logo

คำถามจาก วิกิโรค

Home / FAQ โรค/ บิด (Dysentery)

คำถามเกี่ยวกับโรค

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : บิด (Dysentery)

โรคบิด เป็นโรคติดต่อโดยการกิน/ดื่ม อาหาร/น้ำซึ่งปนเปื้อนเชื้อโรคเหล่านี้ที่อยู่ในอุจจาระของผู้ป่วย หรือในอุจจาระของคนที่เป็นพาหะโรค ซึ่งเมื่อเชื้อเข้าสู่กระเพาะอาหารจะผ่านเข้าสู่ลำไส้ แล้วก่อให้เกิดการอักเสบของผนังลำไส้ โดยเฉพาะลำไส้ใหญ่ ต่อจากนั้นผนังลำไส้จะเกิดอาการบวมอักเสบ ดูดซึมอาหารและน้ำได้น้อย และเชื้อยังอาจสร้างสารกระตุ้นให้น้ำในร่างกายซึมเข้าสู่ลำไส้ จึงเกิดอาการท้องเสียขึ้น โดยเฉพาะท้องเสียที่มีลักษณะอุจจาระเป็นมูก ซึ่งการอักเสบของลำไส้ใหญ่มักทำให้ลำไส้ใหญ่เกิดแผลร่วมด้วย จึงมีเลือดปนออกมากับอุจจาระ

โรคบิดเกิดได้จากการติดเชื้อชนิดต่างๆ ทั้ง แบคทีเรีย ไวรัส สัตว์เซลล์เดียว (ปรสิต หรือ Parasite) และจากการกิน/ดื่มสารพิษ โดยรวมแบ่งเป็น 2 ชนิด

  • การติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มที่เรียกว่า ชิเกลลา (Shigella) ซึ่งเรียกโรคนี้ว่า “โรคบิดไม่มีตัว” หรือ “โรคบิดชิเกลลา” (Shigellosis /  Shigella infection / Bacillary dysentery)
  • การติดเชื้อสัตว์เซลล์เดียวชนิด อะมีบา (Enta moeba histolytica) ซึ่งเรียกโรคบิดจากติดเชื้อนี้ว่า “โรคบิดมีตัว” หรือ “โรคบิดอะมีบา” (Amoebiasis / Amebiasis / Amoebic dysentery)

ก. โรคบิดไม่มีตัว: อาการจะเกิดหลังได้รับเชื้อประมาณ 1-7 วัน (ระยะฟักตัวของโรค) และจะมีอาการอยู่ประมาณ 3-10 วันหลังการรักษา ซึ่งในช่วงมีอาการจะเป็นช่วงที่เกิดการติดต่อของโรคได้จากการปนเปื้อนของเชื้อในอุจจาระ หากได้รับเชื้อไม่มาก และมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ผู้ป่วยอาจหายได้เองจากการดูแลตนเอง โดยอาการที่พบได้บ่อยในโรคบิดชิเกลลา คือ มีไข้สูงร่วมกับท้องเสียเป็นน้ำ (ประมาณ 1-2 วัน) หลังจากนั้นปริมาณอุจจาระในแต่ละครั้งจะลดลง แต่ยังถ่ายบ่อย โดยอุจจาระเปลี่ยนเป็นมูกเลือด ปวดท้อง ปวดเบ่งเมื่อถ่ายอุจจาระ คลื่นไส้ อาเจียน  

ข: โรคบิดมีตัว: ในคนที่ได้รับเชื้อน้อยและมีสุขภาพแข็งแรงอาจไม่มีอาการ ส่วนในผู้ป่วยมักมีอาการหลังได้รับเชื้อประมาณ 7-10 วัน ซึ่งอาการอาจมีอยู่เพียงประมาณ 3-4 วัน หรือเป็นหลายๆ สัปดาห์ โดยระหว่างที่มีอาการ เชื้อจะติดต่อสู่ผู้อื่นได้ผ่านทางอุจจาระของผู้ป่วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบิดอะมีบาอาจเป็นพาหะโรคได้นานเป็นหลายเดือนหรือเป็นปี ทั้งนี้ อาการที่พบได้ของโรคบิดอะมีบามีลักษณะเดียวกับในโรคบิดชิเกลลา แต่ที่พบเพิ่มเติม คือ อาจพบมูกเลือดได้มากกว่า และอาจมีอาการเบื่ออาหาร และผอมลง

  • ภาวะขาดน้ำ/ขาดเกลือแร่ในเลือดเมื่อท้องเสียมาก
  • ภาวะซีดเมื่ออุจจาระเป็นเลือดมาก
  • การเป็นฝีในอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะฝีบิดในตับจากเชื้ออะมีบา
  • ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ก่อนกินอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ และเมื่อสัมผัสผู้ป่วย
  • รักษาความสะอาดในการปรุงอาหาร และในทุกขั้นตอนการปรุงอาหาร รวมทั้งในครัว
  • ไม่ใช้ ช้อน แก้วน้ำ ร่วมกับผู้อื่น
  • กินอาหารสุกใหม่ๆ เสมอ
  • ระมัดระวังการกิน ผัก และผลไม้ สด ต้องล้างให้สะอาด หรือ ต้องปอกเปลือกผลไม้ก่อนบริโภคเสมอ
  • ดื่มแต่น้ำสะอาด ระวังการกินน้ำแข็ง