คำถามเกี่ยวกับโรค
โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
เรื่อง : โรคอ้วน
จากการวัดเชิงสถิติ
- ค่าดัชนีมวลกาย/ดรรชนีมวลกาย (Body mass index / BMI) มีค่าตั้งแต่ 25 ขึ้นไป (ในคนเอเชีย)
- อัตราส่วนระหว่างเอวกับสะโพก (Waist-hip ratio / WHR เป็นการวัดรอบเอวและหารด้วยรอบสะโพก) ในผู้ชายค่ามากกว่า 0.9 และในผู้หญิงค่ามากกว่า 0.85
จากการสังเกตตัวเองได้ง่ายๆ
- การที่เสื้อผ้าเดิมๆ ใส่คับขึ้น
- น้ำหนักขึ้นเสมอจากการชั่งน้ำหนัก
- รู้สึกอึดอัดและเหนื่อยง่ายกว่าเดิม
เพราะการมีน้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงหรือเป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่างๆ ได้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง (โรคอัมพาต) โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคนิ่วในถุงน้ำดี โรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจ (Sleep apnea) โรคมะเร็งหลายโรค (เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งเยื่อบุมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น) และมักเป็นโรคซึมเศร้า
- การควบคุมปริมาณและประเภทอาหาร
- การออกกำลังกาย
- การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต
- การผ่าตัดกระเพาะอาหาร (Bariatric surgery)
- ต้องตระหนักถึงความสำคัญของโทษของโรคอ้วน และ น้ำหนักตัวเกิน
- มีอุตสาหะในการควบคุมน้ำหนัก เช่น
- กินอาหารแต่ละมื้อให้น้อยลง ค่อยๆ ทยอยลดน้ำหนักตัว เพราะถ้าลดฮวบฮาบจะทนหิวไม่ได้
- ไม่กินจุบจิบ จำกัดอาหาร แป้ง หวาน และไขมัน เพิ่ม ผักและผลไม้
- ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เคลื่อนไหว/เคลื่อนไหวน้อย เช่น ลดการดูทีวี โดยทำงานบ้านทดแทน
- พยายามหาทางให้ร่างกายใช้พลังงาน เช่น ลงรถเมล์ก่อนถึงป้ายที่ทำงาน 1 ป้าย หรือ ใช้ลิฟต์เฉพาะเมื่อจำเป็น
- พยายามออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อยวันละ 30 นาที
- ชั่งน้ำหนักทุกสัปดาห์
- การควบคุมน้ำหนักต้องได้รับความร่วมมือจากทุกคนในครอบครัว โดยเฉพาะในเรื่องอาหาร เช่น ไม่ซื้อขนมเข้าบ้าน
- ไม่ซื้อยาลดความอ้วนกินเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะยามีผลข้างเคียงหลายอย่างที่อาจส่งผลต่อสุขภาพ และอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ เช่น เบื่ออาหารมากจนกินได้น้อยจนขาดอาหาร ท้องผูก ปากแห้ง เหงื่อออกมาก นอนไม่หลับ คลื่นไส้อาเจียน หงุดหงิดง่าย เป็นต้น