คำถามเกี่ยวกับโรค
โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
เรื่อง : นอนไม่หลับ
การนอนเป็นผลจากหลายๆ ปัจจัยที่ส่งผลกระทบถึงการทำงานของวงจรสมอง (สมองส่วนไฮโปธาลามัส สมองใหญ่ส่วนนอก และก้านสมอง) ที่ควบคุมเกี่ยวกับการนอนหลับให้ผิดปกติไปจากเดิม จึงส่งผลให้เกิดการนอนไม่หลับ
มีสาเหตุมากมายที่ทำให้นอนไม่หลับ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม อารมณ์/จิตใจ โรคและภาวะผิดปกติต่างๆ ที่พบบ่อย ได้แก่
- ขาดสุขลักษณะการนอน (Sleep hygiene) เช่น นอนไม่เป็นเวลา กินอาหารมื้อหนักก่อนนอน ดื่มสารคาเฟอีนก่อนนอน
- มีปัญหาด้านอารมณ์ จิตใจ เช่น ความเครียด ซึมเศร้า
- ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิตบางชนิด ยาขับปัสสาวะ ยาลดน้ำมูก/ยาแก้แพ้บางชนิด ยาจิตเวชบางชนิด
- ช่วงเลิกสุรา เลิกบุหรี่
- โรคเรื้อรังต่างๆ ที่ก่ออาการรบกวนการนอน เช่น โรคเบาหวาน โรคของตอมไทรอยด์ โรคที่ต้องเข้าห้องน้ำบ่อยกลางคืน (เช่น โรคต่อมลูกหมากโต โรคเบาหวาน) อาการปวดเรื้อรัง เช่น ปวดข้อ หรือ ปวดจากโรคมะเร็ง โรคสมองบางชนิด โรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจ โรคกรดไหลย้อน
- การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนของร่างกาย เช่น วัยใกล้หมดประจำเดือน วัยหมดประจำเดือน โรคต่อมไทรอยด์
- การใช้ชีวิตแบบนั่งๆ นอนๆ ไม่มีกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย
- อายุ: ยิ่งอายุมากขึ้น จะพบนอนไม่หลับ/การนอนไม่หลับ/อาการนอนไม่หลับ สูงขึ้น ทั้งจากภาวะทางอารมณ์ จิตใจ การเสื่อมของเซลล์สมองและของต่อมไร้ท่อที่สร้างฮอร์โมนต่างๆ ที่เกี่ยวกับการนอนหลับ
- ส่งผลให้คุณภาพในการทำงาน และ/หรือ การเรียนลดลง
- เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายจากง่วงกลางวัน
- เพิ่มความกังวล ความเครียด (เป็นวงจรกลับไปกลับมา จากเหตุเป็นผล จากผลเป็นเหตุ)
- ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ จึงมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ ติดเชื้อโรคต่างๆ ได้ง่าย
- บางการศึกษาพบว่า อาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้
- สร้างเสริมให้ตนเองมีสุขลักษณะการนอน
- ควบคุม ดูแล รักษาโรคที่เป็นสาเหตุให้ดี
- ปรึกษาแพทย์ปรับเปลี่ยนยา เมื่อการนอนไม่หลับเกิดจากผลข้างเคียงของยา
- เลิก/ไม่สูบบุหรี่ และ/หรือดื่มเครื่องสุรา/แอลกอฮอล์
- พยายามไม่นอนหรือลดระยะเวลานอนในตอนกลางวัน
- รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน เพื่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี ยอมรับชีวิตและรักษาสุขภาพจิต
- มีการออกกำลังกายสม่ำเสมอตามควรกับสุขภาพทุกวัน ไม่ออกกำลังกายหักโหม