logo

คำถามจาก วิกิโรค

Home / FAQ โรค/ ผื่นขุยกุหลาบ

คำถามเกี่ยวกับโรค

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : ผื่นขุยกุหลาบ

โรคผื่นขุยกุหลาบ หรือ โรคผื่นกุหลาบ หรือ โรคผื่นร้อยวัน หรือ โรคกลีบกุหลาบ (Pityriasis rosea) คือ โรคผื่นผิวหนังอักเสบชนิดหนึ่ง ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน แต่มีรายงานว่าเป็นการตอบสนองของร่างกายหลังการติดเชื้อบางอย่าง โดยเฉพาะเชื้อไวรัสกลุ่ม HHV 7 (Human herpesvirus 7) นอกจากนี้ยังมีรายงานการใช้ยาบางประเภทกระตุ้นให้เกิดผื่นขุยกุหลาบได้ เช่น ยาลดความดันเลือดสูงกลุ่ม Angiotensin-converting enzyme inhibitor (ACE Inhibitor หรือ ACEI ) ยาฆ่าเชื้อ Metronidazole ยารักษาสิว Isotretinoin ยารักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ Omeprazole เป็นต้น

ทั้งนี้ โรคผื่นขุยกุหลาบไม่ใช่โรคติดต่อ ทั้งจาก การกิน ดื่ม การสัมผัส หรือทางหายใจ ร่วมกัน เป็นโรคที่หายได้เองในระยะเวลาประมาณ 3 เดือน หรือ100 วัน และโรคนี้ไม่ทำให้เสียชีวิต แต่โรคกลับเป็นซ้ำได้ 

  • 50-90% ของผู้ป่วยโรคผื่นขุยกุหลาบ มักเริ่มต้นโดยมีผื่นใหญ่สีชมพูหรือสีเนื้อปลาแซลมอนขนาดประมาณ 2-4 ซม.นำมาก่อนในทันที เป็นวงกลมหรือวงรี มีขุยล้อมรอบ เรียกว่า ‘Herald patch’ ผื่นมักอยู่บริเวณลำตัว ต้นคอ หรือต้นแขนก็ได้
  • หลังจากนั้นอีกประมาณ 2-10 วัน จะมีผื่นกระจายตัวไปทั่วตัว โดยผื่นมักมีรูปร่างกลมหรือวงรี กระจายตัวเด่นที่ลำตัว แขน ขา ต้นคอได้ การกระจายตัวที่ลำตัวจะมีลักษณะตามแนวรอยพับของผิวหนัง คล้ายต้นคริสต์มาส จึงเรียกว่า “Christmas tree distribution” แต่มักไม่พบผื่นนี้ที่ ฝ่ามือ ฝ่าเท้าและใบหน้า โดยทั่วไปผื่นนี้จะคงอยู่ได้นาน 6-8 สัปดาห์ หรือบางครั้งได้นานถึง 3 เดือน หลังจากนั้นผื่นจะค่อยๆ จางหายไปได้เอง
  • นอกจากนี้ อาจพบอาการคันได้ประมาณ 50% ของผู้ป่วย และอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยได้ เช่น
    • มีไข้
    • ปวดศีรษะ
    • ปวดเมื่อยตามตัว
    • ปวดข้อ

โดยทั่วไป โรคผื่นขุยกุหลาบไม่ทำให้เกิดแผลเป็น ส่วนรอยดำหลังผิวหนัง อักเสบ เมื่อผื่นหาย รอยดำก็จะค่อยๆจางลง และหายไปเองในที่สุด

โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคผื่นขุยกุหลาบจะไม่มีอาการอื่น กล่าวคือ อาจมีผื่นที่กระจายตัวไปทั่วร่างกายเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีอาการ คัน ไข้ ปวดเมื่อยตามตัว หรือปวดข้อ ซึ่งโรคนี้จะหายได้เองอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามเมื่อมีผื่นกระจายตามตัวเป็นอย่างมาก ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยว่าเป็นโรคใด ทั้งนี้เพราะมีหลายโรคที่มีอาการคล้ายโรคผื่นขุยกุหลาบได้ เช่น โรคซิฟิลิส (Secondary syphilis) โรคสะเก็ดเงิน ชนิด Guttate (Guttate psoriasis) และโรคผื่นผิวหนังอักเสบชนิดอื่นๆ ซึ่งแพทย์จำเป็นต้องมีการตรวจร่างกายผู้ป่วยเพิ่มเติม และตรวจพิจารณาลักษณะของผื่นโดยละเอียด เพื่อให้การวินิจฉัยและการรักษาที่แตกต่างกันตามการดำเนินโรคที่แตกต่างกัน

  • การกังวลในภาพลักษณะจากมีผื่นผิวหนัง
  • บางคนอาจมีอาการคัน
  • และ/หรือบางคนเมื่อผื่นค่อยๆ หายไป ผิวหนังตรงรอยผื่นอาจมีสีคล้ำเช่นเดียวกับกรณีเป็นสิว