logo

คำถามจาก วิกิโรค

Home / FAQ โรค/ มะเร็งปอด

คำถามเกี่ยวกับโรค

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : มะเร็งปอด

มะเร็งปอดมีหลากหลายชนิดย่อย ที่พบบ่อยมี 2 ชนิดหลัก คือ

  • มะเร็งปอดชนิดเซลล์ตัวโต: พบบ่อยกว่าชนิดเซลล์ตัวเล็ก มักลุกลามอยู่ในปอดและในเนื้อเยื่อข้างเคียงก่อน ต่อจากนั้นจึงลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอดและในช่องอก แล้วจึงแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด
  • มะเร็งปอดชนิดเซลล์ตัวเล็ก: พบน้อยกว่าชนิดเซลล์ตัวโต แต่รุนแรงกว่า เมื่อตรวจพบโรคมักลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง และแพร่กระจายสู่กระแสเลือดแล้ว
  • การสูบบุหรี่ และการได้รับควันบุหรี่ (สูบบุหรี่มือสอง) โดยเฉพาะเมื่อสูบจัดต่อเนื่องตั้งแต่วันละ 1 ซองขึ้นไป
  • จากการได้รับ ฝุ่นแร่ ควันพิษ บางชนิดต่อเนื่องทางการหายใจ เช่น จากการทำเหมืองแร่ต่างๆ เช่น แร่ใยหิน (Asbestos) แร่ยูเรเนียม (Uranium) ควันจากการเผาไหม้สารดีเซล
  • ดื่มน้ำที่ปนเปื้อนสารหนูในปริมาณสูงต่อเนื่อง
  • พันธุกรรมบางชนิดผิดปกติ
  • การตรวจภาพปอดด้วยการ  เอกซเรย์ปอด ซีทีสแกน เอมอาร์ไอ และ/หรือ เพทสแกน 
  • จากน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด จากการดูด/เจาะก้อนเนื้อในปอดผ่านทางเข็มเจาะผ่านผนังหน้าอกเพื่อนำเซลล์มาตรวจทางเซลล์วิทยา
  • ส่องกล้องในปอดเพื่อนำเซลล์จากก้อนเนื้อ สารคัดหลั่ง ในปอดตรวจหาเซลล์มะเร็งทั้งทางเซลล์วิทยา และ/หรือ ทางพยาธิวิทยา
  • การตรวจลมหายใจออกของผู้ป่วย (Exhaled Breath Test) การตรวจจับสารประกอบอินทรีย์ที่ระเหยออกจากการเจริญของเซลล์ซึ่งสารนี้จะปนอยู่ในลมหายใจออก (Volatile organic compounds /VOCs)    

ก. ไม่มีอาการเมื่อเริ่มเป็นโรค

ข. ต่อเมื่อโรคลุกลามจึงเกิดอาการที่พบบ่อย คือ

  • ไอเรื้อรัง อาจมีเสมหะปนเลือด หรือ ไอเป็นเลือด
  • อาจมีเจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย โดยเฉพาะเมื่อมีภาวะมีน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด
  • อาจมีเสียงแหบเรื้อรังเมื่อโรคลุกลามเข้าเส้นประสาทกล่องเสียงส่วนที่อยู่ในช่องอก
  • ผอมลง น้ำหนักลดผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยมักลดลงเกิน10% ของน้ำหนักตัวเดิมในระยะเวลา 6 เดือน
  • ใบหน้า ลำคอ แขนบวม มักพบเกิดกับแขนด้านขวามากกว่าด้านซ้าย ร่วมกับหอบเหนื่อย เมื่อโรคลุกลามหรือก้อนมะเร็งกดเบียดทับหลอดเลือดดำใหญ่ในช่องอก
  • อาการจากโรคแพร่กระจาย ซึ่งขึ้นกับอวัยวะที่มีโรคแพร่กระจาย เช่น
    • ปวดหลังมาก กรณีโรคแพร่กระจายเข้ากระดูกสันหลัง
    • ปวดหัวรุนแรงต่อเนื่อง อาจร่วมกับอาเจียนรุนแรง และ/หรือ แขน/ขาอ่อนแรง เมื่อมีโรคแพร่กระจายสู่สมอง