logo

คำถามจาก วิกิโรค

Home / FAQ โรค/ โรคจิต

คำถามเกี่ยวกับโรค

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : โรคจิต

ปัจจุบันยังไม่สามารถบอกได้อย่างชัดเจนว่า โรคจิตชนิดต่างๆ นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร มีเพียงคำอธิบายกว้างๆ ในการอธิบายสาเหตุไว้ว่า

  1. เกิดจากความกดดันหรือความเครียดที่รุนแรงของชีวิต
  2. เกิดจากความบกพร่องในการทำงานของระบบสมองและพันธุกรรม
  3. เกิดจากยาหรือสารเคมีที่ผู้ป่วยเสพเข้าไป
  1. โรคจิตเภท (Schizophrenia): เป็นโรคจิตที่มีอาการรุนแรงที่สุด มีความเรื้อรังและทำให้ผู้ป่วยเกิดความเสื่อมของบุคลิกภาพและความสามารถทั่วๆ ไปได้มากที่สุด ผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้มักจะต้องรับการรักษาตลอดไป อาการที่พบจะพบได้ทั้งอาการหลงผิด หูแว่ว ประสาทหลอน และความคิดที่ไม่เป็นระบบ
  2. โรคหลงผิด (Delusional Disorder): อาการที่พบในโรคนี้ก็คือการมีความหลงผิดๆ ในบางเรื่อง เช่น หลงผิดว่าถูกปองร้ายโดยใครบางคน แต่มักจะไม่พบความผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย ในโรคนี้บางครั้งจะดูลักษณะภายนอกของผู้ป่วยไม่ออกเพราะทุกอย่างจะดูปกติดี แต่เมื่อได้ฟังความคิดในเรื่องที่ผู้ป่วยหลงผิดก็จะสามารถมองเห็นความผิดปกติได้ไม่ยาก
  3. โรคจิตที่เกิดจากยาและสาร/ยาเสพติด
  4. โรคจิตที่เกิดจากความกดดันหรือความเครียดของชีวิต
  1. การใช้ยารักษาอาการทางจิต: เป็นการรักษาที่สำคัญมากวิธีหนึ่ง ดังนั้นการดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างสม่ำเสมอจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
  2. การทำจิตบำบัด: โดยเฉพาะโรคจิตที่เกิดจากการใช้ยาเสพติดและโรคจิตที่เกิดจากความเครียดของชีวิต เพราะอาการทางจิตเป็นเพียงผลของปัญหา การบำบัดทางจิตเพื่อขจัดต้นตอของปัญหาย่อมมีความจำเป็น จิตแพทย์จะให้การรักษาด้วยวิธีจิตบำบัดหลังจากที่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการทางจิตดีขึ้นแล้ว และมักจะให้การรักษาร่วมกับการใช้ยาเสมอ
  3. การทำครอบครัวบำบัด: คือ การทำให้ญาติมีความเข้าใจกับปัญหาและความเจ็บป่วยของผู้ป่วยมากขึ้น ช่วยทำให้ญาติสามารถจัดการกับปัญหาของผู้ป่วยได้ดีขึ้น มีความรู้สึกเครียดกับความเจ็บป่วยของผู้ป่วยน้อยลง ซึ่งจะส่งผลดีต่อการรักษาผู้ป่วยในระยะยาว

1. ในช่วงแรกๆผู้ป่วยมักจะปฏิเสธการรักษา ปฏิเสธการกินยา เพราะผู้ป่วยไม่คิดว่าตนเองป่วย ญาติจึงจําเป็นต้องดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างสม่ําเสมอ

2. ยารักษาอาการทางจิตโดยส่วนใหญ่มักก่อให้เกิดอาการข้างเคียงคือ อาการตัวแข็ง ลิ้นแข็ง น้ำลายไหล และมักเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยไม่อยากกินยาต่อไปอีก การบอกเล่าอาการให้แพทย์ทราบเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวจะช่วยทําให้ผู้ป่วยร่วมมือในการรักษามากขึ้น

3. โรคจิตบางชนิดมีอาการเรื้อรัง ต้องใช้เวลารักษานานหรืออาจจะตลอดชีวิต การให้กําลังใจ การให้คําแนะนําในเรื่องการรักษาตัวเองหรือแม้แต่ในเรื่องทั่วๆ ไป จะช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลายเกิดกําลังใจที่จะต่อสู้กับความเจ็บป่วยต่อไป

4. ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและสม่ําเสมอ จะมีความสามารถในการทํางานได้ตามปกติ ควรสนับสนุนให้ผู้ป่วยได้ทําหน้าที่ของตนเองต่อ

  1. หลีกเลี่ยงยาหรือสารเสพติด
  2. ออกกําลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ
  3. เรียนรู้วิธีผ่อนคลาย วิธีลดความเครียด และนํามาใช้เมื่อเกิดความเครียด