่วยโรค มะเร็ง ซึ่งได้มีการศึกษา และพบว่าสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งเลือกใช้การแพทย์สนับสนุนและการแพทย์ทางเลือก คือ
- เพื่อลดความรุนแรงของผลข้างเคียงจากวิธีรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบัน
- กลัวผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบัน
- ช่วยลดความกังวล ความกลัวในวิธีรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบัน
- หาวิธีดีที่สุด เพื่อช่วยตนเองเพิ่มจากการแพทย์แผนปัจจุบัน เพื่อช่วยให้การรักษาโรคได้ผลดียิ่งขึ้น
- พยายามที่จะรักษาโรคของตนเอง
- ไม่แน่ใจในผลจากการรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบัน
- มีความหวัง เชื่อมั่น ศรัทธาในการรักษาด้วยวิธีการทางการแพทย์สนับสนุนและการแพทย์ทางเลือกว่า รักษาโรคให้หายได้
- ผู้ที่แนะนำ เป็นผู้ที่ผู้ป่วยไว้ใจ เช่น ครอบครัว เพื่อน
- เคยได้ยินว่า วิธีการเหล่านี้ รักษาโรคให้หายได้ โดยเฉพาะจากคนในครอบครัวและคนที่ผู้ป่วยไว้ใจ
- วิธีการรักษาง่าย ไม่ซับซ้อน ไม่เจ็บปวด ไม่มีผลข้างเคียงมาก
- ผู้ให้การรักษามักให้ความเชื่อมั่นในผลการรักษา ให้ความหวัง
- การรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบัน รักษาโรคไม่หายแล้ว
เมื่อประสงค์จะรักษาด้วยการแพทย์สนับสนุนการแพทย์ทางเลือกควรทำอย่างไร?
เมื่อประสงค์จะรักษาด้วยการแพทย์สนับสนุนการแพทย์ทางเลือกควรพิจารณาด้วยสติ หลักวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ด้วยความเชื่อ หรือตามคำบอกเล่า หรือศรัทธา โดยการศึกษาหาความรู้ก่อน ดังนี้
- ถามตนเองให้แน่ใจว่า ทำไมต้องการใช้การแพทย์สนับสนุนการแพทย์ทางเลือก
- ควรปรึกษาหาข้อมูลจากแพทย์แผนปัจจุบันผู้ให้การรักษาโรคมะเร็งก่อน
- ค้นคว้าข้อมูลทางการแพทย์ที่เป็นวิทยาศาสตร์เพิ่มเติมจากองค์กรที่เชื้อถือได้
- พิจารณาถึงคุณสมบัติของผู้ให้การรักษาทางการแพทย์สนับสนุนและการแพทย์ ทางเลือกว่า เป็นผู้มีความรู้ทางการแพทย์จริงหรือไม่
- สถานที่ให้การรักษา เหมาะสม สมควรหรือไม่
- แพทย์แผนปัจจุบันปฏิเสธ หรือยอมรับการรักษานั้น เพราะอะไร
- รู้จักตัวยาไหม? ตัวยา และวิธีการมีการรับรองจากองค์กรวิชาชีพไหม? ยาเป็นตำ นาน หรือความเชื่อ คนรักษารู้อยู่คนเดียว? ใช้ไสยศาสตร์ หรือ อิทธิฤทธิ์ หรือไม่
- ห้ามใช้การแพทย์แผนปัจจุบันหรือไม่ ทำไมจึงห้าม
- วิธีการนั้นๆมีผลข้างเคียงหรือไม่ อย่างไร และเมื่อเกิดผลข้างเคียงแล้ว ใครเป็นผู้ รักษา
- แพทย์มะเร็งแผนปัจจุบันมีความเห็นอย่างไรกับวิธีการเหล่านี้
- ราคา ค่าใช้จ่ายเหมาะสมหรือไม่
สรุป
การรักษาโรคด้วยการแพทย์สนับสนุนการแพทย์ทางเลือก ควรใช้สติ ไม่ควรเป็นความเชื่อ โดยเฉพาะในการรักษาโรคมะเร็ง เพราะการรักษาโรคมะเร็งด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันจะมีโอกาสรักษาได้หายสูงขึ้นเมื่อโรคยังไม่มีการลุกลามรุนแรง หรือแพร่กระจาย ดังนั้นเมื่อปล่อยระ ยะเวลาให้ล่าช้าออกไป โดยการเลือกใช้วิธีทางการแพทย์สนับสนุนการแพทย์ทางเลือกก่อน โรคมักรุนแรงและแพร่กระจายแล้ว การกลับมายอมรับการรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบัน จึงเป็นเพียงการรักษาประคับประคองตามอาการ ซึ่งเมื่อผู้ป่วยเสียชีวิต(ตาย) คนทั่วไปมักจะสรุปว่า ผู้ ป่วยรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันแล้วเสียชีวิต ไม่ได้รู้ลึกแท้จริงว่าผู้ป่วยเสียชีวิตจากอะไร
- http://www.cancer.gov/publications/patient-education/thinking-about-cam [2017,Nov11]
- http://www.cancer.gov/publications/pdq/levels-evidence/cam#section/all [2017,Nov11]
บรรณานุกรม
Updated 2017, Nov11