คำถามเกี่ยวกับโรค
โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
เรื่อง : ปากนกกระจอก
เกิดจากการขาดวิตามินบี 2 ซึ่งเป็นวิตามินสำคัญช่วยการเจริญเติบโตและซ่อมแซมเซลล์ที่บาดเจ็บเสียหาย โดยเฉพาะเซลล์เยื่อบุผิวของอวัยวะต่างๆ ที่เห็นได้ชัดเจนคือ เซลล์ของเยื่อมุมปาก ของลิ้น ของผิวหนัง ของเยื่อตา และของแก้วตา จึงทำให้เกิดการบาดเจ็บและการอักเสบขึ้นกับเซลล์เหล่านี้ นอกจากนี้การอักเสบของมุมปาก/ปากนกกระจอกยังสามารถพบได้จากสาเหตุอื่นๆ ซึ่งที่พบได้บ่อย เช่น
- ปากแห้งจากผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิตบางชนิด ยาทางจิตเวชบางชนิด ยาขับปัสสาวะ
- ปากแห้งจากโรคเบาหวาน
- ภาวะโลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก
- ภาวะขาดสังกะสี
- การติดเชื้อรา หรือ เชื้อแบคทีเรีย (พบได้น้อย) ที่มุมปาก
- ในผู้สูงอายุที่ช่องปากแคบลงจากฟันหักทั้งหมด ซึ่งส่งผลให้เกิดแผลที่มุมปากได้ง่าย
- ผลข้างเคียงจากได้รับวิตามินเอสูงอย่างต่อเนื่อง
- ที่พบได้บ่อย แต่ไม่ได้เกิดจากโรคหรือภาวะผิดปกติ คือการที่ปากแห้งมากในฤดูหนาว และใช้น้ำลายเลียริมฝีปากบ่อยๆ ซึ่งจะยิ่งทำให้ปากและมุมปากแห้งและแตกได้ง่าย (มักเป็นความเชื่อที่ว่า ยิ่งใช้น้ำลายเลียริมฝีปาก จะยิ่งช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับริมฝีปาก)
- มีโรคเรื้อรังของลำไส้ เช่น ลำไส้อักเสบเรื้อรัง หรือท้องเสียเรื้อรัง ทั้งนี้เพราะวิตามินบี 2 จะถูกดูดซึมในส่วนของลำไส้เล็ก
- ขาดอาหารเรื้อรัง จากภาวะทางเศรษฐกิจหรือจากโรคพฤติกรรมผิดปกติในการกิน (Bulimia nervosa)
- เด็กอ่อนที่กินนมแม่ซึ่งขาดอาหาร
- ผู้สูงอายุที่ขาดคนดูแล หรือมีปัญหาทางเศรษฐกิจ
- หญิงตั้งครรภ์/หญิงให้นมบุตร
- มีแผลที่มุมปาก มักเกิดพร้อมกันที่มุมปากทั้ง 2 ข้าง แต่อาการแต่ละข้างอาจมากน้อยต่างกัน
- ลักษณะแผลจะเป็นแผลเปื่อย ร่วมกับมีตุ่มพองแตกเป็นร่อง เจ็บ แผลมีสารคัดหลั่งออกสีเหลือง
- บางแผลจะตกสะเก็ด
- แผลค่อนข้างออกสีแดง และมีเลือดออกได้
- แผลอาจติดเชื้อรา หรือติดเชื้อแบคทีเรียได้
- แผลอาจเป็นอยู่นาน 3-4 วัน หรือเรื้อรัง ทั้งนี้ขึ้นกับระยะเวลาของการขาดวิตามินบี 2
- ติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราที่แผลมุมปาก
- ภาวะโลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก
- อาจเกิดความรู้สึกเสียภาพลักษณ์ในบางคน