logo

คำถามจาก วิกิยา

Home / FAQ ยา/ ยาปฏิชีวนะ

คำถามเกี่ยวกับยา

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : ยาปฏิชีวนะ

ก. ยาเพนิซิลลิน (Penicillin): เป็นยาใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียได้ในหลายเนื้อเยื่อ/อวัยวะ เช่น คออักเสบ เป็นต้น เป็นกลุ่มยาที่ไม่ทนกับกรดในกระเพาะอาหาร จึงต้องกินยาก่อนอาหาร และถูกขับออกจากร่างกายโดยผ่านไต แต่ยาบางตัวในกลุ่มนี้ก็ถูกขับออกโดยผ่านกระบวนการที่ตับก่อน ตัวอย่างยากลุ่มนี้ เช่น อะมอกซิซิลลิน (Amoxicillin) แอมปิซิลลิน (Ampicillin) คลอกซาซิลลิน (Cloxacillin) และ ฟลูคลอซาซิลลิน (Flucloxacillin) เป็นต้น

ข. อะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycosides): เป็นยาใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียที่กระดูก ข้อ การติดเชื้อที่ผิวหนัง การติดเชื้อ/โรคติดเชื้อระบบหายใจ การติดเชื้อหลังผ่าตัด ยากลุ่มนี้ไม่ค่อยดูดซึมทางลำไส้ ต้องใช้วิธีฉีดเข้ากล้ามหรือฉีดเข้าทางหลอดเลือด มีความเป็นพิษต่อไตและหูชั้นใน ตัวอย่างยากลุ่มนี้ เช่น เจนตามัยซิน (Gentamycin) สเตรปโตมัยซิน (Streptomycin) นีโอมัยซิน (Neomycin) เป็นต้น

ค. เซฟาโลสปอริน (Cephalosporin): เป็นกลุ่มยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด เช่น ชนิดก่อการอักเสบทางเดินหายใจ/โรคติดเชื้อระบบหายใจ และทางเดินอาหาร/โรคติดเชื้อทางเดินอาหาร ยากลุ่มนี้ไม่ทนกรดเช่นเดียวกับกลุ่มเพนิซิลลิน และดูดซึมในทางเดินอาหารได้ไม่ดี จึงต้องใช้การฉีดเข้ากล้ามหรือเข้าหลอดเลือด แต่ก็พบว่ายาเซฟาโลสปอรินบางตัวมีคุณสมบัติทนกรดได้ดี ทั้งยังสามารถให้ยาด้วยการกินได้ โดยยาเซฟาโลสปอรินจะถูกขับออกจากร่างกายผ่านทางไตออกมากับปัสสาวะ ส่วนน้อยถูกทำลายและผ่านออกมาทางตับ ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ เช่น เซฟาโซลิน (Cefazolin) เซฟาคลอร์ (Cefaclor) เซฟูรอกซีม (Cefuroxime) เป็นต้น

ง. แมคโครไลด์ (Macrolide): เป็นยาปฏิชีวนะที่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียโดยการก่อกวนที่สารพันธุกรรม (RNA) ทำให้เชื้อไม่สามารถสังเคราะห์โปรตีนในการดำรงชีวิตได้ มักใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียในทางเดินหายใจส่วนบน/โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน และโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง (เช่น ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ) ตัวอย่างยากลุ่มนี้ เช่น อีรีโทรมัยซิน (Erythromycin) อะซิโทรมัยซิน (Azithromycin) คลาริโธรมัยซิน (Clarithromycin) เป็นต้น

จ. เตตราไซคลีน (Tetracyclines): ใช้รักษาการติดเชื้อ/โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะและการติดเชื้อในลำไส้ /โรคติดเชื้อทางเดินอาหาร ใช้รักษาโรคหลอดลมอักเสบอักเสบ แผล ฝี หนอง มีกลไกการออกฤทธิ์โดยก่อกวนการทำงานของสารพันธุกรรม (RNA) ของเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เชื้อไม่สามารถสังเคราะห์โปรตีนและทำให้เชื้อหยุดการเจริญเติบโต ตัวอย่างยากลุ่มนี้ เช่น เตตราไซคลีน (Tetracyclines) ดอกซีไซคลีน (Doxycycline) เป็นต้น ทั้งนี้ ห้ามใช้ยากลุ่มนี้ในเด็กอ่อนและหญิงตั้งครรภ์ ห้ามใช้ร่วมกับยาเม็ดคุมกำเนิด ยาลดกรด และ/หรือ ยากลุ่มวิตามินที่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบ

ฉ. ควิโนโลน (Quinolones): ใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ ทางไต และต่อมลูกหมาก (โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ) แต่ไม่ค่อยนำไปใช้รักษาการติดเชื้อในโพรงไซนัส (Sinusitis) ออกฤทธิ์โดยรบกวนการสร้างโปรตีนในสารพันธุกรรมของเชื้อแบคทีเรีย (DNA) ตัวอย่างยากลุ่มนี้ เช่น ไซโปรฟลอซาซิน (Ciprofloxacin) เลโวฟลอซาซิน (Levofloxacin) เป็นต้น ทั้งนี้ ห้ามใช้ยากลุ่มนี้ในผู้ที่เป็นโรคลมชักเพราะอาจกระตุ้นสมอง เป็นสาเหตุให้ชักได้บ่อยขึ้น

  • เชื้อโรคมีพัฒนาการต่อต้านยาปฏิชีวนะ ส่งผลให้เกิดภาวะเชื้อดื้อยา
  • เกิดการกดภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายที่มีตามธรรมชาติ ทำให้ร่างกายอ่อนแอลง ไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคได้ด้วยภูมิคุ้มกันของตัวเอง
  • เกิดการทำลายจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ซึ่งอาศัยอยู่ในทางเดินอาหาร ส่งผลให้การสร้าง และ/หรือ การดูดซึมวิตามิน บางกลุ่มสูญเสียไป เช่น วิตามินเค เป็นต้น
  • ได้รับผลข้างเคียงสูงขึ้น เช่น ท้องเสีย ผื่นคัน ลมพิษ และ โรคหืด
  • รบกวนการทำงานของยากลุ่มอื่น (ปฏิกิริยาระหว่างยา) เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะบางกลุ่มพร้อมกับยาเม็ดคุมกำเนิด จะทำให้ฤทธิ์ในการคุมกำเนิดลดลง จนอาจเกิดการตั้งครรภ์ตามมาได้
  • ควรต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์เสมอ หรืออย่างน้อยควรต้องปรึกษาเภสัชกร/พยาบาล ก่อนซื้อยากินเอง
  • แจ้ง แพทย์ พยาบาล และ เภสัชกร ให้ทราบว่าตนเองแพ้ยาปฏิชีวนะกลุ่มใด/ตัวใด รวมถึงยาตัวอื่นๆ ที่กำลังกินอยู่เพื่อป้องกันปฏิกิริยาระหว่างยาที่อาจเสริมหรือต้านฤทธิ์กัน
  • กินยาให้ครบถ้วนถูกต้องตามฉลากยา กินยาให้หมดตามแพทย์สั่ง ไม่หยุดยาเองเมื่ออาการดีขึ้น