logo

คำถามจาก วิกิโรค

Home / FAQ โรค/ ไซนัส

คำถามเกี่ยวกับโรค

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : ไซนัส

  • โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน
  • การติดเชื้อของฟัน: โดยเฉพาะฟันกรามน้อยและฟันกรามแถวบน
  • โรคติดเชื้ออื่นๆ ของระบบทางเดินหายใจ: เช่น ไข้หวัดใหญ่ โรคหัด โรคไอกรน
  • การว่ายน้ำ ดำน้ำ: ซึ่งอาจเกิดการสำลักน้ำเข้าไปในจมูกและในไซนัสได้ จึงอาจมีเชื้อโรคเข้าไปด้วยทำให้เกิดการอักเสบได้ นอกจากนี้สารคลอรีนในสระว่ายน้ำยังเป็นสารเคมีที่ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุไซนัสได้
  • การกระทบกระแทกอย่างแรงบริเวณใบหน้า: อาจทำให้ไซนัสโพรงใดโพรงหนึ่งแตกหัก ช้ำบวม หรือมีเลือดออกภายในโพรง ทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อตามมาได้
  • มีสิ่งแปลกปลอมในจมูก: เช่น เมล็ดผลไม้ ซึ่งก่อการอุดตันโพรงจมูก จึงเป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อทั้งในโพรงจมูก และในไซนัส
  • จากการเปลี่ยนแปลงความดันอากาศรอบๆ ตัวทันที (Barotrauma หรือ Aero sinusitis): เช่น ขณะเครื่องบินขึ้นหรือลงจอด และการดำน้ำลึก เป็นต้น
  • มีน้ำมูกข้นในจมูกหรือมีน้ำมูก/สารคัดหลั่งไหลลงคอ (เป็นอาการที่สำคัญที่สุดของไซนัสอักเสบเรื้อรัง) น้ำมูกบางครั้งอาจมีสีเหลืองเขียวหรือเป็นสีน้ำตาลก็ได้ มักจะมีกลิ่นเหม็นหรือกลิ่นคาวด้วย มักพบมากหลังตื่นนอนเช้า
  • คัดจมูก: เกิดจากการบวม หรือหนาตัวของเยื่อจมูก หรืออาจเกิดจากการที่มีหนองข้นค้างอยู่ในโพรงจมูก หรืออาจมีริดสีดวงจมูกร่วมด้วย
  • จมูกไม่ได้กลิ่นหรือได้กลิ่นลดลง
  • เจ็บคอ ระคายคอ ไอ และเสียงแหบ: เกิดจากการที่หนอง/สารคัดหลั่งไหลผ่านลงไปในคอเป็นประจำต่อเนื่อง ทำให้มีการอักเสบของเยื่อบุลำคอ กล่องเสียง และหลอดลม
  • อาการปวดศีรษะ: พบบ่อยในกรณีมีการอักเสบชนิดเฉียบพลัน 
  • อาการทางหู: เช่น ปวดหู หูอื้อ พบได้ในบางราย เป็นผลจากการอุดตันของท่อยูสเตเชียน (ท่อเชื่อมระหว่างหูชั้นกลางกับลำคอ) ซึ่งเกิดตามมาจากลำคออักเสบ มักพบบ่อยในเด็ก

ทั้งนี้​ ไซนัสอักเสบมีอาการคล้ายกับหลายโรค แพทย์จึงต้องวินิจฉัยแยกจากโรคเหล่านั้น เช่น โรคที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการโรคหวัดเรื้อรัง (เช่น โรคภูมิแพ้หูคอจมูกและริดสีดวงจมูก เป็นต้น) โรคที่ทำให้เกิดอาการปวดหัวและ/หรือปวดบริเวณจมูกและใบหน้า (เช่น โรคของฟัน/เหงือก โรคของข้อขากรรไกร โรคของประสาทสมองเส้นที่ 5 โรคออโตอิมมูน/โรคภูมิต้านตนเองที่ทำให้เกิดหลอดเลือดอักเสบ โดยเฉพาะหลอดเลือดของศีรษะ/หลอดเลือดขมับอักเสบ) โรคปวดศีรษะไมเกรน เป็นต้น

  • คออักเสบและ/หรือกล่องเสียงอักเสบเรื้อรัง จากการที่หนองไหลลงลำคอต่อเนื่อง
  • การกระจายของการติดเชื้อไปยังบริเวณใกล้เคียง เช่น
    • กระดูกส่วนที่เป็นผนังของไซนัส: ก่อให้เกิดกระดูกอักเสบติดเชื้อ
    • อาจอักเสบลุกลามไปยังเนื้อเยื่อบริเวณใบหน้า: เกิดเนื้อเยื่ออักเสบ หรือเกิดเป็นฝีได้
    • อาจอักเสบทะลุมาที่ผิวหนัง เกิดเป็นช่องติดต่อระหว่างผิวหนังกับไซนัสได้
    • อาจอักเสบติดเชื้อลุกลามเข้ากะโหลกศีรษะ ก่อให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือสมองอักเสบได้
  • โรคแทรกซ้อนที่เกิดบริเวณฟัน: มักเกิดตามหลังการถอนฟันกรามน้อย โดยเกิดรูทะลุเข้าไปในไซนัส ทำให้มีหนองระบายออกมาที่รูที่ถอนฟัน
  • เกิดเป็นถุงเมือกต่างๆ ในไซนัส (Mucocele และ  Pyocele): เมื่อถุงนี้มีขนาดใหญ่จะดันผนังของไซนัสส่วนที่ไม่แข็งแรงให้โป่งออกช้าๆ ส่งผลให้ลูกตาถูกดันออกไปอยู่ผิดที่ คือไปอยู่ด้านล่างและด้านข้าง
  • โรคแทรกซ้อนที่เกิดกับตา เช่น หนังตาบวม การอักเสบติดเชื้อของหนังตาและของเนื้อเยื่อรอบๆ ลูกตา