logo

คำถามจาก วิกิยา

Home / FAQ ยา/ ยาแก้ปวด

คำถามเกี่ยวกับยา

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : ยาแก้ปวด

1. ยาพาราเซตามอล (Paracetamol): มีใช้ในประเทศไทยอย่างแพร่หลาย จัดเป็นยาสามัญประจำบ้าน หาซื้อง่าย ราคาไม่แพง
2. ยาเอ็นเสด (NSAIDs = Non-steroidal anti-Inflammatory drugs) คือ ยาในกลุ่มต้านการอักเสบ/ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่ยาสเตียรอยด์ เช่น ยา Ibuprofen, Diclofenac,  Mefenamic, Indomethacin, Piroxicam, Nimesulide
3. ยาคอกทูอินฮิบิเตอร์ (COX-2 Inhibitors): เช่น Celecoxib
4. กลุ่มยาแก้ปวดชนิดเสพติด (Narcotic analgesic): เช่น Morphine) และ Codeine

กลไกการบรรเทาปวดของยาแก้ปวดจะแตกต่างและเป็นคนละแบบกับยาชา เพราะยาชากำจัดทั้งความเจ็บปวดและทำให้ความรู้สึกถึงการสัมผัสของร่างกายสูญหายไปด้วยพร้อมๆ กัน ส่วนกลไกการออกฤทธิ์ของยาแก้ปวด สามารถออกฤทธิ์ระงับปวดจากความรู้สึกที่สมอง หรือออกฤทธิ์ที่อวัยวะที่มีอาการปวดโดยตรง ทั้งนี้ อาจแบ่งแนวทางการออกฤทธิ์ของยาแก้ปวดได้ดังนี้

1. ออกฤทธิ์ห้ามมิให้ร่างกายสร้างหรือหลั่งสารที่ก่อให้เกิดอาการปวด
2. ยับยั้งฤทธิ์ของสารในร่างกายที่หลั่งออกมาและทำให้รู้สึกปวด
3. ห้ามไม่ให้เม็ดเลือดขาวออกมาสร้างปฏิกิริยากับบาดแผลที่ได้รับบาดเจ็บจนก่อเกิดอาการปวด

  • เป็นพิษกับตับและไต
  • ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร (กระเพาะอาหารและลำไส้)
  • กระตุ้นความดันโลหิตให้สูงขึ้นในผู้ที่ป่วยมีโรคความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว
  • อาจมีผลให้เกิดโรคหัวใจ
  • นอกจากนี้ อาจพบอาการ/ผลข้างเคียงอื่นๆ ตามมา เช่น ผื่นคัน ปวดศีรษะ ง่วงนอน และหอบหืด
  • อาการปวดจากปวดเมื่อยธรรมดา: ไม่ต้องใช้ยา เพียงแค่นอนพัก อาการก็จะดีขึ้นเอง
  • ถ้าจำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวด โดยที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับยานั้นๆ ให้ปรึกษาเภสัชกรที่ร้านยาใกล้บ้าน
  • กรณีที่มีโรคประจำตัว ควรต้องระมัดระวังการใช้ยาแก้ปวดต่างๆ โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือเมื่อมีแผลในกระเพาะอาหาร เพราะยาแก้ปวดหลายตัวจะส่งเสริมให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หรืออาจส่งผลถึงการทำงานของหัวใจ หรือก่อให้เกิดเลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหารได้ นอกจากนี้ ยาแก้ปวดจะถูกเปลี่ยนแปลงหรือทำลายโดยตับและขับออกทางไต ดังนั้น หากต้องใช้ยาแก้ปวดในผู้ที่มีภาวะตับและ/หรือไตผิดปกติ ควรให้แพทย์เป็นผู้แนะนำเท่านั้น
  • การใช้ยาแก้ปวดในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ ควรต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกร