logo

คำถามจาก วิกิโรค

Home / FAQ โรค/ ปอดบวม

คำถามเกี่ยวกับโรค

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : ปอดบวม

  • ปอดติดเชื้อ (Lung infection): เมื่อปอดได้รับเชื้อโรคเข้าไปเนื้อปอดจะเกิดอักเสบและบวม ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ไอ และมีเสมหะ
  • ปอดอักเสบ (Pneumonitis): โดยความจริงแล้วเมื่อปอดได้รับอันตรายไม่ว่าสาเหตุใดก็ตามจากทั้งเชื้อโรดและที่ไม่ใช่เชื้อโรค เนื้อปอดจะเกิดอักเสบ เมื่อใดที่มีการอักเสบจะมีการบวมเกิดขึ้นร่วมกันเสมอ ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่ปอดอักเสบ ปอดก็จะบวมด้วยเช่นเดียวกัน
  • ปอดบวม (Pneumonia): เมื่อมีเชื้อโรคหรือปัจจัยอย่างอื่นก็ตามที่ไม่ใช่เชื้อโรคเข้าสู่ปอด ทั้ง 2 สาเหตุนี้ทำให้เนื้อปอดเกิดอักเสบและบวมได้ ทั้งนี้ปอดบวมไม่จำเป็นต้องเกิดจากเชื้อโรคเสมอไป แต่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ ก็ได้ เช่น การสำลักน้ำเข้าไปในปอดเวลาคนจมน้ำ การสูดวัสดุที่สัมผัสในที่ทำงานเข้าไปในปอด

ทั้งนี้ ปอดบวมชนิดที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคนี้อาการไม่ได้แตกต่างไปจากปอดบวมชนิดที่เกิดจากเชื้อโรคแต่อย่างใด แต่การรักษานั้นต่างกัน อย่างไรก็ดีปอดบวมมักมีสาเหตุมาจากเชื้อโรคเป็นส่วนใหญ่

  • ไอ มักมีเสมหะ
  • มีไข้
  • เจ็บหน้าอก
  • เหนื่อยง่าย
  • อายุ ในเด็กเล็กๆ และในผู้สูงอายุ เพราะร่างกายมีความบกพร่องในการป้องกันและกำจัดเชื้อโรค
  • การดื่มสุรา สูบบุหรี่ และ/หรือกินยาบางชนิด เช่น ยากดภูมิคุ้มกัน ยารักษาโรคมะเร็ง (ยาเคมีบำบัด) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรค และการกำจัดเชื้อโรค
  • การมีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ฟันผุ และเหงือกเป็นหนอง โรคไตเรื้อรัง ฯลฯ
  • การไม่รักษาสุขภาพและอนามัย เช่น การขาดอาหาร สุขภาพทรุดโทรม อยู่อาศัยในสถานที่ที่ไม่มีการถ่ายเทอากาศที่ดีพอ ในที่ที่มีมลภาวะที่ต้องหายใจและสูดมลภาวะเข้าไปในปอด
  • รักษาสุขภาพและอนามัยให้แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอ เช่น กินอาหาร พักผ่อน ออกกำลังกาย ให้เหมาะสมกับสภาพและวัย
  • งดและเลิก บุหรี่ สุรา และยาเสพติด
  • หากมีโรคประจำตัวอยู่ ให้รักษาตามแผนและคำแนะนำของการรักษาโรคนั้นๆ อย่างสม่ำเสมอ
  • ป้องกันการรับเชื้อโดยการปิดปากและจมูกเมื่อต้องสัมผัสผู้ป่วยที่ไอ หรือจาม และผู้ป่วยที่มีอาการไอหรือจาม ควรป้องกันการแพร่กระจายฝอยละอองไปยังผู้อื่นด้วยการปิดปากและจมูกด้วยกระดาษหรือผ้าเช็ดหน้าหรือหน้ากากอนามัย
  • ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงที่ควรพิจารณาฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำปีทุกปี เช่น
    • ผู้สูงอายุ
    • ผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคถุงลมโป่งพอง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ
    • ผู้ได้ยากดภูมิคุ้มกันต้านทานโรค เช่น ยารักษาโรคมะเร็ง/ยาเคมีบำบัด