คำถามเกี่ยวกับโรค
โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
เรื่อง : นิ่วในไต
- กินอาหารมีสารที่ก่อการตกตะกอนเป็นนิ่วปริมาณสูงต่อเนื่อง เช่น กินอาหารมีออกซาเลตสูง และ/หรือมีสารซีสตีนสูง
- ดื่มน้ำน้อย
- กลั้นปัสสาวะเสมอ
- เคลื่อนไหวร่างกายน้อย เช่น เป็นอัมพฤกษ์/อัมพาต การใส่สายสวนปัสสาวะตลอดเวลา
- ไตอักเสบติดเชื้อเรื้อรัง
- โรคเรื้อรังบางชนิดที่ส่งผลให้ในเลือด/ร่างกายมีสารต่างๆ ที่ก่อนิ่วสูงกว่าปกติ เช่น โรคของต่อมพาราไทรอยด์ โรคเกาต์ โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
- อาจจากดื่มน้ำที่มีฟลูออไรด์สูง กินวิตามิน ซี วิตามิน ดี และแคลเซียมเสริมอาหารปริมาณสูงต่อเนื่อง
- พันธุกรรม
อาการที่พบได้บ่อยของนิ่วในไตคือ ไม่มีอาการ แต่จะมีอาการเมื่อมีการติดเชื้อซ้ำซ้อน และ/หรือเมื่อก้อนนิ่วอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ ซึ่งอาการที่พบได้คือ
- ปวดหลังเรื้อรังด้านมีนิ่ว บางครั้งอาจปวดหลังหรือปวดท้องรุนแรงเมื่อมีก้อนนิ่วหลุดเข้าท่อไต (โรคนิ่วในท่อไต)
- ปัสสาวะเป็นเลือด
- ปัสสาวะขุ่นหรืออาจเป็นหนองเมื่อมีการติดเชื้อรุนแรง
- บางครั้งอาจมีนิ่วก้อนเล็กๆ ปนมากับปัสสาวะ
- มีไข้ร่วมกับปวดหลัง ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เมื่อมีการติดเชื้อ/โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะร่วมด้วย
- โรคไตอักเสบติดเชื้อแบคทีเรียเรื้อรัง ซึ่งอาจรุนแรงเป็นการติดเชื้อในกระแสโลหิต เป็นเหตุให้เสียชีวิตได้ หรือเป็นสาเหตุให้ไตเสียการทำงานจึงเกิดโรคไตเรื้อรัง
- ภาวะไตวาย ซึ่งเป็นสาเหตุเสียชีวิตได้เช่นกัน
การป้องกันโรคไต/โรคของไต คือ การกินอาหารจืด จำกัดการกินอาหารเค็ม หลีกเลี่ยงสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ และ/หรือรักษาควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงสำคัญให้ดี เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน โรคหัวใจและหลอดเลือด