logo

คำถามจาก วิกิโรค

Home / FAQ โรค/ โคลิก

คำถามเกี่ยวกับโรค

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : โคลิก

เป็นอาการที่พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิดอายุตั้งแต่ 3 สัปดาห์ถึง 3 เดือน เด็กจะร้องมากร้องนานและมักชอบร้องตอนกลางคืนโดยเวลาร้องเด็กจะงอขา งอตัว กำมือ ทำให้เกิดความเครียดและความวิตกกังวลกับพ่อแม่และครอบครัวมาก คนรุ่นก่อนจึงมักเรียกว่า “เด็กร้องร้อยวัน” เกิดได้ประมาณ 8-40% ของเด็กเล็ก และที่น่าสังเกตคือ พบบ่อยในครอบครัวที่มีสถานะทางเศรษฐกิจสังคมสูง มีลูกน้อยคน เป็นบุตรของพ่อแม่ที่มีอายุมาก พ่อแม่มีการศึกษาสูง

สาเหตุและพยาธิสรีรวิทยา (Pathophysiology/ความผิดปกติในด้านการทำงานของอวัยวะต่างๆ) ของการเกิดโคลิกยังไม่ทราบแน่นอน แต่คิดว่าเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกันคือ

  1. จากพื้นฐานอารมณ์ของเด็ก ซึ่งเป็นกลุ่มเด็กเลี้ยงยาก
  2. เด็กกลืนอากาศขณะดูดนมเข้าไปมาก ผู้ดูแลไม่สามารถทำให้เด็กเรอได้เพียงพอ อากาศในท้องจึงก่อให้เด็กเกิดอาการแน่นอึดอัดในท้อง
  3. เด็กอยู่ในท่านอนที่ไม่เหมาะสม
  4. เด็กกินมากเกินไปหรือกินน้อยเกินไป หรือมีภาวะ/โรคกรดไหลย้อน มีการแพ้อาหาร
  5. ครอบครัวมีความเครียด หรือความวิตกกังวลมาก โดยพบว่าความเครียดของแม่ตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์มีผลให้เกิดโคลิกในเด็กได้
  6. มีการเปลี่ยนแปลงของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้เด็ก โดยเฉพาะมีแบคทีเรียบางกลุ่มสัมพันธ์กับการเกิดอาการโคลิก
  1. ระบบประสาทอัตโนมัติของเด็กเล็กยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ (Immature autonomic nervous system) จึงส่งผลให้การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหาร และลำไส้ยังไม่สมบูรณ์
  2. บิดา และ/หรือมารดา สูบบุหรี่

ไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับภาวะโคลิก เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุแน่นอน แต่มีความพยายามลดสาเหตุที่อาจทำให้เกิดโคลิกซึ่งทำให้เด็กหลายรายมีอาการดีขึ้น ได้แก่

  1. ในลูกที่ดื่มนมแม่ แม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารบางอย่างที่ทำให้เกิดการแพ้อาหารในเด็ก เช่น นมวัว
  2. ลดความเครียดในครอบครัว ให้พ่อแม่เข้าใจว่าโคลิกเป็นอาการที่เกิดชั่วคราวและจะหายได้เอง
  3. ในเด็กที่ต้องดื่มนมอื่นที่ไม่ใช่นมแม่ อาจเลือกนมที่แพ้ได้น้อย (Low-allergen milk)
  4. เมื่อให้เด็กดื่มนม หรือน้ำจากขวด ระวังอย่าให้มีอากาศแทรกเข้าไปตรงบริเวณที่เด็กดูดนม ต้องยกขวดให้สูงจนนมหรือน้ำเต็มบริเวณจุกขวดไม่มีอากาศแทรก และหลังป้อนนมเด็กเสร็จแล้ว ควรจับให้เด็กนั่งหรืออุ้มพาดบ่าให้เรอ
  5. ใช้ยาบางชนิด
  1. ดูว่าเด็กร้องเพราะหิวนมหรือไม่ เพราะเด็กที่หิวนมก็จะร้องกวนพอได้กินนมจะหยุดร้อง อย่าปล่อยให้เด็กร้องนานโดยไม่เข้าไปดูแล
  2. อย่าให้เด็กอยู่ในที่ที่มีสิ่งกระตุ้น เช่น เสียงดัง แสงรบกวน
  3. จับเด็กอุ้มพาดบ่า เด็กจะรู้สึกสบายขึ้น และช่วยดันลมในท้องออกมาด้วย
  4. นวดตัวเด็ก หรือเขย่าเบาๆ ไปมา ลูบหลังให้
  5. เปิดเพลงเบาๆ ให้ฟัง