logo

คำถามจาก วิกิโรค

Home / FAQ โรค/ ลําไส้แปรปรวน

คำถามเกี่ยวกับโรค

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : ลําไส้แปรปรวน

  • กล้ามเนื้อของอวัยวะภายในซึ่งรวมทั้งกล้ามเนื้อลำไส้ อาจทำงานตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นผิดปกติ โดยถ้าลำไส้ตอบสนองมากเกินไปต่ออาหาร/เครื่องดื่มที่บริโภค จะทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวเร็วขึ้น จึงเกิดท้องเสีย แต่ถ้าลำไส้เคลื่อนไหวลดลง จะเกิดท้องผูก ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้ มักมีอาการกลั้นปัสสาวะ/อุจจาระไม่อยู่ร่วมด้วย
  • เยื่อบุลำไส้ อาจตอบสนองไวต่ออาหาร/เครื่องดื่มบางชนิดสูงกว่าคนปกติ จากการกระตุ้นด้วยอาหาร/เครื่องดื่มบางชนิด เช่น คาเฟอีน จึงส่งผลให้เกิดท้องเสียเมื่อกิน/ดื่ม อาหารที่มีสารตัวกระตุ้นเหล่านี้ ส่วนบางคนก็ไวเกินต่ออาหารที่มีใยอาหารสูง ในขณะที่บางคนไวต่ออาหารที่ใยอาหารต่ำ
  • มีตัวกระตุ้นสมองให้หลั่งสารบางชนิด เช่น ซีโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ จึงส่งผลให้เกิดอาการปวดท้อง ร่วมกับอาการท้องเสีย เช่น ปัญหาทางอารมณ์/จิตใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล
  • อาจเกิดจากร่างกายสร้างสารต้านการติดเชื้อของลำไส้ เพราะในผู้ป่วยบางรายพบเกิดโรคนี้ตามมาภายหลังมีการอักเสบติดเชื้อของลำไส้/โรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร
  • อาจเกิดจากสมองทำงานแปรปรวน จึงส่งผลต่อการแปรปรวนของลำไส้
  • อาจเกิดจากการทำงาน หรือมีปริมาณแบคทีเรียประจำถิ่น (Normal flora) ในลำไส้ผิดปกติ
  • ปวดท้องเรื้อรัง แบบปวดบีบ โดยอาการปวดท้องมักดีขึ้นหลังขับถ่ายหรือผายลม ซึ่งจัดเป็นอาการสำคัญที่ช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยโรคนี้
  • ท้องผูกหรือท้องเสียโดยเฉพาะหลังกินอาหาร หรือเมื่อตื่นนอนต้องรีบขับถ่าย หรือมีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย เป็นๆ หายๆ บ่อยครั้งอุจจาระคล้ายมีมูกปน แต่ไม่มีเลือดปน
  • ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีลมมากในท้อง
  • มีอาการคล้ายถ่ายอุจจาระไม่หมด/ไม่สุด
  • กลั้นอุจจาระไม่อยู่ เมื่อปวดอุจจาระต้องเข้าห้องน้ำทันที
  • กินอาหาร หรือ ดื่มเครื่องดื่มบางชนิด เช่น นม เครื่องดื่มกาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ช็อกโกแลต และ/หรือ ผัก ผลไม้ บางชนิด
  • บางคนการกระตุ้นอาการเกิดจากกินอาหารมีใยอาหารสูง ขณะบางคนตัวกระตุ้นคืออาหารใยอาหารต่ำ
  • กินอาหารแต่ละมื้อในปริมาณมาก
  • ช่วงมีประจำเดือน
  • ช่วงมีความเครียด ความวิตกกังวล
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของ แพทย์ พยาบาล กินยา/ใช้ยาที่แพทย์สั่งให้ถูกต้อง ไม่หยุดยาเอง
  • เข้าใจในโรค ยอมรับความจริงของชีวิต รักษาสุขภาพจิต
  • สังเกต อาหาร และเครื่องดื่ม ต่างๆ ที่กระตุ้นให้เกิดอาการ หรือที่ทำให้อาการรุนแรงขึ้น เพื่อการหลีกเลี่ยง หรือจำกัดปริมาณ อาหาร/เครื่องดื่มเหล่านั้น
  • กินอาหารแต่ละมื้อให้น้อยลง กินอาหารที่ย่อยง่าย และรสไม่จัด
  • อาจลองกินอาหารในกลุ่ม โปรไบโอติก (Probiotic) เช่น โยเกิร์ต เพื่อปรับสมดุลของแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้
  • ดื่มน้ำสะอาดเพิ่มกว่าเดิม ประมาณอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม (เช่น โรคหัวใจล้มเหลว) เพื่อชดเชยน้ำที่สูญเสียจากท้องเสีย เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ และเพื่อป้องกันท้องผูก