logo

คำถามจาก วิกิโรค

Home / FAQ โรค/ ไฟลามทุ่ง (Erysipelas)

คำถามเกี่ยวกับโรค

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : ไฟลามทุ่ง (Erysipelas)

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งที่พบบ่อยคือเชื้อแบคทีเรียชนิด สเตรปโตคอคคัส (Streptococcus) โดยเชื้อแบคทีเรียอาจเข้าสู่ผิวหนังทางรอยแยกแตกของผิวหนังที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น มีการบาดเจ็บ/แผล รอยแยกของผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อรา รอยแมลงกัด บริเวณผิวหนังที่บวมเรื้อรัง (เช่น มือ เท้า แขน ขา ที่บวม) บริเวณผิวหนังที่มีเนื้อตายอยู่เดิม (เช่น แผลที่เท้าจากโรคเบาหวาน)

  • ผู้มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้รับประทานยากดภูมิคุ้มกันต้านทานโรค (เช่น ผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ) ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ป่วยมีโรคประจำตัว (เช่น โรคเบาหวาน)
  • ผู้ป่วยที่มีการการอุดตันของหลอดเลือดดำจากลิ่มเลือด (ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ)
  • มีท่อน้ำเหลืองอุดตัน เช่น แขนบวมจากฉายรังสีรักษาและ/หรือจากผ่าตัดรักษาโรคมะเร็งเต้านม
  • การผ่าตัดในอุ้งเชิงกราน เช่น ผ่าตัดรักษามะเร็งปากมดลูก
  • เคยผ่าตัดหลอดเลือดดำขา เช่น โรคหลอดเลือดดำขอด
  • ผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองขาหนีบ เช่น ในผู้ป่วยโรคมะเร็งผิวหนังของขา
  • ผิวหนังที่เกิดโรค มีลักษณะเป็นผื่นใหญ่ แดงสด บวม เจ็บ คลำดูที่ผื่นจะร้อน ขอบผื่นยกนูนจากผิวหนังปกติชัดเจน
  • อาจพบเป็นตุ่มพองร่วมด้วย
  • โดยผื่นที่เกิดมักลุกลามอย่างรวดเร็ว และผิวหนังที่แดงอักเสบบวม จะตึงมีลักษณะคล้ายเปลือกส้มหรือหนังหมู
  • อาการที่มักพบเกิดร่วมด้วย คือ อาการไข้ที่มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน และในรายรุนแรงมักเป็นไข้สูงหนาวสั่น
  • ประมาณ 90% ของผู้ป่วยไฟลามทุ่ง พบการติดเชื้อที่บริเวณ ขา เท้า ส่วนประมาณ 2.5-10% มีการติดเชื้อที่บริเวณใบหน้า หรือ ที่ผิวหนังส่วนอื่นๆ
  • การติดเชื้อลุกลามจากการติดเชื้อที่ผิวหนัง กลายเป็นการติดเชื้อในกระแสโลหิต (ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ)
  • การติดเชื้อจากผิวหนังลุกลามไปตามระบบน้ำเหลืองสู่ต่อมน้ำเหลือง เช่น ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบ ทำให้เกิดต่อมน้ำเหลืองอักเสบ เช่น บวม เจ็บ
  • การติดเชื้อที่ผิวหนังเองที่ลุกลามรุนแรง เกิดเป็น แผล หนอง และ หลอดเลือดอักเสบ

ด้วยการสังเกตและระวังการเกิดแผลอันเป็นทางเข้าสู่ผิวหนังของเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว (โดยเฉพาะที่ทำให้เกิดหลอดเลือดหรือทางเดินน้ำเหลืองอุดตัน ที่มักมีอาการขาหรือแขนบวมเรื้อรัง) เพราะอาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียที่นำไปสู่โรคไฟลามทุ่งได้ง่าย ซึ่งถ้าพบมีแผล ต้องรีบรักษาความสะอาด และ/หรือรีบพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลถ้าแผลไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วันหลังการดูแลตนเอง